พุทธลักษณะ
พระพุทธรูปที่ประดิษฐานรายรอบพระมาลาเบี่ยงประกอบด้วยพระพุทธรูปในสองอิริยาบถคือ พระพุทธรูปประทับยืน** และพระพุทธรูปประทับนั่ง** พระพุทธรูปประทับยืนเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง พระพักตร์ค่อนข้างกลม แย้มสรวล ทรงศิราภรณ์เป็นชฎามุกุฏซ้อนกันสามชั้น ทรงกุณฑลรูปตุ้ม ประทับยืนตรงแสดงอภัยมุทราด้วยพระหัตถ์ทั้งสอง ทรงกรองศอ พาหุรัด ทองกร และทองพระบาทจำหลักลาย รัดประคดประดับเครื่องเพชรพลอย มีอุบะขนาดสั้นห้อยประดับกับทั้งมีชายภูษารูปหางปลาห้อยย้อยลงมาเบื้องหน้าทับบนอันตรวาสก
สำหรับพระพุทธรูปประทับนั่งนั้น มีพระพักตร์คล้ายคลึงกับพระพุทธรูปประทับยืน ทรงศิราภรณ์และเครื่องอาภรณ์ละม้ายกับพระพุทธรูปประทับยืน เพียงลดรายละเอียดบางอย่างเช่น ความอลังการของชฎามุกุฏลงเป็นอาทิ พระพุทธรูปประทับนั่งเหล่านี้ครองอุตราสงค์ห่มเฉียง เปิดพระอังสาขวา ด้วยปรากฏขอบอุตราสงค์พาดผ่านพระอังสาซ้ายลงมาทางด้านขวา พระพุทธปฏิมาประทับนั่งทั้งหมดประทับนั่งในท่าวีราสนะ พระชงม์ขวาซ้อนเหนือพระชงฆ์ซ้าย แสดงธยานะมุทราพระหัตถ์ขวาซ้อนเหนือพระหัตถ์ซ้ายกับทั้งในพระหัตถ์นั้นมีสิ่งของบางอย่างทรงถืออยู่
ประวัติ
พระพุทธรูปทองคำ ๒๑ องค์* รายรอบพระมาลาเบี่ยงนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ รับสั่งว่า คนทอดแหได้พบพระพุทธรูปดังกล่าวในลำน้ำมูล แขวงเมืองนครราชสีมา ต่อมาพระยานครราชสีมานำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้อัญเชิญพระพุทธรูปเหล่านี้ประดิษฐานรอบพระมาลาเบี่ยงที่ทรงสร้างขึ้น
สำหรับลักษณะทางประติมานวิทยาเชื่อว่า พระพุทธรูปประทับนั่งซึ่งถือวัตถุบางอย่างซึ่งอาจได้แก่หม้อน้ำมนต์ไว้ในพระหัตถ์นี้ อาจหมายถึงพระพุทธเจ้าไภษัชคุรุไวฑูรยประภาอันมีความหมายถึง พระพุทธเจ้าผู้มีแสงสว่างประดุจแก้วไพฑูรย์ผู้เป็นพระพุทธเจ้าที่ทรงรักษาโรคภัยไข้เจ็บทั้งปวง ความนิยมนับถือพระพุทธเจ้าองค์นี้เจริญสูงสุดในรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ มหาราชองค์สุดท้ายของราชอาณาจักรเขมรในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ด้วยเหตุที่ศิลาจารึกในรัชกาลของพระองค์กล่าวว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสร้างอโรคยาศาลาเหล่านี้คงสร้างขึ้นทั้งในประเทศกัมพูชาและในดินแดนของราชอาณาจักรไทยในปัจจุบัน
อโรคยศาลานี้ได้อุทิศถวายพระพุทธเจ้าไภษัชคุรุไวฑูรยประภาทั้งสิ้น
*ในหนังสือสาส์นสมเด็จ พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ กับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ระบุจำนวนพระพุทธรูปรอบมาลาเบี่ยงว่ามี ๒๘ พระองค์
**ยึดรูปแบบการสะกดตามที่ปรากฏในต้นฉบับ
ศ.ดร.ม.รว.สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์
พุทธลักษณะ
พระพุทธรูปที่ประดิษฐานรายรอบพระมาลาเบี่ยงประกอบด้วยพระพุทธรูปในสองอิริยาบถคือ พระพุทธรูปประทับยืน** และพระพุทธรูปประทับนั่ง** พระพุทธรูปประทับยืนเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง พระพักตร์ค่อนข้างกลม แย้มสรวล ทรงศิราภรณ์เป็นชฎามุกุฏซ้อนกันสามชั้น ทรงกุณฑลรูปตุ้ม ประทับยืนตรงแสดงอภัยมุทราด้วยพระหัตถ์ทั้งสอง ทรงกรองศอ พาหุรัด ทองกร และทองพระบาทจำหลักลาย รัดประคดประดับเครื่องเพชรพลอย มีอุบะขนาดสั้นห้อยประดับกับทั้งมีชายภูษารูปหางปลาห้อยย้อยลงมาเบื้องหน้าทับบนอันตรวาสก
