ปัญหาเรื่องพระกับเงิน พูดกันให้มันจบ ตอนที่ ๑
@ ช่วงนี้อดที่จะนำเรื่องที่กำลังเป็นปัญหาอยู่ กำลังถกเถียงกันอยู่มาเขียนไม่ได้ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ฮอตมากผมเห็นมีแต่ผู้รู้ทั้งหลายออกมาถกกันหลายฝ่ายทั้งที่เป็น
(๑) ผู้รู้ฝ่ายญาติโยม
(๒) ผู้รู้ฝ่ายพระสงฆ์ เกี่ยวกับ เรื่องพระกับการจับเงินจับทอง
(๒) ผู้รู้ฝ่ายพระสงฆ์ เกี่ยวกับ เรื่องพระกับการจับเงินจับทอง
ซึ่งผมว่ามันค่อนข้างแปลกที่คนที่
(๑) ออกมาพูดเรื่องพระกับเงิน
(๒) กระวีกระวาดที่จะปฏิรูปเรื่องพระกับเงิน
(๒) กระวีกระวาดที่จะปฏิรูปเรื่องพระกับเงิน
กลับเป็นฆราวาสที่ไม่ใช่สงฆ์ และฆราวาสเหล่านี้ ไม่เข้าใจบทบาทของตัวเองทางด้านพระธรรมวินัยเลย ทำอะไรเกินหน้าที่ของฆราวาส คือเข้าไปยุ่มย่ามเรื่องพระเรื่องเจ้ามมากเกินไป
@ บทบาทของชาวบ้านต่อพระธรรมวินัยตามแนวทางพระไตรปิฎก ?
@ ที่ผมตั้งคำถามแบบนี้ก่อนที่จะพูดถึงเรื่องของพระกับเงินหรือพระกับเรื่องอื่นๆก็คือ ผมอยากจะชี้แจงว่า บทบาทของอุบาสกอุบาสิกาในพระพุทธศาสนาที่มีต่อพระธรรมวินัยนั้น คืออะไร เพราะผมเห็นว่า
มันมีเส้นบางๆอยู่ถ้าฆราวาสหรือชาวบ้านไม่เข้าใจบทบทของตนเองแล้วไปยุ่งเรื่องพระมากเกินหน้าที่ตัวเองแล้วจะทำให้บทบาทของพระก็เสีย บทบาทโยมก็เสีย ถามว่าบทบาทของโยมในพระธรรมวินัยนี้คืออะไร บทบาทของฆราวาสในพระธรรมวินัย คือ
(๑) ตั้งอยู่บนศรัทธา
(๒)ให้ทานรักษาศีลและเจริญภาวนา
(๓) ศึกษาพระธรรมวินัยอย่างถ่องแท้
(๔) ให้การอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาก็คือพระเจ้าพระสงฆ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
(๕) มีเมตตาตั้งอยู่ความปรารถนาดีเมื่อพบว่ามีเรื่องที่พระสงฆ์ทำไม่ดีไม่งามก็โพนทะนาและนำเรื่องไปแจ้งแก่สงฆ์เพื่อให้สงฆ์ท่านแก้ไขให้ถูกต้อง
(๖) ปรับปวาท คือกล่าวแก้ไขเรื่องราวหรือคนที่เข้ามากล่าวร้ายให้ร้ายพระสงฆ์หรือพระพุทธศาสนา
@ สำหรับข้อสรุปของบทบาทของชาวบ้านที่มีในกรณีการกระทำผิดพระวินัยของพระสงฆ์ก็คือ
(๑) โพนทะนาเรื่องที่พระสงฆ์ทำไม่ถูก
(๒) แจ้งเรื่องราวนั้นแก่สงฆ์
