สรุปประเด็นจากข่าวที่อ่านได้ว่า วิธีการใช้กฎหมายของดีเอสไอต่อหลวงพ่อธัมมชโย มีพฤติกรรมที่เข้าข่ายก้าวก่ายแทรกแซง อำนาจพนักงานอัยการหลายประการ
1. ขัดต่อระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ข้อ 66 เมื่อพนักงานสอบสวนส่งสำนวนสอบสวนให้อัยการแล้ว
ไม่มีอำนาจสอบสวนเพิ่มเติมในภายหลัง
2. ขัดต่อระเบียบข้อ 32 หากผู้ต้องหาไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนี หรือจะเข้าไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน รัฐก็ไม่ควรที่จะเอาตัวผู้ต้องหามาไว้ในอำนาจรัฐ เพราะเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคล
3. วิธีการใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ ส่อเจตนาว่า
3.1 จะไม่รอให้การทำงานของพนักงานอัยการ เป็นไปโดยอิสระและยุติธรรม
3.2 ไม่ได้รอให้ผลคดีถึงที่สุดก่อน
3.3 มีเพียงเป้าประสงค์ต่อผู้ต้องหาเฉพาะราย คือ หลวงพ่อธัมมชโย ดังข้อความที่ลงข่าวไว้ในจำนวน 3 ข่าวว่า “จับได้ถูกจับสึก” หรือ “ถ้ายังดื้ออาจถูกจับสึก” หรือ “หากโดนรวบต้องสึก”
4. ขัดต่อแนวคำพิพากษาศาลฎีกา และความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา 2 เรื่อง
4.1 เรื่องเสร็จที่ 415/2548 ที่ระบุไว้ว่าเมื่อดีเอสไอส่งสำนวน ให้ ป.ป.ช.แล้ว ดีเอสไอไม่อาจดำเนินการสอบสวนในระหว่างที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังมิได้มีมติในเรื่องนั้นได้
4.2 เรื่องเสร็จที่ 944/2547 ที่ระบุไว้ว่า ดีเอสไอมีอำนาจสอบสวน ในคดีที่อยู่ในระหว่างการสอบสวน หรือสอบสวนเสร็จแต่พนักงาน สอบสวนยังไม่ได้ส่งสำนวนการสอบสวนมาให้พนักงานอัยการ
สรุปว่า ดีเอสไอใช้กฎหมายเข้าข่ายแทรกแซงอำนาจพนักงานอัยการ ขัดต่อแนวคำพิพากษาและความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา และหากรวมเรื่องเก่าด้วยก็เข้าข่ายละเมิดกฎหมาย ป.วิ อาญา 32 (9) คือคดีความที่ถอนฟ้องไปแล้วทั้งแพ่งและอาญา ไม่สามารถนำมาตั้งเป็นคดีใหม่เพื่อฟ้องใหม่ได้ ซึ่งเท่ากับกระทำการใช้อำนาจรัฐตั้งข้อหาประชาชน โดยไม่มีมาตรากฎหมายรับรองอำนาจรัฐตามข้อหานั้นอย่างชัดเจน
Cr : Ptt Cnkr
ที่มาของข่าวที่สรุปประเด็นให้อ่าน ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ updated: 26 มิ.ย. 2559 เวลา 13:11:31 น.
ไม่มีความคิดเห็น