ตักบาตรพระร้อยทางเรือ 2567 สืบสานประเพณีร่วมทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ริมฝั่งแม่น้ำ นับเป็นประสบการณ์เสริมสิริมงคลให้กับชีวิต
ประวัติความเป็นมาตักบาตรพระร้อยทางเรือ
หากวัดใดที่จะจัดพิธีตักบาตรพระร้อยต้องแจ้งกำหนดวันเสียก่อน ซึ่งประเพณีจะเริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ ไปจนถึงวันแรม 13 ค่ำ เดือน 11 วนเวียนกันไปในแต่ละวัด โดยเฉพาะวัดที่อยู่ตามฝั่งริมแม่่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง แต่ก็ไม่ได้กำหนดไปเสียทุกวัด ส่วนใหญ่จะจัดให้มีการตักบาตรเฉพาะวัดใหญ่ ๆ ส่วนใหญ่จะตกลงกำหนดวันที่จะผลัดกันเป็นเจ้าภาพ เพื่อไม่ให้วันตักบาตรตรงกันนั่นเอง
ตักบาตรพระร้อยทางเรือ 2567
ในปี 2567 มีหลายพื้นที่ในประเทศไทยที่จัดงานตักบาตรพระร้อยทางเรือ โดยแต่ละแห่งจะมีรายละเอียดและกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไป เช่น วัดสุทธาโภชน์ (วัดมอญ) กรุงเทพฯ
เชิญร่วมงานประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ ประจำปี 2567 วันที่ 20 ตุลาคม 2567 ณ วัดสุทธาโภชน์ (วัดมอญ) กรุงเทพฯ
เพื่อสืบสานและส่งต่อประเพณีของชาวไทยเชื้อสายรามัญที่ยังคงยึดถือและปฏิบัติหลังวันออกพรรษาของทุกปี เป็นประเพณีที่สะท้อนวิถีชีวิตและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนไทยที่เลื่อมใสศรัทธาพระพุทธศาสนาด้วยการทำบุญตักบาตรทางเรือ ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวลาดกระบังในอดีตที่ใช้ชีวิตและเดินทางด้วยเรือเป็นส่วนมาก
ไทยรัฐกรุ๊ป ส่งต่อความยั่งยืน บริจาคขยะรีไซเคิลให้กับ "โครงการชรารีไซเคิล"
"ไทยรัฐกรุ๊ป" สานต่อความยั่งยืน บริจาคขยะรีไซเคิลให้กับมูลนิธิกระจกเงาผ่าน "โครงการชรารีไซเคิล" เพื่อสร้างคุณค่าให้กับขยะ-ส่งเสริมการสร้างงานและรายได้ผู้สูงอายุ
วันที่ 8 ตุลาคม 2567 คุณธนวลัย วัชรพล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานปฏิบัติการ ไทยรัฐออนไลน์ ตัวแทนผู้บริหารจากไทยรัฐกรุ๊ป เดินทางส่งมอบขยะจำนวน 2,397.5 กิโลกรัม ซึ่งรวบรวมได้จากโครงการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง ที่เกิดจากการส่งเสริมสร้างจิตสำนึก และปลูกฝังพฤติกรรมของพนักงานภายในองค์กร ไปบริจาคให้กับมูลนิธิกระจกเงา ผ่านโครงการชรารีไซเคิล โดยมูลนิธิกระจกเงา ที่ มูลนิธิกระจกเงา เลขที่ 191 ซอยวิภาวดี 62 (แยก 4-7) ถนนวิภาวดีรังสิต เพื่อลดปริมาณขยะ โดยการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี และทำให้ขยะเหล่านั้นเกิดคุณค่าอีกครั้ง รวมถึงเป็นการส่งเสริมการสร้างงาน และสร้างรายได้ให้กับพนักงานคัดแยกขยะ ซึ่งเป็นผู้สูงอายุ ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป
เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ส่งมอบสิ่งของบริจาค อาหารสัตว์ และสิ่งของจำเป็น