สองข้อนี้เป็นบทบาทที่ชาวพุทธทั่วไปควรมีต่อสงฆ์หรือคณะสงฆ์ คือต้องทำหน้าที่ที่ควรทำในเบื้องต้นนี้ก่อนคือ การตักเตือนด้วยความมีเมตตาทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ และการแจ้งเรื่องราวนั้นให้คณะสงฆ์ทราบ ผมว่า ๒ ข้อนี่แหละคือบทบาทของชาวบ้านที่จะแสดงออกต่อปัญหาของพระสงฆ์ได้ เมื่อคณะสงฆ์ทราบเรื่องแล้วต่อไปท่านจะดำเนินการของท่านเองตามบทบัญญัติพระวินัย
เราชาวบ้านไม่มีสิทธิ์ที่จะเข้าไปยุ่มย่ามมากมาย หากเข้าไปเจ้ากี้เจ้าการมากเกินไปก็เสียหลักของความเป็นชาวพุทธที่ดี เผลอๆตกนรกเพราะความผิดของการพยายามที่จะเข้าไปทำลายสงฆ์ด้วย เพราะเรื่องของสงฆ์ เป็นเรื่องที่สงฆ์ควรจัดการของท่านเอง
เพราะท่านรู้เรื่องมีขั้นตอนของท่านเอง แต่ถ้าหากท่านไม่ทำก็แสดงว่าท่านพระเจ้าพระสงฆ์เองละเลยไม่เอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัยเอง อันนั้นแหละคือปัญหาที่เกิดเพราะท่านทำตัวของท่านเอง ในพระไตรปิฎกบทบาทของชาวบ้านมีเพียงเท่านี้นะครับ เช่น กรณีที่มีพระทำความผิดเช่น แก้ผ้าอาบน้ำในวัดเวลาญาติโยมผู้หญิงเข้ามาทำบุญมันอุดจาดตา ญาติโยมผู้หญิง
เมื่อมีเรื่องนี้เกิดขึ้นญาติโยมที่พบเห็นคือโดยนางวิสาขาก็เป็นตัวแทนไปกราบทูลเรื่องนี้แด่พระพุทธเจ้า พระองค์ก็จะประชุมสงฆ์จัดการออกบทบัญญัติให้กับสงฆ์ว่าห้ามไม่ให้เปลือยกายอาบน้ำนะ ใครเปลือยกายอาบน้ำต้องอาบัติปาจิตตีย์ นี่ไงครับบทบาทของชาวบ้าน เรามีสิทธิ์แค่
(๑) ความความผิดให้เตือน(โพนทะนา)
(๒) เมื่อเห็นว่าเรื่องนั้นยังไม่ได้รับการแก้ไขก็ให้เข้าไปแจ้งแก่ผู้เป็นผู้นำของพระสงฆ์หรือตัวแทนสงฆ์เพื่อให้ท่านออกกฏระเบียบหรือปรับปรุงแก้ไขเรื่องนั้นเป็นเรื่องๆไป
ไม่ใช่ว่า (๑) โพนทะนาเรื่องนั้นทางสื่อโซเซียลเต็มที่ จากนั้น (๒) กูก็จะอาสาเข้ามาแก้ไขเรื่องนั้นเอง หรือจะออกกฎหมายหรือระเบียบโดยอ้างพระวินัยนั้นมาปรับใช้หรือมาบังคับให้พระสงฆ์ใช้ ซึ่งผมว่านั้น “มันเป็นการทำเกินหน้าที่ของชาวบ้าน” นั่นมันจะเป็นการทำลายสงฆ์หรือก้าวก่ายหน้าที่ของสงฆ์ มันจะตกนรกเอานะครับ
@ ต่อกรณีเหตุการณ์ในปัจจุบันนี้ ผมมีคำถามก็คือ กลุ่มชาวบ้านที่อาสาเข้ามาปฏิรูปพระพุทธศาสนา (นำโดยกลุ่มปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาที่พากันตั้งพรรคการเมืองที่โชว์นโยบายปฏิรูปพระพุทธศาสนา)ที่จะอาสาเข้ามาปฏิรูปพระพุทธศาสนาและทำการเปลี่ยนแปลงข้อวัตรปฏิบัติของพระอยู่นี้ทำหน้าที่เกินเลยความเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีหรือเปล่า ?
