ฟันธง!!! พระธัมมชโยป่วยหนักจริง
กดดันกันจนไม่มีแพทย์ในประเทศไทย กล้าออกใบรับรองแพทย์ให้อีก กดดันกันจนต้องไปเชิญแพทย์จากต่างประเทศ มายืนยันกับสังคมว่าท่านป่วยจริงๆ กดดันกันจนไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากถ่ายทอดสดอาการป่วยให้สังคมเห็น นี่มันเกิดอะไรขึ้นกับบ้านนี้เมืองนี้
เราจะอยู่กันแบบใช้อำนาจรัฐ ใช้สื่อมวลชน กดดันกันจนกว่าจะได้สิ่งที่ต้องการ โดยไม่สนใจความถูกต้อง ไม่สนใจความชอบธรรม ไม่สนใจการตรวจสอบความจริงแบบนี้จริงๆ หรือ ?
หมอโฮจุน
ในสมัยโชซอนของประเทศเกาหลี สำนักแพทย์หลวงมีกฎระเบียบร้ายแรงอยู่ข้อหนึ่ง
หากแพทย์คนใดฝ่าฝืนไปทำผิดเข้า จะโดนลงโทษอย่างรุนแรง นั่นคือ ห้ามไม่ให้หมอหลวง
ซึ่งมีหน้าที่รักษาชนชั้นสูงในราชสำนัก ออกไปรักษาชาวบ้านที่อยู่นอกรั้วกำแพงวัง
ซึ่งมีหน้าที่รักษาชนชั้นสูงในราชสำนัก ออกไปรักษาชาวบ้านที่อยู่นอกรั้วกำแพงวัง
แต่มีหมอหลวงท่านหนึ่งซึ่งมีใจเมตตาต่อคนไข้ ทนเห็นความเจ็บป่วยทุกข์ทรมานของชาวบ้านไม่ไหว
จึงยอมเสี่ยงอันตรายฝ่าฝืนกฎระเบียบร้ายแรง ด้วยการออกไปรักษาชาวบ้านที่นอกวังหลวง
โดยไม่เก็บค่ารักษาพยาบาล ด้วยการใช้ตัวยาดีๆ แบบเดียวกับที่ใช้รักษาขุนนางในราชสำนัก
จึงยอมเสี่ยงอันตรายฝ่าฝืนกฎระเบียบร้ายแรง ด้วยการออกไปรักษาชาวบ้านที่นอกวังหลวง
โดยไม่เก็บค่ารักษาพยาบาล ด้วยการใช้ตัวยาดีๆ แบบเดียวกับที่ใช้รักษาขุนนางในราชสำนัก
ผลกระทบที่ตามมาจากเรื่องนี้ก็คือ หมอท่านนี้ถูกถูกขุนนางทั้งราชสำนัก ยื่นหนังสือให้ลงโทษอย่างหนัก ถูกหมอทั้งสำนักแพทย์หลวง รุมตำหนิติเตียนอย่างรุนแรง พร้อมเสนอให้ปลดออกจากตำแหน่ง
พระราชามิอาจทัดทานเสียงฟ้องร้อง ของเหล่าขุนนางและแพทย์หลวงได้ จึงจำใจสั่งลงโทษด้วยการ
ให้เดินไปกลับ 200 ก้าว จากสำนักแพทย์ ไปยังพระราชสำนัก เพื่อไปยืนอ่าน กฎระเบียบที่ทำผิดนั้นให้ขุนนางทั้งวังได้ยิน ด้วยการออกเสียงดังๆ เป็นจำนวน 1,000 รอบ รวมระยะทาง 200,000 ก้าว
( 200 กิโลเมตร) หมอท่านนั้นยอมรับโทษโดยไม่ปริปากบ่น เมื่อเดินไปได้ 500 รอบ ขาก็อ่อนแรงทรุดลงกับพื้น จึงเปลี่ยนมาเป็นคลานอีก 500 รอบ ตลอดทางอาบไปด้วยเลือด เมื่อคลานครบ ตามที่โทษกำหนด ร่างก็ฟุบสลบไป ผลจากเหตุการณ์ครั้งนั้น พระราชได้สั่งแก้กฎระเบียบของสำนักแพทย์ อนุญาตให้หมอหลวงออกไปรักษาชาวบ้าน ที่อยู่นอกกำแพงวังได้ โดยไม่เก็บค่ารักษาพยาบาล จากเรื่องราวนี้ สะท้อนให้เห็นว่า กฎระเบียบแม้จะถูกสร้างขึ้นอย่างถูกต้อง