วันที่ 7 ตุลาคม 2567 สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) โดยสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกหญ้าแพงโกล่า อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตอาหารสัตว์ ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท เชียงใหม่บูรพาห้องเย็นกรุ๊ป จำกัด ขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือและแบ่งเบาความเดือดร้อนของผู้ประสบอุทกภัย นำโดย นายกฤษดา ลาพิมล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาพิงคนคร ปฏิบัติหน้าที่แทน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาพิงคนคร และนางสาวฐิติรัตน์ ต๊ะวันวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี พร้อมด้วยทีมสัตวแพทย์ และเจ้าหน้าที่ ฝ่ายบริหารจัดการสัตว์ ส่งมอบสิ่งของบริจาค อาหารสัตว์ และสิ่งของจำเป็นให้แก่ ศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ต.กื้ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
สมศักดิ์ มอบ สปสช. ดูแลสิทธิบัตรทองพื้นที่ "น้ำท่วม" เข้าถึงการรักษาทันที
สมศักดิ์ มอบหมาย สปสช. ดูแลประชาชนสิทธิบัตรทองพื้นที่น้ำท่วมให้เข้าถึงการรักษาพยาบาลที่จำเป็น ด้าน สปสช. เผย อุบัติเหตุ/เจ็บป่วยฉุกเฉินเข้ารักษาได้ที่หน่วยบริการที่เข้าร่วมกับ สปสช.ได้ทุกแห่ง แนะเทศบาล/อบต.ใช้งบ กปท. จัดรถรับส่งผู้ป่วยไปหาหมอได้สัปดาห์ที่ผ่านมา สื่อญี่ปุ่นต่างรายงานว่าที่สวนสัตว์อุมิโนะนากามิจิ ในฟุกุโอกะ บนเกาะคิวชู ทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ได้มีการเผยโฉมเปิดตัวลูกคาปิบาราแฝด 3 อายุเพียงเดือนกว่าๆ ให้นักท่องเที่ยวได้ชม
สำหรับลูกคาปิบาราเกิดใหม่ทั้ง 3 ตัวนั้นเกิดเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา ณ สวนสัตว์อุมิโนะนากามิจิ (Uminonakamichi Seaside Park) โดยแรกเกิดมีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร และน้ำหนักราว 1.5 กิโลกรัม
อิริเอะ ฮิคารุ ผู้ดูแลกล่าวว่า ลูกคาปิบาราแฝด 3 มีลักษณะที่แตกต่างกันมาก โดยตัวหนึ่งมีลักษณะที่ค่อนข้างซุกซน ส่วนอีกตัวหนึ่งค่อนข้างชิลชิล พร้อมกล่าวว่าอยากให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนสวนสัตว์ได้เห็นคาปิบารากระโดดโลดเต้นไปมา และหวังว่าบรรดาลูกๆ คาปิฯ เมื่อโตกว่านี้จะคุ้นเคยกับมนุษย์
วัดพลายชุมพล จ.สุโขทัย น้ำท่วมยังวิกฤติ พระ-เณรต้องใช้เรือขนของหนีน้ำ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 8 ต.ค. 67 สถานการณ์น้ำท่วมที่วัดพลายชุมพล บ้านหางคลอง หมู่ 5 ต.บ้านกล้วย อ.เมือง จ.สุโขทัย ยังวิกฤติ ระดับน้ำได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากน้ำได้ไหลมาจากทั้ง 2 ฝั่ง คือ ฝั่งขวาไหลจากคลองแม่รำพัน และฝั่งซ้ายไหลมาทุ่งทะเลหลวง ทำให้วัดพลายชุมพล ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำรับน้ำจากทั้งสองด้าน
ทำให้พระ เณร ต้องช่วยกันยกของในวัดเพื่อหนีน้ำที่ท่วมหมดบริเวณวัด โดยเฉพาะบริเวณกุฎิ 2 ชั้น น้ำได้ท่วมกุฎิชั้นล่างจนไม่สามารถจำวัดได้ นอกจากนี้ น้ำยังได้ท่วมโรงครัว สูงกว่า 1 เมตร ทำให้ต้องนำตำราเรียนนักธรรมชั้นตรี ที่สามเณรกำลังเรียนอยู่ ใส่เรือและเดินลุยน้ำออกไปไว้ด้านนอกวัด ทางด้านพระต้องพายเรือนำวัตถุดิบ เพื่อทำอาหารถวายพระและเณรภายในวัด เพราะไม่สามารถออกไปรับบิณฑบาตได้ตามปกติ
ไม่มีความคิดเห็น