คำตอบคือ กลุ่มนี้
(๑) ทำเกินเลยหน้าที่
(๒)ไม่เคารพมติหรือธรรมเนียมปฏิบัติของคณะสงฆ์
(๓) มุ่งเบียดเบียนพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนามากเกินไป
(๒)ไม่เคารพมติหรือธรรมเนียมปฏิบัติของคณะสงฆ์
(๓) มุ่งเบียดเบียนพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนามากเกินไป
ที่ผมพูดมานี้ก็ว่ากันตามหลักฐานที่มีนะครับ ถ้าท่านจะตอบว่า
(๑) ท่านไม่ได้ทำเกินหน้าที่ก็ไปหาหลักฐานมา และ
(๒) ท่านไม่ได้ไม่เคารพมติสงฆ์หรือท่านได้แจ้งแล้วแต่สงฆ์ไม่ได้ทำตาม ก็หาหลักฐานมา เอาให้เป้งๆตรงเป๊ะๆนะครับ
(๒) ท่านไม่ได้ไม่เคารพมติสงฆ์หรือท่านได้แจ้งแล้วแต่สงฆ์ไม่ได้ทำตาม ก็หาหลักฐานมา เอาให้เป้งๆตรงเป๊ะๆนะครับ
แต่ถามว่าท่านทำหรือยัง เพราะตามธรรมเนียมของพระพุทธศาสนาเถรวาท “สงฆ์” เป็นใหญ่ในการปกครองนะครับ
@ เถรวาท : สงฆ์เป็นใหญ่ในการปกครองอย่างไร ?
ในสมัยพุทธกาลเมื่อว่ากันตามหลักฐานนั้น พระพุทธองค์ทรงดำเนินการปกครองแบบผ่อนปรนมาโดยตลอดการปกครองคณะสงฆ์นั้นทรงผ่อนปรนมาอย่างไร ? กล่าวคือ
(๑) ระยะแรกทรงปกครองด้วยพุทธานุภาพของพระองค์เองเรียกว่า เป็นแบบพุทธาธิปไตย
(๒) ระยะที่สองทรงมอบอำนาจการบริหารจัดการบางอย่าง เช่นการบวชให้พระสาวกรูปสำคัญเป็นคนตัดสินใจแทน หรือบริหารแทนเพราะคำว่าการบริหารก็คืออำนาจในการตัดสินใจนั่นเอง เราเรียกการปกครองระยะนี้ว่าเป็นแบบสาวกาธิปไตย
(๓) ระยะที่สามทรงมอบอำนาจการปกครอง การบริหารและการตัดสินใจให้กับสงฆ์ คือให้ทรงเป็นใหญ่ เรียกว่าเป็นการปกครองแบบสังฆาธิปไตย และทรงให้ยึดการปกครองแบบที่ ๓ นี้เรื่อยมาจนพระองค์ปรินิพพาน และเพื่อให้เข้าใจในเรื่องการปกครองโดยคณะสงฆ์นี้เป็นอย่างไรก็ขอให้อ่านข้อมูลนี้ก่อนครับ
(ก) หลักการปกครองโดยมอบให้สงฆ์เป็นใหญ่
สำหรับหลักการปกครองโดยให้ทรงเป็นใหญ่นี้ก็คือหลังจากพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้จนทรงตัดสินพระทัยแสดงธรรมโปรดชาวโลก และมีกุลบุตรจากตระกูลต่างๆ ออกบวชบรรลุธรรมจำนวนมากรวมเป็นคณะสงฆ์แล้ว พระพุทธองค์ได้ทรงมอบพระพุทธศาสนาไว้กับพุทธบริษัทให้ช่วยกันปกครองรับผิดชอบ ดูแล ธำรงรักษา พร้อมทั้งขจัดปัดเป่าภัยกันเอง
จึงทรงมอบให้สงฆ์เป็นใหญ่ในการบริหารตั้งแต่สมัยพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ โดยให้สงฆ์เป็นผู้คัดเลือกกุลบุตรที่เข้ามาขอบวช (วิ.ม. (ไทย) ๔/๓๔/๔๒-๔๓,๖๙-๗๓/๙๗-๑๐๒.)เมื่อมีสาวกที่ประพฤติเสียหาย พระองค์ก็ทรงชี้โทษที่ภิกษุกระทำอย่างนั้นแล้วทรงบัญญัติพระวินัยให้พระสาวกทั้งหลายรับปฏิบัติ (ดังปรากฏอยู่ในพระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑-๒-๓.)
