ปีเตอร์ เซย์ ทนายความพระอาจารย์ยันตระ ศาลสหรัฐให้สถานภาพลี้ภัยทางการเมือง แก่พระอาจารย์ยันตระ
วันที่ 19 มิถุนายน 1997 ผู้พิพากษาสหรัฐอเมริกา RICO J. BARTOLOMEI ได้ประกาศ คำพิพากษา มีใจความ ตอนหนึ่งว่า พระอาจารย์ยันตระ ซึ่งรัฐบาลไทยได้เคยระบุว่าเป็น “บุคคลที่ประเทศไทยต้องการที่สุด” นั้นต้องเผชิญ กับ “ขบวนการกำจัด กวาดล้าง” ในประเทศไทย มิใช่เผชิญกับ “การดำเนินคดีทางอาญา"
ผู้พิพากษา ใช้เวลาในการอ่านคำพิพากษาถึง 5 ชั่วโมง ในห้องพิจารณาคดีเมืองซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเต็มไปด้วยผู้สนับสนุนพระอาจารย์ยันตระ ในตอนหนึ่งผู้พิพากษาได้กล่าวว่า
ผู้พิพากษาเองได้พบว่าพระอาจารย์ยันตระเป็นบุคคล ที่น่าเชื่อถือ และได้ให้การด้วยความบริสุทธิ์ใจ ซื่อตรง และถ่อมตน ผู้พิพากษายังได้กล่าวอีกว่าพระอาจารย์ยันตระให้การอย่าง สอดคล้อง คงสาระเดิม ภายใต้การซักถามอย่างเข้มข้นของฝ่ายรัฐบาลอเมริกัน
หลังจากที่ได้พิจารณาหลักฐานจากทนายความ สิทธิมนุษยชนชาวอเมริกันของพระอาจารย์ยันตระ ชื่อ ปิเตอร์ เชย์ ตลอดจนหลักฐานอื่นๆ ของรัฐบาลไทยผ่านทางนักกฎหมายของรัฐบาลอเมริกัน ชื่อ ทอมัส เฮน
ผู้พิพากษาได้ตัดสินว่า รัฐบาลไทยได้ละเมิดหลักกฎหมายระหว่างประเทศไทยโดยที่ ในปี 1995 รัฐบาลไทยได้กล่าวหาพระอาจารย์ยันตระ ว่าในคำแถลงซึ่งพระอาจารย์ยันตระ อ่าน ณ วัดแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 1995 ท่านได้ “ดูหมิ่นเจ้าหน้าที่รัฐบาลไม่ทราบชื่อ และสมเด็จพระสังฆราช”
ผู้พิพากษาสรุปว่า คำแถลงดังกล่าวมิได้ดูหมิ่นผู้ใด แม้ว่าจะเป็นไปตามข้อกล่าวหาจริง การฟ้องร้องทางอาญาที่เกิดขึ้นนั้นนับว่าเป็น การละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานในการแสดงออกของพระอาจารย์ยันตระอันเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองจากรัฐธรรมนูญไทยและกฎหมายสากล
ผู้พิพากษาได้กล่าวอีกว่า รัฐบาลไทยพยายามที่จะทำให้พระอาจารย์ยันตระ หยุดพูดและสึกท่าน เพราะความมีชื่อเสียงของท่านในประเทศไทย ตลอดจนการพูดถึงเรื่องการคอรัปชั่น การติดสินบน การค้ายา และธุรกิจทางเพศ
ผู้พิพากษายังได้กล่าวอีกว่าถึงแม้พระอาจารย์ยันตระ จะหนีออกจากประเทศไทยด้วยความห่วงใยในชีวิตของตนในเดือน กรกฎาคม 1995 รัฐบาลไทยก็ยังพยายามประสานและร่วมมือกับรัฐบาลอเมริกันในการล่าตัวท่านเพื่อส่งกลับ ประเทศไทย รัฐบาลอเมริกันยังได้แนะนำรัฐบาลไทยให้เก็บความพยายามเหล่านี้เป็น “ความลับ” เพื่อ “ป้องกันมิให้องค์กรทางด้านสิทธิ มนุษยชนเข้าเกี่ยวข้องด้วย” ซึ่งจะทำให้การทำงานลำบากขึ้น
ในเอกสารการติดต่ออย่างลับๆ ถึงรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซึ่งทนายความของพระอาจารย์ยันตระ ได้มาจากศาลสหรัฐนั้น รัฐบาลไทยได้แสดงออกอย่างชัดเจนว่า รัฐบาลไทยมีเจตนาที่จะขังพระอาจารย์ยันตระ หากท่านถูกส่งตัวกลับเมืองไทย โดยมิยอมให้ประกันตัว รัฐบาลไทยเสนอตัวที่จะส่งตำรวจไทยมาสหรัฐอเมริกาเพื่อจับกุม คุมขัง และนำตัวพระอาจารย์ยันตระ กลับประเทศไทย
หลักฐานในเอกสารอีกฉบับหนึ่งของรัฐบาลอเมริกันได้เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า รัฐบาลไทยยืนยันว่าพระอาจารย์ยันตระ จะต้องถูกส่งกลับเมืองไทยและต้องถูกคุมขัง โดยที่มิได้คำนึงถึงขั้นตอนทางกฎหมายที่ได้ทำกันไว้ในสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน อเมริกัน-ไทยเลย
