ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

กรณีของ ผอ. สำนักพุทธ ที่เป็นข่าว เข้าข่ายการใช้อำนาจนอกเหนือหน้าที่หรือไม่

กรณีของ ผอ. สำนักพุทธ ที่เป็นข่าว เข้าข่ายการใช้อำนาจนอกเหนือหน้าที่หรือไม่



"ใช้ตำแหน่งหน้าที่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย" แบบนี้ก็มีด้วย

ใครจะติดคุกระหว่าง ปลัด อบต Vs. ท้องถิ่นจังหวัด

ด้วยปรากฎว่า มีท้องถิ่นจังหวัดแห่งหนึ่งภาคอีสาน มีหนังสือด่วนที่สุดถึงนายก อบต. แจ้งให้ ปลัด อบต. ไปพบท้องถิ่นจังหวัดเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง กรณีที่ ปลัด อบต.วิจารย์อธิบดีกรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่นในกลุ่มไลน์ (รายละเอียดอ่านในหนังสือ) 

จากหนังสือนี้ ผู้เขียนมีข้อสังเกตในทางกฎหมายสั้นๆ ง่ายๆ ว่า

1. คุณเป็นใคร มีหน้าที่อะไร
-ท้องถิ่นจังหวัด/ท้องถิ่นอำเภอ ไม่มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแล อปท. คุณเป็นเพียงผู้ช่วยของนายอำเภอ/ผู้ว่าราชการจังหวัดในการกำกับดูแล
-ท้องถิ่นจังหวัด เป็นผู้บังคับบัญชาของนายก อบต /ปลัด อบต. หรือไม่
-ท้องถิ่นจังหวัดมีอำนาจตามกฎหมายอะไรออกหนังสือนี้

2.นายอำเภอ/ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจกำกับดูแลอะไร
-แม้ว่า หนังสือฉบับนี้จะออกโดยนายอำเภอ/ผู้ว่าฯ ก็ตาม แต่ก็มีอำนาจกำกับดูแลตามกฎหมายกำหนด คือ กำกับดูแลการกระทำตามภาระกิจหน้าที่ของ อปท. (หลักไม่มีการกำกับโดยไม่มีกฎหมาย และกำกับดูแลได้ตามที่กฎหมายกำหนด) นายอำเภอ/ผู้ว่าราชการ ไม่ได้มีหน้าที่กำกับดูแลพนักงานส่วนตำบลปลัด.อบต
- การวิจารณ์ อธิบดี สถ. ของปลัด อบต. ไม่ใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ แต่เป็นเรื่องส่วนตัว เป็นสิทธิของแต่ละบุคคล แล้วจะกำกับดูแลอะไร

3.ใครผู้เสียหาย
-หนังสือระบุว่า ปลัด.อบต.วิจารย์ อธิบดี สถ. เป็นการหมิ่นประมาท ตามมาตรา 326,328 ประมวลกฎหมาย ความผิดฐานนี้เป็นความผิดยอมความได้ ผู้เสียหายคือ อธิบดี ไม่ใช่ท้องถิ่นจังหวัด อ.สถ.ผู้เสียหายก็ต้องไปใช้สิทธิตามกระบวนกฎหมายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน/ฟ้องร้องคดีด้วยตนเอง
-ท้องถิ่นจังหวัดเป็นใคร จึงออกมากระทำแทนผู้เสียหาย (กระทำในตำแหน่งหน้าที่ ไม่ใช่รับมอบส่วนตัว)

4.ระบุข้อหาความผิด หลงยุค/ตกสมัย
-ความตามมาตรา 14(1) พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ได้มีการแก้ไขเมื่อปี 2560 เพิ่มคำว่า "โดยทุจริตหรือหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์...หรือข้อมูลความพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา"
-หนังสือระบุว่า เป็นนำข้อมูลอันเป็นเท็จสุ่ระบบคอมพิวเตอร์ ผิด มาตรา 14(1) ได้อ่าน พรบ.แก้ไขปี 2560 ก่อนออกหนังสือ หรือไม่ว่า ต้องมีองค์ประกอบ "โดยทุจริตหรือโดยหลอกหลวง" ด้วย

5.หนังสือเชิญ หรือ สั่งการเรียกให้มาพบ
-หัวเรื่องหนังสือระบุว่า เชิญพบ (เชิญคือ แล้วแต่สมัครใจ จะไปพบหรือไม่ก็ได้)
-เนื้อความในหนังสือระบุว่า ให้นายก อบต. ในฐานะผู้บังคับบัญชาแจ้งให้ ปลัด อบต.ไปพบท้องถิ่นจังหวัดเพื่อชี้แจง ถ้าไม่ไปจะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายทั้งแพ่ง อาญา และวินัย นี้เป็นการสั่งการให้ไปพบ ไม่ใช่แค่เชิญ

6.หนังสือเชิญของส่วนราชการ หรือ โนติสทนาย
- หนังสือระบุว่า ให้ปลัด อบต.ไปพบท้องถิ่นจังหวัดเพื่อชี้แจง ถ้าไม่ไปจะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายทั้งแพ่ง อาญา และวินัย
-นี้มันโนติสทนายชัดๆ

7.ท้องถิ่นจังหวัดมีอำนาจดำเนินการตามกฎหมายทางแพ่ง อาญา วินัย กับ ปลัด อบต. หรือไม่
-อำนาจดำเนินการทางแพ่ง อาญา เป็นอำนาจของผู้เสียหาย ท้องถิ่นจังหวัดเป็นใคร
-อำนาจดำเนินการทางวินัย เป็นอำนาจของนายก อบต. ท้องถิ่นจังหวัดไม่ใช่ผู้บังคับบัญชาของปลัด อบต. จะมีอำนาจอะไรไปดำเนินวินัยเขา

สรุป

หนังสือฉบับนี้ ทำในนามของผู้ดำรงตำแหน่งท้องถิ่นจังหวัด หน่วยงานออกหนังสือคือ สำนักงานท้องถิ่นจังหวัด จึงเป็นการกระทำการในตำแหน่งหน้าที่ แต่ใช้อำนาจในตำแหน่งนอกเหนือที่กฎหมายกำหนด (กระทำโดยปราศจากอำนาจ)

จุดจบ
งานนี้ ใครจะติดคุก


-หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา อัตราโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท เป็นความผิดอันยอมความได้ มีข้อยกเว้นอีกว่า ถ้าวิจารย์ด้วยความชอบธรรม โดยเฉพาะกับบุคคลสาธารณะ ก็ไม่มีความผิด (ขึ้นศาลจังหวัด)
-ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุุคคลอื่น ม.157 อัตราโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี (ขึ้นศาลอาญาทุจริต)

**แนะนำให้กลับไปอ่าน "ขอบเขตและความหมาย "ปฏิบัติหน้าที่" ตามมาตรา 157" แล้วจะเข้าใจความหมายคำว่า ใช้อำนาจในตำแหน่งปฏิบัตินอกเหนือหน้าที่*** ตามลิ้งค์นี้เลยนะครับ

https://m.facebook.com/DroitAdministrative/posts/583918418290739

https://m.facebook.com/DroitAdministrative/posts/720467054635874


Cr : หลักกฎหมายปกครองวันละเรื่อง

ไม่มีความคิดเห็น