หลักฐานชัดเจน มีทั้งพยาน มีทั้งการกระทำผิด ที่ยืนยันได้ว่าเป็นคนร้ายอย่างชัดเจน
ในตำรากฎหมายจีนยุคโบราณ กล่าวว่า "ชีวิตคนสำคัญดุจฟ้า"
1. มีหลักฐาน แต่ไม่มีคนร้าย ก็สั่งฟ้องไม่ได้
2. มีคนร้าย แต่ไม่มีหลักฐาน ก็สั่งฟ้องไม่ได้
3. มีหลักฐาน มีคนร้าย แต่พิสูจน์ความผิดไม่ได้ ก็สั่งฟ้องไม่ได้
ซึ่งหลักการดังกล่าวก็ตรงกับหลักการสอบสวนอาญา ที่ร่ำเรียนกันมาในตำรากฎหมายอาญาในประเทศไทย ว่าชีวิตคน ถ้าเขาไม่มีความผิด จะจับไปติดคุกไม่ได้ แต่ที่เราเห็นกันทุกวันนี้คือ ถ้าเป็นคนใหญ่คนโต ถึงแม้มีทั้งหลักฐาน มีทั้งพยาน มีทั้งการกระทำผิด ที่ยืนยันได้ว่าเป็นคนร้ายอย่างชัดเจน
กลับไม่โดนข้อหา ไม่โดนหมายจับ ไม่โดนดำเนินคดี แถมยังได้รับการเชิดชูเกียรติในสังคมอีกด้วย
ในขณะที่ญาติโยมจัดรถตู้รับส่งพระสงฆ์ไปปฏิบัติศาสนกิจ ทำไมถึงโดนตั้งข้อหาอั้งยี่และซ่องโจร ซึ่งเป็นข้อหาภัยต่อความมั่นคงของชาติ (เอาอะไรคิด)
ยิ่งหากดูจากความถูกต้องของหลักการสอบสวนอาญาแล้ว จะพบว่า มีความไม่ถูกต้องเกิดขึ้นมากมาย
อาทิเช่น
1. ไม่มีกฎหมายห้ามนิมนต์พระสงฆ์นั่งรถตู้
2. ไม่มีพฤติกรรมแห่งอั้งยี่ซ่องโจร
3. หลักฐานที่เชื่อมโยงกับข้อหาก็ไม่มี
4. มูลเหตุจูงใจให้กระทำความผิดก็ไม่มี
5. องค์ประกอบของข้อหาก็ไม่มีสักข้อ
6. ไม่มีพยานที่น่าเชื่อถือ
7. ไม่มีผู้ร้องทุกข์หรือผู้เสียหาย
8. ไม่มีข้อสงสัยใดที่ควรแก่การใช้กล่าวหาได้
2. ไม่มีพฤติกรรมแห่งอั้งยี่ซ่องโจร
3. หลักฐานที่เชื่อมโยงกับข้อหาก็ไม่มี
4. มูลเหตุจูงใจให้กระทำความผิดก็ไม่มี
5. องค์ประกอบของข้อหาก็ไม่มีสักข้อ
6. ไม่มีพยานที่น่าเชื่อถือ
7. ไม่มีผู้ร้องทุกข์หรือผู้เสียหาย
8. ไม่มีข้อสงสัยใดที่ควรแก่การใช้กล่าวหาได้
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ประชาชนถูกเจ้าหน้าที่รัฐ กล่าวหาเอาตามใจชอบ กล่าวหาได้อย่างลอยๆ
ไร้หลักฐาน ไร้พยาน ไร้ข้อกฎหมายรองรับ และทำผิดระเบียบข้ามขั้นตอนการออกหมายเรียก ไปเป็นการออกหมายจับเลย โดยที่ประชาชน ยังไม่รู้ตัวเลยว่าตนเองตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาตั้งแต่เมื่อใด
ไร้หลักฐาน ไร้พยาน ไร้ข้อกฎหมายรองรับ และทำผิดระเบียบข้ามขั้นตอนการออกหมายเรียก ไปเป็นการออกหมายจับเลย โดยที่ประชาชน ยังไม่รู้ตัวเลยว่าตนเองตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาตั้งแต่เมื่อใด
คำถามก็คือเมื่อระบบการบริหารราชการแผ่นดินเป็นแบบนี้ จะให้ประชาชนรู้สึกถึงความปลอดภัยในชีวิตได้อย่างไร ทำไมชีวิตของประชาชนจึงมีค่าน้อยกว่าเจ้าหน้าที่รัฐเหลือเกิน
Cr : Ptt Cnkr
ไม่มีความคิดเห็น