มีสมบัติ "ที่ดิน"ก็ต้องดูแลรักษา ถึงแม้เจ้าของตายแล้วจะนำติดตัวไปไม่ได้ แต่ก็ใช้ทำประโยชน์ได้ใช้สร้างบุญได้ตอนยังมีชีวิตอยู่ จึงควรดูแลรักษาให้ดี
มีสมบัติก็ต้องดูแลรักษา ทางหนึ่งก็ต้องระวังถูกยึดทรัพย์เพราะภาษีแพง ทางหนึ่งก็ต้องระวังถูกครอบครองปรปักษ์ จริงอยู่ว่าสมบัติถึงแม้เจ้าของตายแล้วจะนำติดตัวไปไม่ได้ แต่ก็ใช้ทำประโยชน์ได้ใช้สร้างบุญได้ตอนยังมีชีวิตอยู่ จึงควรดูแลรักษาให้ดี
------------------------------------
มาตรา 1382 บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยสงบเปิดเผยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นระยะเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร์ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์
----------------------------------
การครอบครองปรปักษ์ผู้ครอบครองไม่จำต้องรู้ข้อเท็จจริงว่าที่ดินที่ตนครอบครองเป็นที่ดินของบุคคลอื่นหรือเป็นที่ดินมีกรรมสิทธิ์หรือไม่ ถ้าครอบครองเข้าหลักเกณฑ์ 1382 ย่อมได้กรรมสิทธิ์ ผู้ครอบครองปรปักษ์ครบ 10 ปี ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามมาตรา 1382 แล้ว แต่ศาลยังมิได้มีคำสั่งว่าผู้ครอบครองได้กรรมสิทธิ์ หากมีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิของผู้ครอบครองเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว ผู้ครอบครองย่อมมีอำนาจฟ้อง ครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์แล้ว แม้ต่อมาไม่ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิที่ได้มาสิ้นสุดลง
กรณีที่ผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ได้กรรมสิทธิ์ตามหลักเกณฑ์แล้วตาย ทายาทมีสิทธิ์ยื่นคำร้องขอให้ผู้ครอบครองได้กรรมสิทธิ์ตามมาตรานี้ได้
------------------------------------
Cr : Ptreetep Chinungkuro
วิเคราะห์เจาะลึกหลักเกณฑ์ใดบ้าง ที่ใช้พิจารณาตัดสินคดีครอบครองปรปักษ์
คำถาม
หลักเกณฑ์ใดบ้างที่ใช้พิจารณาตัดสิน คดีครอบครองปรปักษ์
คำตอบ คงเป็นปัญหากันอยู่ไม่น้อยสำหรับที่ดินในประเทศไทย ทั้งปัญหาด้านความชัดเจนของพื้นผังกรรมสิทธิ์ในที่ดิน การมีโฉนด การออกเอกสารสิทธิ์ ในแต่ละจังหวัดแต่ละเขตอำเภอมีปัญหาฟ้องร้องกันเป็นคดีขึ้นสู้ศาลในจำนวนไม่น้อย แต่จะมีคดีใดบ้างละที่ชนะ คดีใดบ้างละที่แพ้ หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเป็นเช่นไรในวันนี้ทีมงานทนายกฤษดา ขอนำท่านมาเจาะลึกถึงหลักเกณฑ์ที่ศาลใช้พิจารณา
หลักกฎหมาย
มาตรา 1382 บุคคลใดครอบครอทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยสงบเปิดเผยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นระยะเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร์ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์
หลักพิจารณา
- มาตรานีเป็นบทบัญญัติให้การครอบครองหรือสิทธิการครอบครองกลายเป็นกรรมสิทธิ์โดยอาศัยระยะเวลาการครอบครอง หรือที่เรียกว่าอายุความได้สิทธิ
- การครอบครองปรปักษ์จะต้องเป็นการครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น และทรัพย์นั้นผู้อื่นจะต้องมีกรรมสิทธิ์ ที่ดินมีเพียงสิทธิครอบครองจึงไม่อาจครอบครองได้ แม้ครอบครองนานเท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์