พระพุทธองค์รับสั่งไม่ให้ภิกษุสงฆ์ยึดพระองค์เป็นหลักในการบริหารหมู่คณะ เพราะพระองค์ได้แสดงธรรมสำหรับที่ภิกษุสงฆ์จะใช้บริหารตนบริหารหมู่คณะไว้แก่สาวกทั้งหลายอย่างไม่ปิดบัง ทรงให้ภิกษุสงฆ์พึ่งตนเอง พึ่งธรรม (ที.ม. (ไทย) ๑๐/๑๖๕/๑๑๐.)
ทรงให้ตัดสินเรื่องที่เกิดขึ้นทางธรรมวินัยโดยใช้หลักมหาปเทส คือใช้พระธรรมวินัยเป็นเครื่องตัดสิน (ที.ม. (ไทย) ๑๐/๑๘๘/๑๓๔–๑๓๗.) ทรงให้ภิกษุสงฆ์เคารพกันโดยกล่าวทักกันด้วยความเคารพและทรงมอบความเป็นใหญ่ให้สงฆ์ เช่นทรงอนุญาตให้ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้ หากสงฆ์ปรารถนาจะถอน (ที.ม. (ไทย) ๑๐/๒๑๖/๑๖๕.)
หลังจากพระพุทธองค์ปรินิพพานแล้ว พระองค์มิได้ทรงตั้งพระองค์เป็นศูนย์อำนาจ ทางการปกครอง ทรงมอบอำนาจทั้งมวลให้แก่สงฆ์ดังพระดำรัสที่ปรากฏในมหาปรินิพพานสูตรว่า
อานนท์ ผู้ที่คิดว่าเราจักบริหารคณะสงฆ์ หรือคณะสงฆ์จะมีเราเป็นหลัก [ต้องอ้างเรา (ยกเรา)] เขาพึงเอาสงฆ์ไปอ้าง (เพื่อผลประโยชน์) แน่ะ อานนท์ ตถาคตไม่ได้คิดว่า จักบริหารคณะสงฆ์ หรือให้คณะสงฆ์ยึดตถาคตเป็นหลัก [ต้องอ้าง (ที่องค์พระตถาคต)] เคยมีสักครั้งไหม อานนท์ที่เราอ้างคณะสงฆ์ (หาประโยชน์) (ที.ม. (ไทย) ๑๐/๑๖๕/๑๑๐.)
ข้อที่พระพุทธองค์ตรัสว่า พระองค์ไม่ทรงมีพระดำริในการปกครองภิกษุสงฆ์ หมายความว่า ไม่ทรงใช้อำนาจของพระองค์เองบังคับบัญชาเป็นอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ หรือแบบเผด็จการ ส่วนที่ตรัสว่า ไม่ทรงหวังให้ภิกษุสงฆ์ยึดพระองค์เป็นหลัก เท่ากับทรงมอบอำนาจการตัดสินใจให้เป็นภาระของภิกษุสงฆ์ ไม่ต้องรอคำสั่งจากพระองค์
ดังที่ตรัสว่า “อานนท์ ขอให้พวกเธอปกครองตนเอง มีตนเองเป็นที่พึ่ง ปกครองกันโดยหลักการ มีหลักการ (ธรรมะ) เป็นที่พึ่ง” ตามนัยแห่งพระพุทธพจน์นี้ แสดงให้เห็นว่า การปกครองตนเองต้องอาศัยหลักการคือ พระธรรมวินัย
การปกครองสงฆ์ตามแนวทางของพระพุทธองค์ อำนาจการปกครองสงฆ์ทรงมอบให้สงฆ์เป็นใหญ่ แม้พระองค์เองก็ไม่ตรัสว่า จักบริหารสงฆ์ ไม่ทรงให้สงฆ์ยึดพระองค์เป็นหลัก เช่นคิดว่า ต่อไปนี้ไม่มีพระศาสดาแล้ว หมดสิ้นทุกอย่าง การปกครองตามแนวพุทธองค์ บุคคลเพียงเป็นผู้ทำหน้าที่ตามมติสงฆ์ หรือการอนุมัติของสงฆ์เท่านั้น ผมเห็นว่า การที่พระองค์ไม่ปกครองสงฆ์ ไม่บริหารสงฆ์ ก็เพราะทรงวางแบบอย่างไว้ดีแล้ว จึงมอบให้สงฆ์ปกครองกันเอง
