ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

วัดป่า 5,000 แห่ง ตกอยู่ในความเสี่ยง !! โดนข้อหาคดีอาญารุกป่าสงวน แม้ว่าจะขออนุญาตถูกต้องก็ตาม !?

วัดป่า 5,000 แห่ง ตกอยู่ในความเสี่ยง !!
โดนข้อหาคดีอาญารุกป่าสงวน แม้ว่าจะขออนุญาตถูกต้องก็ตาม !?



ในเรื่องการรุกป่านั้น หากมองกันอย่างตรงไปตรงมาแล้วก็จะพบว่า กรณีที่เป็นการรุกป่าสงวนจริงๆ ก็มี แต่เท่าที่เห็นส่วนมากเป็นการรุกที่รกร้างว่างเปล่าเสียมากกว่า เพราะป่าได้หมดสภาพความเป็นป่าไปนานแล้ว ถูกปล่อยทิ้งรกร้างไว้นาน โดยไม่ได้รับการฟื้นฟู เพียงแต่เอกสารยังระบุไว้ว่าเป็นป่าสงวน (บางพื้นที่เป็นภูเขาหัวโล้นมา 40-50 ปี แต่เอกสารบอกว่าเป็นป่า)
 ถ้าเราไม่ได้มองที่ตัวเอกสารเป็นหลัก แต่มองที่สภาพพื้นที่จริง ก็จะพบว่าหลายคดีนั้น ไม่ได้มีความเสียหายเกิดขึ้นจริง เพราะพื้นที่นั้นไม่เหลือสภาพความเป็นป่าให้รุกป่าได้มาตั้งนานแล้ว อีกทั้งแนวเขตที่ดินป่าสงวนก็ไม่ชัดเจน เพราะเอกสารและแผนที่ของหน่วยงานราชการไม่ตรงกัน เช่น ใช้แผนที่คนละมาตราส่วน ใช้ พรบ. คนละฉบับ เป็นต้น




 ปัญหาก็คือถ้ามันเป็นที่รกร้างอยู่แบบนั้น ก็คงไม่มีใครสนใจจะเอาผิดขึ้นมา แต่เมื่อผู้ที่เข้ามาเช่าสิทธิ์มีการพัฒนาพื้นที่ให้กลายเป็นป่าขึ้นมา ที่รกร้างตรงนั้นมันก็กลายเป็นทำเลทองทางธุรกิจ การอ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าของจากหน่วยงานรัฐก็เป็นเรื่องตามมา
 เช่น การขอตรวจสอบความถูกต้องเอกสารสิทธิ์บ้าง การตั้งข้อหารุกป่าบ้าง การเอาผิดเรื่องเช่าช่วงบ้าง
ข้อหาอาญาต่างๆ ก็ตามมามากมาย แล้วแต่ช่องว่างกฎหมายข้อใดจะเอื้อประโยชน์ให้ฟ้องได้ก็ฟ้องยิบย่อยไปหมด
 ทั้งที่จริงแล้ว บางครั้งนอกจากไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นจริงแล้ว รัฐและเกษตรกรยังได้ประโยชน์อีกด้วย แต่ก็อย่างที่เล่าไปข้างต้น เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจจะทำให้เป็นคดีก็ได้หรือไม่ทำให้เป็นคดีก็ได้
 ถ้าจะทำให้เป็นคดี ก็ทำข้ออ้างว่ารัฐเป็นผู้เสียหายแล้วก็ตั้งข้อหารุกป่านำไปก่อน จากนั้นรัฐก็อาศัยอำนาจศาล ไล่คนออกจากพื้นที่ ยึดที่ดิน ยึดทรัพย์ทุกอย่างให้หมด
 ถ้าอยากได้คืนก็ไปต่อสู้กันบนศาล แล้วใครจะหาญกล้าไปสู้กับหน่วยงานของรัฐที่มีพวกพ้องอยู่เต็มระบบราชการทั่วประเทศ

 ดังนั้น เมื่อช่องว่างกฎหมายเป็นแบบนี้ ไม่ใช่แค่เกษตรกรหรือเอกชนเท่านั้น แม้แต่วัดป่า 5,000 แห่ง ก็ยังตกอยู่ในความเสี่ยงโดนข้อหาคดีอาญารุกป่าสงวนได้อย่างง่ายดาย แม้ว่าจะขออนุญาตถูกต้องก็ตาม แต่ชีวิตก็เหมือนลูกไก่ในกำมือ
 เพราะหน่วยงานของรัฐมีการหมุนเวียนคน หากคนใหม่เห็นไม่ตรงกับคนเก่า การจะอนุญาตให้อยู่ต่อหรือจะทุบทิ้ง จึงขึ้นอยู่กับว่าหน่วยงานรัฐจะอ้างสิทธิ์ทวงคืนเมื่อไรแค่นั้นเอง
ที่สำคัญคือ การอ้างสิทธิ์แต่ละครั้งนั้น หน่วยงานของรัฐไม่จำเป็นต้องสนใจว่ามีความเสียหายแก่รัฐเกิดขึ้นจริงหรือไม่ เพราะถึงอย่างไร มันก็เป็นช่องว่างที่ทำให้หน่วยงานของรัฐมีอำนาจในการยึดทรัพย์สินที่ดินให้กลายเป็นพื้นที่แช่แข็งได้โดยปริยาย จนกว่าคดีความบนศาลจะเป็นอันสิ้นสุด ซึ่งกินเวลาอย่างน้อยก็ 10-15 ปี
คนที่เดือดร้อนเสียหายก็คือพระสงฆ์กับประชาชน แต่หน่วยงานของรัฐไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลย แม้ภายหลังศาลจะตัดสินให้ประชาชนไม่มีความผิดก็ตาม

ขอบคุณรูปภาพจาก Google.com 

Cr : Ptt Cnkr

ไม่มีความคิดเห็น