ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

ทักษะชีวิตในสถานการณ์ที่ยากลำบาก_เรื่องจำเป็นที่ไม่ได้มีสอนในตำราเรียน

#ทักษะชีวิตในสถานการณ์ที่ยากลำบาก_เรื่องจำเป็นที่ไม่ได้มีสอนในตำราเรียน

เราทุกคนรู้ดีว่าเด็กไทยยุคนี้ต้องเรียนหนัก การบ้านเยอะ สอบบ่อยๆ นอกจากเรียนในโรงเรียน หลายคนต้องเรียนพิเศษ เป้าหมายก็เพื่อความสำเร็จในการเรียน สอบให้ได้คะแนนดี
การเรียนและคะแนนสอบอาจจะสำคัญ คะแนนที่ดีอาจทำให้เราประสบความสำเร็จ ได้มีอาชีพที่ตั้งใจ แต่จริงๆแล้วการใช้ชีวิตของคนคนหนึ่ง ต้องมีคุณสมบัติอีกมากมายที่จำเป็น ที่บางครั้งการเรียนในห้องเรียนและตำราวิชาการไม่ได้สอน
เด็กที่เรียนเก่งที่สุดอาจจะแก้โจทย์เลขที่ยากที่สุดในโลกได้ แต่เมื่อต้องพบกับปัญหาเฉพาะหน้ากลับจัดการกับปัญหาง่ายๆ บางอย่างในชีวิตจริงไม่ได้ มีเด็กบางคนที่เรียนเก่งมาก แต่เมื่อพบกับปัญหาที่ไม่คาดคิดและยากลำบากก็มีความเครียดสูง บางคนมีอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า.
จากเหตุการณ์ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาคงทำให้เราเห็นชัดขึ้นว่าทักษะชีวิตสำคัญยังไง
ยกตัวอย่างเหตุการณ์การติดถ้ำของทีมหมูป่า หมอคิดว่าการที่เด็กๆ สามารถเอาตัวรอดมาได้ นอกจากปัจจัยความช่วยเหลือจากคนรอบข้างแล้ว เด็กๆคงมีทักษะชีวิตที่สำคัญและจำเป็นในสถานการณ์ที่ยากลำบาก
ทักษะชีวิตเหล่านี้ไม่เกิดขึ้นในวันสองวันแต่ต้องใช้การปลูกฝังและบ่มเพาะ เช่น การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า (Problem-solving skill) ซึ่งต้องใช้การฝึกฝน เริ่มจากการให้เด็กได้ทำอะไรเอง ช่วยเหลือตัวเองตามวัย นำไปสู่ทักษะการพึ่งพาตัวเองได้ มีความมุ่งมั่นพยายามไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค นำไปสู่ความรับผิดชอบชีวิตตัวเองและคนรอบข้าง
นอกจากนั้นทักษะชีวิตในการสร้างสัมพันธภาพ เชื่อมโยงกับคนรอบข้าง (Connectedness and Interpersonal relationship) ก็สำคัญ ซึ่งไม่สามารถเรียนรู้ได้จากตำราเรียน แต่ต้องเกิดจากการใช้ชีวิตร่วมกับคนรอบข้าง ผ่านปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ไม่เพียงแต่พ่อแม่ แต่รวมถึงเพื่อนและคนร่วมสังคมเดียวกันด้วย นอกจากเรียนอย่างเดียว ควรมีโอกาสให้เขาได้ทำกิจกรรม เล่นกับเพื่อน ตรงนั้นก็ทำให้ได้เรียนรู้การอยู่กับคนอื่นได้
การให้เขาได้ลองผิดลองถูก(อย่างไม่อันตราย) ผ่านการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน เช่น ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน เล่นกับเพื่อน ทำกิจกรรมร่วมกับคนรอบข้าง ช่วยตัวเองตามวัย ตรงนั้นก็นำมาสู่ทักษะที่จำเป็นอีกอย่างคือ การปรับตัวไม่ยึดติด (Flexibility and Adaptability)
ทักษะในเรื่องความมีสติไม่ตื่นตระหนกก็เช่นกัน ตรงนั้นส่งเสริมด้วยการสร้างความเชื่อมั่นและการให้เขาได้เคยลองมีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเริ่มจากเรื่องเล็กๆ ต่อไปก็จะมีความมั่นใจขึ้น
ทักษะสำคัญต่างๆ เหล่านี้ต้องเริ่มต้นที่การให้ความรักและความใกล้ชิดระหว่างเด็กกับพ่อแม่ และเป็นแบบอย่าง(Role model) และส่งเสริมของพ่อแม่ และต่อยอดที่การอบรมสั่งสอนของคุณครูที่โรงเรียน ซึ่งหมออยากเห็นโรงเรียนมีการเรียนการสอนที่การปลูกฝังเรื่องทักษะชีวิตมากขึ้น นอกจากการเรียนการสอนที่เน้นวิชาการอย่างเดียว

ไม่มีความคิดเห็น