(ข) พระธรรมวินัยเป็นศาสดาของพระสงฆ์และชาวพุทธทั้งมวล
ก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระองค์ได้มีรับสั่งกับพระอานนท์ให้แจ้งแก่ภิกษุสงฆ์ ไม่ให้พากันคิดว่า พระศาสดาจากพระธรรมวินัยไปแล้ว พระศาสดาไม่อยู่แล้ว แต่ให้คิดว่า พระธรรมวินัยที่พระศาสดาแสดงไว้แล้วบัญญัติไว้แล้วแก่ภิกษุสงฆ์นั้นจักอยู่เป็นศาสดาคือตัวแทนพระศาสดาของภิกษุสงฆ์เมื่อพระองค์ล่วงลับไป (ที.ม. (ไทย) ๑๐/๒๑๖/๑๖๔.)
พระธรรมวินัยที่พระพุทธองค์ทรงมอบไว้ให้เป็นพระศาสดานี้ คือ พระไตรปิฎก นิกาย ๕ นวังคสัตถุศาสน์ พระธรรมแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ พระธรรมวินัยทั้งหมดนั้น จะกระทำหน้าที่สั่งสอนแทนพระศาสดา (ตํ สกลมฺปิ วินยปิฏกํ … สุตฺตนฺตปิฏกํ … อภิธมฺมปิฏกํ มยิ ปรินิพฺพุเต ตุมฺหากํ สตฺถุ กิจฺจํ สาเธสฺสติ ใน ที.ม.อ. ๒/๒๑๖/๑๙๘–๑๙๙.)
ดังนั้น เมื่อยังมีพระธรรมวินัย ก็ถือว่าพระศาสดายังอยู่ เมื่อภิกษุสงฆ์ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ก็ถือว่าได้เข้าเฝ้ารับฟังคำสั่งสอนจากพระศาสดา เมื่อน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติตามสมควร ก็ย่อมได้รับผลตามสมควรแก่การประพฤติปฏิบัติ(พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) กรณีธรรมกาย,หน้า ๑๔)
พระธรรมวินัยนั้น ได้รับการทรงจำนำสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาแบบถือปฏิบัติหลักคำสอนเดิม ที่เรียกกันว่า ฝ่ายเถรวาท ได้รับคัมภีร์ที่บันทึก คำสั่งสอนนั้นมาบันทึกสืบต่อกันมาแล้วได้แปลสู่ภาษาของตน สั่งสอนศึกษาเล่าเรียนกันแล้ว น้อมนำมาประพฤติปฏิบัติตามสมควรแก่เพศภาวะของตน
@ เอาล่ะจากที่กล่าวมาทั้งหมดจะพบว่า พระพุทธศาสนาเป็นของชาวพุทธทุกคนก็จริงนะครับไม่มีใครเถียงหากจะอ้างแบบนั้น แต่ในรายละเอียดของการปกครองการบริหารและจัดการพระพุทธศาสนานั้น เป็นเรื่องที่มีบทบาทและหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นการเฉพาะอยู่
กล่าวคือหากเป็นเรื่องของสงฆ์ให้สงฆ์เป็นฝ่ายจัดการเรื่องนั้นๆ ชาวบ้านจะมีฐานะเป็นเพียงผู้แจ้งเรื่องราวแก่สงฆ์การจัดการเพื่อให้เรื่องนั้นเป็นเรื่องที่สงบจบลงได้ต้องเป็นหน้าที่ของพระไม่ใช่ที่ทำๆกันอยู่ตอนนี้ผมว่ามีผู้ที่อ้างเป็นชาวพุทธพยายามทำตัวเกินหน้าที่ เกินเลยรุกล้ำกก้าวล่วงไปจนถึงการเข้าไปกำหนดกฎเกณฑ์ให้กับพระสงฆ์