ผู้พิพากษายังได้อ้างถึงเอกสารของรัฐบาลอเมริกันซึ่งรายงานว่า ในปี 1996 มีนักโทษจำนวนหนึ่งในคุกไทย ถูกทำร้ายร่างกาย และทรมานเพื่อให้สารภาพและบ้างก็ถูกฆ่า
ผู้พิพากษายังได้ชี้ลงไปอีกว่า มีรายงานที่เชื่อถือได้ระบุว่า เจ้าหน้าที่รัฐบาลไทยบางคนก็ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจการที่ ผิดกฎหมายซึ่งพระอาจารย์ยันตระ ได้กล่าวไว้อย่างตรงไปตรงมาในการแสดงธรรมของท่านหลายๆ ครั้ง และกลุ่มคนเหล่านี้เองที่ได้ทำการกล่าวหา ให้ร้ายพระอาจารย์ยันตระ ทางสื่อมวลชนไทยซ้ำแล้วซ้ำเล่าระหว่างปี 1995
ผู้พิพากษายังได้ชี้ลงไปอีกว่า น้ำหนักของหลักฐานที่ใช้กล่าวหาว่าพระอาจารย์ยันตระ ได้ละเมิดพรหมจรรย์แห่งความเป็นพระ เป็นหลักฐานที่ไร้มูล และข้อกล่าวหาเหล่านี้อาจจะได้รับการเสกสรรปั้นแต่งขึ้นโดยเจ้าหน้าที่รัฐบาลบางคนที่ต้องการทำลายพระอาจารย์ยันตระ และศาลสงฆ์ก็ได้ตัดสินแล้วว่าพระอาจารย์ยันตระ มิได้มีความผิดในข้อกล่าวหาที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดพรหมจรรย์
ผู้พิพากษายังได้ให้ความเห็นอีกว่าการไต่สวนของศาลสงฆ์เป็นไปตามขั้นตอนที่ควรจะเป็น ผู้พิพากษาได้อ้างถึงรายงานของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือว่า สื่อมวลชนส่วนหนึ่งถูกควบคุมโดยรัฐบาลไทย สื่อมวลชนไทยได้ประโคมข่าวข้อกล่าวเรื่องการละเมิดพรหมจรรย์ของพระอาจารย์ยันตระ อย่างหนักหน่วง เป็นเวลามากกว่าหนี่งปี ติดต่อกัน
ด้วยการขอร้องจากรัฐบาลไทย เมื่อประมาณปีที่แล้ว รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ฟ้องพระอาจารย์ยันตระด้วยข้อกล่าวหาทางอาญาที่ร้ายแรง รัฐบาลไทยได้อ้างว่า เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 1996 ที่พระอาจารย์ยันตระเข้ารายงานตัว ณ สถานีตำรวจ แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครฯ อันเนื่องมาจากการที่มีผู้ร้องทุกข์ว่า พระอาจารย์ยันตระได้ดูหมิ่นเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ทราบนาม
และในวันนั้นเอง พระอาจารย์ยันตระถูก “จับ” ในแบบฟอร์มที่พระอาจารย์ยันตระกรอกให้กับหน่วยงานเข้าเมืองของอเมริกา หลังจากที่ท่านเข้ามายังประเทศอเมริกาแล้ว ท่านได้กรอกว่าท่านไม่เคยถูกจับในประเทศไทย เป็นเพียงการเข้ารายงานตัวเท่านั้น วันที่ 17 มิถุนายน 1997
สองวันก่อนที่ผู้พิพากษาจะประกาศคำพิพากษาให้สถานภาพลี้ภัยทางการเมืองแก่พระอาจารย์ยันตระ รัฐบาลอเมริกันได้ยกเลิกข้อกล่าวหาทั้งหมดที่กล่าวหาว่าท่านโกหกในแบบฟอร์มเอกสารเข้าเมือง
พระอาจารย์ยันตระได้ยอมรับความผิดที่ได้ละเมิดกฎหมายทางเทคนิคเล็กน้อย ว่าท่านมีพาสปอร์ตเขมรที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไว้ในครอบครอง พาสปอร์ตเขมรนี้มีผู้ถวายท่านเมื่อประมาณเดือนกรกฎาคม 1995 เพื่อหนีออกจากประเทศไทย แต่ท่านก็มิได้ใช้พาสปอร์ตฉบับนี้ (ท่านออกจากประเทศไทยโดยใช้พาสปอร์ตไทย)
รัฐบาลอเมริกันได้ตกลงต่อหน้าศาลว่า ความผิดนี้เป็นเพียงการละเมิดกฎหมายทางเทคนิคและโทษของพระอาจารย์ยันตระ คือการสอนพุทธศาสนาเป็นเวลา 300 ชั่วโมง อันเป็นกิจกรรมที่ท่านมีความสุขที่จะทำ
