ชุดที่ 1 ข้าวกล้อง ฟักทองผัดไข่ และแตงโม ฟักทอง
อุดมด้วยวิตามินเอช่วยบำรุงสายตาของเด็กวัยเรียน ซึ่งต้องจ้องจอไวท์บอร์ดหรือกระดานนาน และลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคทางตา นอกจากนี้ ไข่แดงยังมีลูทีน ซีแซนทีน ที่ปกป้องดวงตา ป้องกันการเสื่อมของจอประสาทตา
ชุดที่ 2 ข้าวสวย ต้มเลือดหมู ใส่หมูสับ ตับหมู ใบตำลึง และส้ม
ธาตุเหล็กจากเลือดและตับหมู ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และควรกินคู่กับผลไม้สดที่มีวิตามินซี เพื่อช่วยในการ ดูดซึมธาตุเหล็กให้ดียิ่งขึ้น
ชุดที่ 3 แซนวิชขนมปังโฮลวีททูน่าสลัดไข่
อุดมด้วยใยอาหารจากธัญพืชและผัก ไข่มีโปรตีน ปลาทูน่าอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 ช่วยบำรุงสมอง
ชุดที่ 4 โจ๊กหมูสับใส่ไข่ กับนม
โจ๊กมีคุณค่าอาหารครบถ้วน อุดมด้วยวิตามินอี และแกมมาออริซานอล ซึ่งเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนต์ ได้โปรตีนทั้งจากหมูและไข่ ขิง ต้นหอม ช่วยชูรสชาติและมีใยอาหาร
ชุดที่ 5 ข้าวผัดไก่ ต้มจืดไข่น้ำสาหร่าย แอปเปิล
เนื้อไก่นุ่มอร่อยมีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ รวมกับข้าวผัดไข่หอม ๆ เป็นแหล่งพลังงานชั้นดี ไข่น้ำ มีโปรตีน กินง่าย คล่องคอเหมาะกับมื้อเช้า สาหร่ายมีไอโอดีนซึ่งจำเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาสติปัญญาและร่างกาย ที่สำคัญควรเตรียม นมรสจืด 1 กล่อง และผลไม้ประมาณ 1 ผล เช่น กล้วยน้ำว้า ส้ม แอปเปิล ชมพู่ เพื่อให้เด็กได้คุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมและครบถ้วน
เพราะเด็กวัยเรียนเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโต จำเป็นต้องกินอาหารอย่างน้อย 3 มื้อ ดังนั้น เพื่อเป็นการประหยัดเวลา ลดความยุ่งยากในช่วงเช้า จึงควรวางแผนการเตรียมอาหารไว้ล่วงหน้า เลือกเมนูที่ปรุงง่าย สามารถจัดเตรียมวัตถุดิบไว้ล่วงหน้าได้ หรืออาจปรุงอาหารพร้อมมื้อค่ำ โดยเก็บในตู้เย็นเพื่ออุ่นกินในมื้อเช้า
อดนอน อย่าคิดว่าไม่เป็นไร! หมั่นคอยดูแลรักษาหัวใจ-สมอง
ทำความเข้าใจก่อนสายกับสาระน่ารู้เรื่อง “อดนอน อันตรายแค่ไหน? (Sleep Deprivation)” โดย พญ.ชวนนท์ พิมลศรี ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ แนะนำไว้ ดังนี้
การนอนไม่เพียงพอหรือที่เราเรียกกันว่า อดนอน ทำให้ส่งผลเสียในหลายๆ ด้าน เช่น สมาธิน้อยลง รู้สึกอ่อนเพลียง่าย เหนื่อยง่าย ควบคุมอารมณ์ได้ลำบาก หงุดหงิดง่าย
ทั้งนี้ หากอดนอนในระยะยาวอาจส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เจ็บป่วยง่าย หรือมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลต่อความจำ การเรียนรู้ กระบวนการความคิดวิเคราะห์ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญกับวัยเรียนและวัยทำงาน
ส่วนการนอนไม่พอ แล้วไปนอนชดเชยภายหลังแทนนั้น แท้จริงแล้ววิธีนี้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาการอดนอนได้ เพราะฉะนั้นควรให้เวลากับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ โดยควรนอนให้มีคุณภาพ อย่าอดนอน นอนให้เพียงพอเพื่อสุขภาพที่ดี
“การนอนไม่พอหรืออดนอนและพยายามนอนชดเชย นอกจากไม่เกิดประโยชน์แล้ว ยังส่งผลต่อฮอร์โมนที่สำคัญซึ่งทำหน้าที่ควบคุมความอยากอาหาร ทำให้หิวบ่อยขึ้นและมักรับประทานผิดเวลา ระบบการย่อยอาหารของร่างกายเสียสมดุล อาจทำให้มีไขมันเกาะที่บริเวณรอบเอว ระดับคอเลสเตอรอลผิดปกติ น้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ทั้งยังเพิ่มโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ สมองขาดเลือดหล่อเลี้ยง และโรคเบาหวานได้ด้วย”
สืบสานงานประเพณีสักการะพระธาตุเจดีย์ศรีสุริโยภาส ดูคลิป chiangmainews
ขอขอบคุณทุกหัวข้อข่าวค่ะ
ตอบลบ