ผมว่าเป็นเรื่องที่เกินไป ความปรารถนาดีมีกันทุกคนแต่ความปรารถนาดีนั้นจะต้องมีทางออกที่ดีมีขั้นตอนการปฏิบัติที่ดี เหมาะสมและเป็นธรรมนะครับ วันนี้ผมจะมาเกริ่นนำเรื่องที่เป็น “ปัญหาเบื้องต้นก่ออนเพื่อปูทางให้ไปสู่การแสวงหาคำตอบเรื่องของการแก้ไขปัญหาว่าเราจะแก้ไขปัญหาเรื่องพระกับเงินๆทองอย่างไร
แต่ผมตอบให้เป็นเบื้องต้นก็ได้ว่าเรื่องปัญหาพระกับเงินแก้ไขได้ให้ตรงตามพระธรรมวินัยนั้นไม่ยากเพราะมีทางออกที่พระพุทธองค์ตรัสเรื่องนี้เอาไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ผมว่าค่อยๆศึกษาไปนะครับอย่าพึ่งใจร้อน เพราะเรื่องพระเรื่องเจ้าเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน
อย่าคิดว่าตอบตูมเดียวจบมันไม่ใช่เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องพระธรรมวินัยไม่ใช่เรื่องกฎหมายของคณะสงฆ์การเอาพระธรรมวินัยมาปนกับกฎหมายคณะสงฆ์ผมว่ามันยิ่งจะเละเทะไปใหญ่เรื่องพระธรรมวินัยก็ให้ว่าตามแนวทางของพระธรรมวินัย อย่าเอาเรื่องกฎหมายมาปน ไอ้พวกที่ไปออกทีวีนี่มันก็พูดไปเรื่อยเปื่อยมั่วซั่วกันไปหมด
ผมอยากให้ใจเย็นๆติดตามซีรี่ย์ที่ผมกำลังจะเขียนนี้ไปเรื่อยๆก่อนเดี๋ยวก็จะเข้าใจไปเองครับ ผมไม่ใช่แนวฮาร์ดคอร์ ยังไงก็ไม่ชกแบบบัวขาวเอามันส์เอาสะใจ แต่ต้องรวบรวมข้อมูลให้ดีก่อนแล้วค่อยว่ากันไปทีละประเด็นๆ ช้าๆแต่ให้ชัวร์ๆครับ
@ สรุปตอนท้ายวันนี้ผมต้องการที่จะให้รู้เรื่อง
(๑) ปัญหาเรื่องพระกับเงิน
(๒) บทบาทของชาวบ้านที่มีต่อเรื่องของพระธรรมวินัย โดยเฉพาะรื่อเงินๆทองนี้ ชาวบ้านมีหน้าที่เข้าไปเกี่ยวข้องมากน้อยแค่ไหน
(๓) เรื่องของพระธรรมวินัยเป็นเรื่องของสงฆ์เมื่อชาวบ้านแจ้งให้ท่านทราบแล้วต่อไปต้องเป็นหน้าที่ของคณะสงฆ์ที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัยเท่านั้น ไม่ใช่ว่าเราเป็นชาวบ้านจะเข้าไปรุกล้ำก้ำเกินคณะสงฆ์ท่านมาก
อย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้มันเป็นเรื่องของความเกินเลยของชาวบ้านบางกลุ่ม ที่ไปออกกฏระเบียบมาให้พระกำกับพระผมว่าการทำอย่างนี้เป็นการทำลายพระศาสนามากกว่าที่จะเป็นการรักษาพระศาสนาครับ
ครั้งต่อไปจะมาพูดเรื่องของ “อะไรคือปัญหาของพระธรรมวินัย และปัญหาพระธรรมวินัยนั้น จะแก้ไขอย่างไร รอติดตามอ่านต่อไปนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น