หลังจากที่ผู้พิพากษาได้ตัดสินใจให้สถานภาพลี้ภัยทางการเมืองในประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วนั้น พระอาจารย์ยันตระ ได้กล่าวแก่ผู้สนับสนุนและสื่อมวลชนว่า
“อาตมามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งสำหรับการตัดสินใจของศาลสถิตย์ยุติธรรมประเทศสหรัฐอเมริกา อาตมาหวังว่าจะสามารถเดินทางเผยแพร่พระพุทธศาสนาและการปฏิบัติภาวนาไปทั่วโลกในเวลาอีกไม่นานนัก อาตนาคิดถึงผู้ติดตามอาตมาในประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง และคิดถึงพวกเขาตลอดเวลา
อาตมาให้อโหสิแก่ผู้ที่ต้องการกำจัดอาตมา คนเหล่านั้นถูกชักจูงให้เข้าใจอาตมาผิด และวันหนึ่งข้างหน้าคนเหล่านี้คงจะมีกำลังที่จะเผชิญกับความเป็นจริงที่ว่า อาตมา เป็นพระที่ต้องการเพียงเผยแพร่หนทางแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่งเสริมให้เกิดสันติภาพ ส่งเสริมให้เกิดความสามัคคี กลมเกลียว และต้องการให้ประเทศของอาตมาไร้ซึ่งคอรับชั้น และกิจกรรมที่ผิดกฎหมายและเบียดเบียนผู้อื่นทั้งปวง
อาตมารักคนไทยทั้งมวลและรักประเทศของอาตมา เมื่อใดก็ตามที่เวลามาถึงและผู้ที่ต้องการกำจัดอาตมามิได้อยู่ในอำนาจอีกต่อไป อาตมาจะกลับประเทศไทย ที่ซึ่งดวงใจของอาตมาสถิตย์อยู่ตลอดเวลา แม้นว่าอาตมาจะกล่าวถ้อยคำเหล่านี้ในดินแดนที่ห่างไกล ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาก็ตาม”
ปีเตอร์ เชย์ ทนายความสิทธิมนุษยชนอเมริกันของพระอาจารย์ยันตระได้กล่าวหลังจากที่ศาลได้ ประกาศคำพิพากษา แล้วว่า
“พระอาจารย์ยันตระ ได้ชัยชนะอันยิ่งใหญ่ในศาลสถิตย์ยุติธรรมของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นไปด้วย ความยุติธรรม และไม่เข้าข้างใคร
เจ้าหน้าที่รัฐบาลไทยที่พยายามจะทำลายพระอาจารย์ยันตระ ควรจะได้รับการพิจารณาโทษต่อหน้าศาลไทย ถึงความผิดที่พวกเขาได้กระทำ การกระทำของพวกเขานำความอัปยศอดสูมาสู่ประเทศไทย
พวกเขาทำให้ ภาพพจน์ของประเทศไทยเสียหายในสายตาของชาวอเมริกันและประชาชนทั่วโลกที่ทราบการกระทำที่ชั่วร้ายของพวกเขาเหล่านั้น
พระอาจารย์ยันตระ เป็นบุคคลแห่งสันติ และเมตตา ท่านควรจะได้รับการสรรเสริญที่กล้ากล่าวถึงความไม่เป็นธรรมในสังคมอย่างตรงไปตรงมา มิใช่การถูกกำจัด กลั่นแกล้ง ดังเช่นที่เป็นมา
ปัจจุบันพระอาจารย์ยันตระ ได้มีอิสระภาพอีกครั้งหนึ่ง ในการเผยแพร่พุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งที่ท่านรักที่จะทำและท่านก็ทำได้อย่างดียิ่ง
อย่างไรก็ตามสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของท่านก็ยังถูกละเมิดอยู่เสมอตราบเท่าที่ท่านยังไม่สามารถกลับประเทศไทยได้ โดยไม่ต้องหวาดกลัวว่าจะต้องถูกจับเข้าคุกในข้อหาที่เสกสรรปั้นแต่งขึ้นมาว่า
พระอาจารย์ยันตระ “ดูหมิ่นเจ้าหน้าที่รัฐบาลไม่ทราบนาม” หรือ “ดูหมิ่นสมเด็จพระสังฆราช” ผู้ซึ่งไม่เคยตรัสเองเลยว่าพระองค์ทรงถูกดูหมิ่นจากคำแถลงต่อหน้าสาธารณชนของพระอาจารย์ยันตระ
นับแต่นี้ไปควรจะเป็นเวลาของการปรองดองกัน มิใช่ทำการกลั่นแกล้ง กำจัดพระอาจารย์ยันตระต่อไปอีก การกระทำดังกล่าวละเมิดทั้งกฎหมายสิทธิมนุษยชนสากล และสิทธิขั้นพื้นฐานในการแสดงออกของพระอาจารย์ยันตระ"
สาธุ..
ตอบลบสาธุ..
ตอบลบ