ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

ฟ้องร้องแย่งสิทธิบนที่ดิน สปก. “ปัญหาการซื้อขาย” กับ “ปัญหาสิทธิครอบครอง” สิทธิครอบครองของคนแรกเปลี่ยนมือไปสู่คนที่สองได้อย่างไร


ฟ้องร้องแย่งสิทธิบนที่ดิน สปก.  
“ปัญหาการซื้อขาย” กับ “ปัญหาสิทธิครอบครอง”

สิทธิครอบครองของคนแรกเปลี่ยนมือไปสู่คนที่สองได้อย่างไร





 อ่านข่าวฟ้องร้องแย่งสิทธิบนที่ดิน สปก. แล้ว อดสงสัยมิได้ว่า สิทธิครอบครองของคนแรกเปลี่ยนมือไปสู่คนที่สองได้อย่างไร
แต่เนื่องจากในข่าวไม่ได้ให้รายละเอียดมาด้วย เมื่ออยากรู้ก็ต้องหาข้อมูลด้วยตนเอง แล้วก็พบว่า การฟ้องร้องเรื่องนี้แบ่งเป็น 2 ประเด็น คือ “ปัญหาการซื้อขาย” กับ “ปัญหาสิทธิครอบครอง”
หลักกฎหมาย (ฎีกาที่ 8222/2553) วางไว้ว่า
- ที่ดิน ส.ป.ก.4-01นั้น จะโอนสิทธิที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้เว้นแต่ตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม
- การให้ผู้อื่นมีสิทธิเข้าทำกินต่างดอกเบี้ยในที่ดินตาม ส.ป.ก.4-01 ก็ต้องถือว่าเป็นการโอนสิทธิในที่ดินเช่นเดียวกัน (ถือเป็นการเลี่ยงกฎหมาย ทำไม่ได้)
- ที่ด้านหลังของเอกสาร ส.ป.ก.4-01 ระบุเป็นตัวอักษรสีแดงว่าห้ามแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่น และด้านล่างมีข้อความว่าเกษตรกรผู้ได้รับเอกสาร ส.ป.ก.4-01 มีหน้าที่ปลูกไม้ยืนต้นหรือไม้ผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของเนื้อที่ที่ได้รับจาก สปก.


เมื่อนำหลักกฎหมายมาจับกับปัญหาที่เกิดขึ้น ก็ทำให้ได้ข้อมูลจากทั้ง 2 ปัญหามาว่า
1. ปัญหาการซื้อขาย
ผู้ซื้อจะเรียกร้องเงินคืนไม่ได้ ผู้ขายจะเรียกร้องสิทธิ์คืนไม่ได้ เพราะการซื้อขายที่ดิน สปก. ถือเป็นโมฆะทั้งคู่ คือทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
1. ผู้ขายจะเรียกสิทธิ์ครอบครองคืนไม่ได้ เพราะการขายแสดงเจตนาว่าไม่ประสงค์จะทำกินบนที่ดินนั้นแล้ว จึงได้ทำสัญญาซื้อขาย
2. ผู้ซื้อจะเรียกร้องเงินคืนไม่ได้ เพราะที่ดิน สปก. กฎหมายห้ามซื้อขาย ถือเป็นโมฆะ (เว้นไว้แต่ไม่รู้ว่าที่ดินนั้นอยู่ในเขต สปก.)
3. เมื่อการซื้อขายเป็นโมฆะแล้ว สิทธิถือครองที่ดินนั้นย่อมคืนกลับไปยัง สปก.
4. สปก. มีสิทธิ์ที่จะจัดสรรใหม่ โดยจัดสรรให้คนเดิมก็ได้ คนใหม่ก็ได้ ตามแต่จะพิจารณาเห็นสมควร
2. ปัญหาสิทธิครอบครอง


การเปลี่ยนสิทธิครอบครองที่ดิน สปก. พบว่ามี 3 กรณี คือ โอนสิทธิ, คืนสิทธิ, เสียสิทธิ
1. โอนสิทธิ์ เช่น โอนสิทธิให้ทายาทที่มีคุณสมบัติตรงตามกฎหมายกำหนด
2. คืนสิทธิ เช่น ผู้ครองสิทธิ์จะเลิกทำกินในที่ดิน จึงแจ้งคืนสิทธิ์ที่ สปก.
3. เสียสิทธิ์
3.1 สปก.ยึดคืน เพราะเกษตรกรทำผิดเงื่อนไข
3.2. สปก. ยึดคืน เพราะเข้าใจผิดว่าเป็นที่ดินรกร้าง เจ้าของเดิมทิ้งไปแล้ว
3.3 สปก. ออกเอกสารสิทธิซ้อน แต่เจ้าของเดิมไม่มาแสดงตนเพื่อปกป้องสิทธิ์ของตนภายใน 3 เดือน จึงเสียสิทธิ์เพราะคดีขาดอายุความ
3.4 ผู้คืนสิทธิ์ร้องขอให้ สปก. ช่วยจัดสรรสิทธิ (ที่ตนคืนไปนั้น) ให้แก่บุคคลที่ตนแนะนำมา (ซึ่งจะให้หรือไม่ให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของ สปก.)
3.5 มีการประกาศใช้กฎหมายใหม่ เปลี่ยนพื้นที่ป่าสงวนเป็นพื้นที่ สปก. แต่ผู้ครอบครองสิทธิดั้งเดิม ไม่มายืนยันสิทธิ์ของตน สปก. จึงจัดสรรให้ผู้อื่นได้สิทธิแทน
3.6 ลูกหนี้จะอนุญาตให้เจ้าหนี้เช่าทำกินต่างดอกเบี้ยไม่ได้ เพราะถือเป็นการโอนสิทธิครอบครองเช่นกัน ถือเป็นการเลี่ยงกฎหมาย สปก. มีอำนาจเพิกถอนสิทธิครอบครอง
---------------------------------
22 สิงหาคม 2560
Cr : Ptt Cnkr
แหล่งข้อมูล :
การโอนสิทธิที่ดิน ส.ป.ก.4-01
http://www.peesirilaw.com /เกี่ยวกับกฎหมาย/การโอนสิทธิที่ดิน-สปก4-01.html

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินมือเปล่า (ส.ค.1 ,ภ.บ.ท.5 ,น.ส.3,น.ส.3 ก)

ที่ดิน (ส.ป.ก.) สามารถซื้อขายกันได้หรือไม่ และหากไม่ได้ผู้ซื้อมีสิทธิฟ้องเรียกเงินคืนหรือไม่

โอนสิทธิ์ที่ดิน สปก ให้แก่ทายาท

แนวคำวินิจฉัยคดีปกครองเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ ป่าสงวนแห่งชาติ และทรัพยากรป่าไม้

ไม่มีความคิดเห็น