ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

ความแตกต่างของผู้ให้กับผู้ไม่ให้

ความแตกต่างของผู้ให้กับผู้ไม่ให้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ขอประทานพระวโรกาส สาวกของพระผู้มีพระภาค ๒ คน มีศรัทธา มีศีล มีปัญญาเท่าๆกัน คนหนึ่งเป็นผู้ให้ คนหนึ่งเป็นผู้ไม่ให้ คนทั้งสองนั้น เมื่อตายไปแล้ว พึงเข้า ถึงสุคติโลกสวรรค์ แต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่เป็นเทวดาเหมือนกัน จักมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ ?
สุมนา ! คนทั้งสองนั้นจักมีความพิเศษแตกต่างกัน คือ ผู้ให้ที่เป็นเทวดา ย่อมข่มเทวดาผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และอธิปไตยที่เป็นทิพย.
สุมนา ! ผู้ให้ที่เป็นเทวดา ย่อมข่มเทวดาผู้ไม่ให้ ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็ถ้าเทวดาทั้งสองนั้นจุติจากเทวโลกนั้นแล้ว มาสู่ความเป็นมนุษย์ แต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่เป็นมนุษย์เหมือนกัน พึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ ?
สุมนา ! คนทั้งสองนั้นพึงมีความพิเศษแตกต่างกัน คือ ผู้ให้ที่เป็นมนุษย์ ย่อมข่มมนุษย์ผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และอธิปไตยที่เป็นของมนุษย์.
สุมนา ! ผู้ให้ที่เป็นมนุษย์ย่อมข่มมนุษย์ผู้ไม่ให้ ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็ถ้าคนทั้งสองนั้นออกบวช แต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่เป็นบรรพชิตเหมือนกัน พึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ ?
สุมนา ! คนทั้งสองนั้นพึงมีความพิเศษแตกต่างกัน คือ ผู้ให้ที่เป็นบรรพชิต ย่อมข่มบรรพชิตผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ :-
(๑) เมื่อเอ่ยปากขอย่อมได้จีวรมาก เมื่อไม่เอ่ยปากขอย่อมได้น้อย
(๒) เมื่อเอ่ยปากขอย่อมได้บิณฑบาตมาก เมื่อไม่เอ่ยปากขอย่อมได้น้อย
(๓) เมื่อออกปากขอย่อมได้เสนาสนะมาก เมื่อไม่เอ่ยปากขอย่อมได้น้อย
(๔) เมื่อเอ่ยปากขอย่อมได้บริขาร คือ ยาที่เป็นเครื่องบำบัดไข้มาก เมื่อไม่เอ่ยปากขอย่อมได้น้อย
(๕) เมื่ออยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจรรย์เหล่าใด เพื่อนพรหมจรรย์เหล่านั้นก็ประพฤติต่อเธอด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก ไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย ย่อมนำสิ่งเป็นที่พอใจมาเป็นส่วนมาก ย่อมนำสิ่งไม่เป็นที่พอใจมาเป็นส่วนน้อย
สุมนา ! ผู้ให้ที่เป็นบรรพชิต ย่อมข่มบรรพชิตผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็ถ้าคนทั้งสองนั้นบรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์เหมือนกัน พึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ ?
สุมนา ! ข้อนี้ เราไม่กล่าวว่า มีความพิเศษแตกต่างกันใดๆ ในวิมุตติ กับวิมุตติ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ไม่เคยมี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้กำหนดได้ว่า บุคคลควรให้ทาน ควรทำบุญ เพราะบุญเป็นอุปการะแม้แก่เทวดา แม้แก่มนุษย์ แม้แก่บรรพชิต.
อย่างนั้น สุมนา !   อย่างนั้น สุมนา !
บุคคลควรให้ทาน ควรทำบุญ เพราะบุญเป็นอุปการะแม้แก่เทวดา แม้แก่มนุษย์ แม้แก่บรรพชิต.
ภพภูมิ หน้า ๒๗๓ (ภาษาไทย) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๙/๓๑. : สาธุธรรมยามเย็น

1 ความคิดเห็น