สำหรับพระพุทธรูปประทับนั่งนั้น มีพระพักตร์คล้ายคลึงกับพระพุทธรูปประทับยืน ทรงศิราภรณ์และเครื่องอาภรณ์ละม้ายกับพระพุทธรูปประทับยืน เพียงลดรายละเอียดบางอย่างเช่น ความอลังการของชฎามุกุฏลงเป็นอาทิ พระพุทธรูปประทับนั่งเหล่านี้ครองอุตราสงค์ห่มเฉียง เปิดพระอังสาขวา ด้วยปรากฏขอบอุตราสงค์พาดผ่านพระอังสาซ้ายลงมาทางด้านขวา พระพุทธปฏิมาประทับนั่งทั้งหมดประทับนั่งในท่าวีราสนะ พระชงม์ขวาซ้อนเหนือพระชงฆ์ซ้าย แสดงธยานะมุทราพระหัตถ์ขวาซ้อนเหนือพระหัตถ์ซ้ายกับทั้งในพระหัตถ์นั้นมีสิ่งของบางอย่างทรงถืออยู่
ประวัติ
พระพุทธรูปทองคำ ๒๑ องค์* รายรอบพระมาลาเบี่ยงนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ รับสั่งว่า คนทอดแหได้พบพระพุทธรูปดังกล่าวในลำน้ำมูล แขวงเมืองนครราชสีมา ต่อมาพระยานครราชสีมานำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้อัญเชิญพระพุทธรูปเหล่านี้ประดิษฐานรอบพระมาลาเบี่ยงที่ทรงสร้างขึ้น
สำหรับลักษณะทางประติมานวิทยาเชื่อว่า พระพุทธรูปประทับนั่งซึ่งถือวัตถุบางอย่างซึ่งอาจได้แก่หม้อน้ำมนต์ไว้ในพระหัตถ์นี้ อาจหมายถึงพระพุทธเจ้าไภษัชคุรุไวฑูรยประภาอันมีความหมายถึง พระพุทธเจ้าผู้มีแสงสว่างประดุจแก้วไพฑูรย์ผู้เป็นพระพุทธเจ้าที่ทรงรักษาโรคภัยไข้เจ็บทั้งปวง ความนิยมนับถือพระพุทธเจ้าองค์นี้เจริญสูงสุดในรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ มหาราชองค์สุดท้ายของราชอาณาจักรเขมรในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ด้วยเหตุที่ศิลาจารึกในรัชกาลของพระองค์กล่าวว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสร้างอโรคยาศาลาเหล่านี้คงสร้างขึ้นทั้งในประเทศกัมพูชาและในดินแดนของราชอาณาจักรไทยในปัจจุบัน
สำหรับลักษณะทางประติมานวิทยาเชื่อว่า พระพุทธรูปประทับนั่งซึ่งถือวัตถุบางอย่างซึ่งอาจได้แก่หม้อน้ำมนต์ไว้ในพระหัตถ์นี้ อาจหมายถึงพระพุทธเจ้าไภษัชคุรุไวฑูรยประภาอันมีความหมายถึง พระพุทธเจ้าผู้มีแสงสว่างประดุจแก้วไพฑูรย์ผู้เป็นพระพุทธเจ้าที่ทรงรักษาโรคภัยไข้เจ็บทั้งปวง ความนิยมนับถือพระพุทธเจ้าองค์นี้เจริญสูงสุดในรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ มหาราชองค์สุดท้ายของราชอาณาจักรเขมรในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ด้วยเหตุที่ศิลาจารึกในรัชกาลของพระองค์กล่าวว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสร้างอโรคยาศาลาเหล่านี้คงสร้างขึ้นทั้งในประเทศกัมพูชาและในดินแดนของราชอาณาจักรไทยในปัจจุบัน
อโรคยศาลานี้ได้อุทิศถวายพระพุทธเจ้าไภษัชคุรุไวฑูรยประภาทั้งสิ้น
*ในหนังสือสาส์นสมเด็จ พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ กับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ระบุจำนวนพระพุทธรูปรอบมาลาเบี่ยงว่ามี ๒๘ พระองค์
**ยึดรูปแบบการสะกดตามที่ปรากฏในต้นฉบับ
ศ.ดร.ม.รว.สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์
ไม่มีความคิดเห็น