- ต้องครอบครองด้วยความสงบเปิดเผยและเจตนาเป็นเจ้าของ ครอบครองหมายถึง การเข้ายึดถือทรัพย์สิน แม้ครอบครองโดยเข้าใตผิดว่าเป็นที่ดินของตนหากบุคคลนั้นได้ยึดถือครอบครองโดยเจตนาเป็นเจ้าของอย่างเเท้จริงแล้วก็ถือว่าเป็นการครอบครองที่ดินของผู้อื่น เปิดเผย หมายความว่า ไม่มีการอำพรางปิดบังซ่อนเร้น ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ หมายความว่า ยึดถือครอบครองทรัพย์สินนั้น ไม่ใช่เพียงแต่ยึดถือเพื่อตนอย่าวเดียว แต่ต้องมีการยึดถือการครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ของทรัพย์สินนั้นด้วย
- ต้องครอบครองติดต่อกันตามเวลาที่กฎหมายกำหนด คือ ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ห้าปี ส่วนอสังหาริมทรัพย์สิบปีจึงได้กรรมสิทธิ์แต่เรื่องดังกล่าวเป็นระยะเวลาการไดสิทธิ์ไม่ใช่อายุความ แต่ปัจจุบันศาลฎีกาเอาระยะเวลาการครอบครองของเจ้าของทรัพย์เป็นหลัก กล่าวคือ หากมีการเปลี่ยนมือที่ดินที่ถูกครอบครองปรปักษ์ก็ถือว่าการครอบครองปรปักษ์ขาดตอนต้องเริ่มนับใหม่
- ถ้าเป็นการครอบครองทรัพย์สินอันการได้มาโดยการกระทำผิด ระยะเวลาการต้องถือตามมาตรา 1383 คือ จะได้กรรมสิทธิก็ต่อเมื่อพ้นอายุความอาญา หรือพ้นระยะเวลาที่กำหนดตามมาตรา 1382 แล้วแต่กำหนดเวลาไหนจะยาวกว่ากัน
- สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ เช่น เรือกำปั่น หรือเรือที่มีระวางหกตัน เรือกลไฟ เรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป กฎหมายมิได้บัญญัติว่าต้องใช้เวลา 10 ปี ดังนั้นจึงใช้ระยะเวลาห้าปีเช่นเดียวกับอสังหาริมทรัพย์ทั่วไป
- การครอบครองปรปักษ์ผู้ครอบครองไม่จำต้องรู้ข้อเท็จจริงว่าที่ดินที่ตนครอบครองเป็นที่ดิยของบุคคลอื่นหรือ เป็นที่ดินมีกรรมสิทธิ์หรือไม่ ถ้าครอบครองเข้าหลักเกณฑ์ 1382 ย่อมได้กรรมสิทธิ์
- ทรัพย์สินทางปัญญา ได้แห่ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า ย่อมครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ เพราะทรัพย์สินทางปัญญาแม้มีราคา ถือเอาได้แต่ไม่มีรูปร่างจึงครอบครองปรปักษ์ไม่ได้
- ผู้ครอบครองปรปักษ์ครบ 10 ปี ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามมาตรา 1382แล้ว แต่ศาลยังมิได้มีคำสั่งว่าผู้ครอบครองได้กรรมสิทธิ์ หากมีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิของผู้ครอบครองเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว ผู้ครอบครองย่อมมีอำนาจฟ้อง
- เจ้าของที่ดินที่ถูกแย่งการครอบครองไม่มีหน้าที่ในทางนิติกรรมที่จะต้องไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิให้ผู้ครอบครองปรปักษ์
- ครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์แล้ว แม้ต่อมาไม่ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินดังหล่าวชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิที่ได้มาสิ้นสุดลง
- กรณีที่ผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ได้กรรมสิทธิ์ตามหลักเกณฑ์แล้วตาย ทายาทมีสิทธิ์ยื่นคำร้องขอให้ผู้ครอบครองได้กรรมสิทธิ์ตามมาตรานี้ได้
ที่มา www.lawyers.in.th
ไม่มีความคิดเห็น