...ทำไม !!!!"พระยันตระ"ถึงไม่ยอมตรวจDNA เพราะถ้าตรวจก็เท่ากับว่า.ยอมรับในสิ่ง ที่ถูกกล่าวหา .
หมดความชอบธรรมทันที...
หมดความชอบธรรมทันที...
.....เรียนรู้จากโศกนาฏกรรมในอดีต: กรณี "พระยันตระ" พระยันตระ อมโร อดีตพระภิกษุนัมเบอร์วันของไทย ในปี พศ.2527-2537
✪ คุณลักษณะและเกียรติประวัติ
▸ กรณีพระยันตระ:
(1) รูปงาม น้ำเสียงไพเราะ เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธา
(2) พระสายปฏิบัติและพระนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดแห่งยุค
(3) มีผู้เคารพศรัทธามากทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
▸ กรณีหลวงพ่อธัมมชโย: ข้อ 1-3 เหมือนกัน และมีเพิ่มเติมคือ
(4) มีวัดและมูลนิธิที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่เช้มแข็ง
(5) มีบุคลากรภายในทั้งพระภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกาที่อุทิศตนเพื่อรับใช้พระพุทธศาสนา
(6) ขยายสถานที่ปฏิบัติ ศูนย์สาขา และวัดสาขาของวัดพระธรรมกายไปทั้งในและต่างประเทศทั่วโลก
✪ ข้อกล่าวหาหลัก
▸ กรณีพระยันตระ: ปาราชิกข้อที่ 1 เสพเมถุน
▸ กรณีหลวงพ่อธัมมชโย: ปาราชิกข้อที่ 2 รับของโจร สมคบฟอกเงิน
✪ กลุ่มบุคคลผู้เกี่ยวข้องและผู้ชี้นำสังคม
▸ กรณีพระยันตระ: นางจันทิมา มายะรังษี / แม่ชีแก้วตา หม่องจินดา/ นายสมเกียติ อ่อนวิมล / นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง / นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ / พระพยอม กัลยาโณ และอื่นๆ
▸ กรณีหลวงพ่อธัมมชโย: นายศุภชัย ศรีศุภอักษร / นพ.มโน เลาหวณิช / นายไพบูลย์ นิติตะวัน / พระพุทธอิสระ / และมีเพิ่มเติมคือบุคคลชุดเดิม / นายสมเกียติ อ่อนวิมล / นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ /
นายโรจน์ งามแม้น (เปลวสีเงิน) / และอื่นๆ
นายโรจน์ งามแม้น (เปลวสีเงิน) / และอื่นๆ
✪ การสร้างประเด็นเชื่อมโยง
▸ กรณีพระยันตระ: มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับสมณเพศ เช่น เที่ยวสถานบริการทางเพศ พฤติกรรมเชิงชู้สาวอื่นๆ หรือไม่?
▸ กรณีหลวงพ่อธัมมชโย: อาพาธจริงหรือไม่? (รวมถึงประเด็นอื่นๆ เช่น บิดเบือนคำสอน อวดอุตริมนุสธรรม เป็นต้น)
✪ การอ้างพยานหลักฐานเพื่อเอาผิด
▸ กรณีพระยันตระ: ภาพถ่าย เทปบันทึกเสียง คลิปวิดีโอ สลิปบัตรเครดิต
▸ กรณีหลวงพ่อธัมมชโย: เช็คสั่งจ่ายเพื่อทำบุญ ใบรับรองแพทย์
✪ การท้าทายและการจุดประเด็นชี้ชวนให้สังคมสงสัย
▸ กรณีพระยันตระ: ทำไมไม่ยอมตรวจ DNA เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์?
▸ กรณีหลวงพ่อธัมมชโย: ทำไมไม่ไปรับข้อกล่าวหา เพื่อเข้าสู่กระบวนการสู้คดี?
