ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

ทำไมต้อง “โจร500” ?


ความจริงคำว่า “ห้าร้อย” ในความหมายเดิมแท้นั้นไม่ได้หมายถึงหน่วยนับ หากหมายถึงการประมาณว่าจำนวนหนึ่งเท่านั้น
เพราะหน่วยนับของอินเดียแต่โบราณกาลมา ถือหน่วยนับพันเป็นหน่วยสูงสุด เป็นเท่านั้นเท่านี้พัน และความรู้ในการถือหน่วยนับนี้ได้แพร่หลายไปยังดินแดนอื่น รวมทั้งพวกฝรั่ง ดังนั้นพวกฝรั่งจึงนิยมใช้หน่วยนับเป็นพัน
ความหมายของคำว่า “ห้าร้อย” นอกจากจะหมายถึงจำนวนครึ่งหนึ่งของทั้งหมดแล้ว ยังหมายความว่าไม่เต็ม คือไม่เต็มพัน หรือไม่เต็มที่นั่นเอง ดังนั้นในสมัยโบราณจึงเรียกคนที่มีสติไม่สมประกอบว่าคนบ้าห้าร้อย บ้างก็เรียกว่าพวกไม่เต็มเต็ง
หนักๆ เข้าก็กลายเป็นคำด่า เช่นคำด่าที่ว่าไอ้โจรห้าร้อย มาจากคำว่าโจรบ้าห้าร้อย
เพิ่มเติม คำว่า โจรห้าร้อย เดิมเป็นคำกล่าวเปรียบว่าโจรมีจำนวนมาก สำนวน โจรห้าร้อย น่าจะมาจากอรรถกถาของคัมภีร์ธรรมบท กล่าวถึง เดียรถีร์ 500 คนกับโจร 500 คนร่วมกันวางแผนสังหารพระโมคคัลลาน์ เนื่องจากพระโมคคัลลาน์ทำให้สาวกจำนวนมากของเหล่าเดียรถีร์หันมานับถือพระพุทธศาสนา
คำว่า ห้าร้อย นอกจากจะปรากฏในสำนวนว่า โจรห้าร้อย แล้ว ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนายังปรากฏคู่กับคำอื่นอีกด้วย เช่น อนาถบิณฑิกเศรษฐีถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุ 500 รูป. ต่อมาเมื่อใช้คำว่า โจรห้าร้อย มีความหมายว่า โจร, โจรชั่ว เช่น จันทโครพพานางโมราเดินป่าไปพบโจรห้าร้อยผู้หนึ่งระหว่างทางปัจจุบันเมื่อตัดใช้แต่เพียง ห้าร้อย ก็หมายถึง คนเกเร คนไม่ดี เช่น ไอ้เด็กห้าร้อย วัน ๆ ไม่เรียนหนังสือ เอาแต่ซิ่งมอเตอร์ไซค์ไปทั่ว
...............................

"โจร ๕๐๐" "ภิกษุ ๕๐๐" "เกวียน ๕๐๐" ฯลฯ ทำไมต้อง "ปญฺจสตา โจรา" เวลาแปลบาลีเราจะเห็นบ่อยมาก "ปญฺจสตา โจรา" หรือ "ปญฺจสตา ภิกฺขู" หรือ "ปญฺจหิ สกฏสเตหิ ภณฺฑํ อาทาย วณิชฺชาย คจฺฉนฺโต ...."
.
อย่าง เช่น
มงฺคลตฺถทีปนี (ปฐโม ภาโค) หน้าที่ ๑๑๗
อตีเต กสฺสปพุทฺธกาเล ปญฺจสตโจรา คามฆาตาทีนิ กตฺวา โจริกาย ชีวิกํ กปฺเปสุํ ฯ เต เอกทิวสํ มนุสฺเสหิ อนุพทฺธา ปลายนฺตา อรญฺญํ ปวิสิตฺวา ตตฺเถกํ อารญฺญกํ ภิกฺขุํ ทิสฺวา วนฺทิตฺวา อมฺหากํ ภนฺเต ปฏิสรณา โหถาติ วทึสุ ฯ
.
ธมฺมปทฏฺฐกถา (ปญฺจโม ภาโค) หน้าที่ ๑๙
.
ตสฺส กิร วาณิชสฺส เคเห ปญฺจสตา โจรา โอตารํ คเวสมานา [โอตารํ] น ลภึสุ. อปเรน สมเยน โส วาณิโช ปญฺจสกฏสตานิ ภณฺฑสฺส ปูเรตฺวา ภิกฺขูนํ อาโรจาเปสิ " อหํ อสุกฏฺฐานนฺนาม วณิชฺชาย คจฺฉามิ, เย อยฺยา ตํ ฐานํ คนฺตุกามา, เต นิกฺขมนฺตุ, มคฺเค ภิกฺขาย น กิลมิสฺสนฺตีติ.
.
ธมฺมปทฏฺฐกถา (จตุตฺโถ ภาโค) หน้าที่ ๑๒๖
.
ตโต ปญฺจสตาปิ โจรา สามเณรํ วนฺทิตฺวา ปพฺพชฺชํ ยาจึสุ. โส เตสํ อสิธาราหิ เอว เกเส จ วตฺถทสา จ ฉินฺทิตฺวา ตมฺพมตฺติกาย รชิตฺวา ตานิ กาสายานิ อจฺฉาเทตฺวา ทสสุ สีเลสุ ปติฏฺฐาเปตฺวา ....

Cr.ศิลปวัฒนธรรม และ สุขี สิงห์บรบือ

ไม่มีความคิดเห็น