แต่หากใช้แล้วไม่เป็นธรรม ก็สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ แต่จรรยาบรรณแพทย์เป็นสิ่งที่ติดตัวไปตลอดชีวิต ไม่ว่าจะลงโทษ อย่างไรก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หมอที่ไม่แบ่งแยกชนชั้น ไม่มีอคติต่อคนไข้ มีจิตเมตตาต่อคนไข้โดยไม่ห่วงอันตรายต่อชีวิตของตนเอง นั่นคือ จรรยาบรรณแพทย์ที่ติดตัวไปตลอดชีวิต หมอที่ห่วงใยชีวิตของคนไข้ โดยไม่ห่วงอันตรายต่อชีวิตตนเองนั้น ท่านมีชื่อเสียงอยู่ในประวัติศาสตร์ว่า ... หมอโฮจุน
ให้เดินไปกลับ 200 ก้าว จากสำนักแพทย์ ไปยังพระราชสำนัก เพื่อไปยืนอ่าน กฎระเบียบที่ทำผิดนั้นให้ขุนนางทั้งวังได้ยิน ด้วยการออกเสียงดังๆ เป็นจำนวน 1,000 รอบ รวมระยะทาง 200,000 ก้าว
( 200 กิโลเมตร) หมอท่านนั้นยอมรับโทษโดยไม่ปริปากบ่น เมื่อเดินไปได้ 500 รอบ ขาก็อ่อนแรงทรุดลงกับพื้น จึงเปลี่ยนมาเป็นคลานอีก 500 รอบ ตลอดทางอาบไปด้วยเลือด เมื่อคลานครบ ตามที่โทษกำหนด ร่างก็ฟุบสลบไป ผลจากเหตุการณ์ครั้งนั้น พระราชได้สั่งแก้กฎระเบียบของสำนักแพทย์ อนุญาตให้หมอหลวงออกไปรักษาชาวบ้าน ที่อยู่นอกกำแพงวังได้ โดยไม่เก็บค่ารักษาพยาบาล จากเรื่องราวนี้ สะท้อนให้เห็นว่า กฎระเบียบแม้จะถูกสร้างขึ้นอย่างถูกต้อง แต่หากใช้แล้วไม่เป็นธรรม ก็สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ แต่จรรยาบรรณแพทย์เป็นสิ่งที่ติดตัวไปตลอดชีวิต ไม่ว่าจะลงโทษ อย่างไรก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หมอที่ไม่แบ่งแยกชนชั้น ไม่มีอคติต่อคนไข้ มีจิตเมตตาต่อคนไข้โดยไม่ห่วงอันตรายต่อชีวิตของตนเอง นั่นคือ จรรยาบรรณแพทย์ที่ติดตัวไปตลอดชีวิต หมอที่ห่วงใยชีวิตของคนไข้ โดยไม่ห่วงอันตรายต่อชีวิตตนเองนั้น ท่านมีชื่อเสียงอยู่ในประวัติศาสตร์ว่า ... หมอโฮจุน
เราเชื่อว่า แพทย์ในประเทศไทย ที่มีจิตใจอย่าง "หมอโฮจุน" ยังมีอยู่อีกมาก อย่างน้อยก็ยังมีอยู่ใน "แพทยสภา" ที่จะออกมาเป็นคนกลางพิสูจน์ความจริง มิใช่เพื่อปกป้องหลวงพ่อธัมมชโย แต่เพื่อปกป้อง "เกียรติยศ เกียรติศักดิ์ เกียรติภูมิ ของวงการแพทย์ไทย" มิให้ใครมาดูแคลน
ตอบลบเราเชื่อว่า แพทย์ในประเทศไทย ที่มีจิตใจอย่าง "หมอโฮจุน" ยังมีอยู่อีกมาก อย่างน้อยก็ยังมีอยู่ใน "แพทยสภา" ที่จะออกมาเป็นคนกลางพิสูจน์ความจริง มิใช่เพื่อปกป้องหลวงพ่อธัมมชโย แต่เพื่อปกป้อง "เกียรติยศ เกียรติศักดิ์ เกียรติภูมิ ของวงการแพทย์ไทย" มิให้ใครมาดูแคลน
ตอบลบ