✪ จุดยืนและวิกฤติ
▸ กรณีพระยันตระ: ยืนยันในความบริสุทธิ์ของตน ในการดำเนินการสอบสวนนิคหกรรม โดยเจ้าคณะปกครองชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้อง จนได้ข้อสรุปว่าไม่มีมูลความผิด แต่ต่อมา สื่อโดยการชี้นำของนักวิชาการ โดยเฉพาะนายสมเกียติ อ่อนวิมล พยายามเชื่อมโยงชี้มูลความผิดอื่นๆ จนในที่สุดมติมหาเถรสมาคมต้องนำอธิกรณ์ขึ้นพิจารณาอีกครั้ง กระทั่งให้พ้นจากความเป็นภิกษุ โดยอ้างตามพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชที่ให้ปาราชิก (ในยุคนั้นยังไม่มียังมีผู้ใดกล้าพาดพิงถึง "ห้องกระจก" เช่นปัจจุบัน)
▸ กรณีหลวงพ่อธัมมชโย: ยืนยันในความบริสุทธิ์ของตน มติมหาเถรวสมาคมตัดสินว่าไม่ปาราชิก แต่ก็ยังไม่วายถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) แจ้งข้อกล่าวหา (เรื่องพระลิขิตเป็นไปในทำนองเดียวกัน แต่ทราบกันว่าเป็นพระลิขิตฯปลอม เหตุจากที่มีผู้สืบสาวถึง "ห้องกระจก")
ข้อมูลเพิ่มเติม กองปราบบุกทลายห้องกระจก....จุดจบพระลิขิต http://goo.gl/QrfXT
▸ กรณีพระยันตระ: เมื่อถูกสถานการณ์รอบด้านกดดันและมองว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงลอบเดินทางออกนอกประเทศ กระทั่งมีสถานะเป็นผู้ลี้ภัยทางการเมืองในประเทศสหรัฐอเมริกา
▸ กรณีหลวงพ่อธัมมชโย: แม้แจ้งว่าอาพาธหนัก ไม่สามารถไปไหนได้ และขอให้ DSI มาแจ้งข้อหาที่วัด แต่ทาง DSI ไม่เชื่อ ตรงข้ามกลับยื่นศาลขอออกหมายจับ ขณะที่ตัวท่านยังคงพำนักอยู่ที่วัดพระธรรมกาย ไม่ได้หนีไปไหน เป็นการยืนยันในความบริสุทธิ์ของตน ถือคติ "ไม่สู้...ไม่หนี...ทำดีเรื่อยไป" ฝ่ายคณะศิษยานุศิษย์ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ต่างช่วยกันเรียกร้องขอความเป็นธรรมให้แก่ท่าน
อ้างอิง ข่าวดังข้ามเวลา : นารีพิฆาต พิฆาตนารี [คลิปเต็มรายการ]
✪ ปัจจุบัน
▸ กรณีพระยันตระ: อาศัยอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา นาน 20 ปี จนคดีหมดอายุความ
▸ กรณีหลวงพ่อธัมมชโย: มีสถานะเป็นผู้ถูกกล่าวหา แต่กลับตกเป็นเหยื่อของการสร้างวาทะแห่งความเกลียดชังของสื่อและผู้มีอำนาจ ล่าสุดกำลังอยู่ในระหว่างเจราจาเพื่อให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
"ทองแท้แม้ไม่กลัวไฟ แต่การจะพิสูจน์ใดๆ ต้องมั่นใจได้ว่า เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม"
✪ ปัจจุบัน
▸ กรณีพระยันตระ: อาศัยอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา นาน 20 ปี จนคดีหมดอายุความ
▸ กรณีหลวงพ่อธัมมชโย: มีสถานะเป็นผู้ถูกกล่าวหา แต่กลับตกเป็นเหยื่อของการสร้างวาทะแห่งความเกลียดชังของสื่อและผู้มีอำนาจ ล่าสุดกำลังอยู่ในระหว่างเจราจาเพื่อให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
"ทองแท้แม้ไม่กลัวไฟ แต่การจะพิสูจน์ใดๆ ต้องมั่นใจได้ว่า เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม"
☞ ข้อควรสังเกต: สิ่งที่เกิดขึ้นกับวัดพระธรรมกายในปัจจุบัน อาจเป็นเหมือนภาพสะท้อนของอธิกรณ์ในวันวาน เพียงแต่ข้อหา บุคคลแวดล้อม และบริบทเปลี่ยนไป หรืออาจเรียกได้ว่า "เป็นละครโศกนาฏกรรมของชาวพุทธ ที่ฉายในโรงละครโรงเดิม" เพียงแค่เปลี่ยนเรื่อง เปลี่ยนฉาก เพิ่มตัวละคร ฯลฯ
... แน่นอนว่า ผู้เชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ของพระยันตระยังคงมีอยู่ไม่น้อย แต่ก็ไม่มีใครสามารถบอกความจริงได้ เว้นเสียแต่ท่านผู้นั้นเอง ... และแม้เรื่องราวในอดีตจะผ่านพ้นไปแล้ว แต่ความเชื่อในสังคมชาวพุทธนั้น ได้ถูกชี้นำให้แตกแยกเป็นสองทาง จึงมีคำถามว่า ... ประวัติศาสตร์กำลังย้อนรอยเดิม ใช่หรือไม่?
ไม่มีความคิดเห็น