อานิสงส์กฐิน-“นายติณบาล” (ผู้ดูแลรักษาหญ้า)
ในสมัยของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า มีชายผู้หนึ่งยากจนมาก จนถึงขนาดไม่มีชื่อ เขาได้มาอาศัยอยู่กับเศรษฐีท่านหนึ่ง มีหน้าที่เกี่ยวหญ้า ท่านเศรษฐีจึงตั้งชื่อให้เขาว่า “นายติณบาล” (ผู้ดูแลรักษาหญ้า)
วันหนึ่ง ท่านเศรษฐีต้องการทำบุญทอดกฐิน จึงแจ้งข่าวให้เหล่าบริวารทราบเพื่อให้ได้มาร่วมบุญกับท่าน ข่าวบุญกฐินนั้นได้มาถึงนายติณบาล เขาเกิดจิตศรัทธาอยากร่วมบุญกฐินกับท่านเศรษฐีด้วย แต่เขาไม่มีทรัพย์ใดติดตัวเลย นายติณบาลจึงรีบกลับบ้านเพื่อดูว่ามีทรัพย์สิ่งของใดที่พอจะทำทานได้บ้าง แต่ก็พบกับความว่างเปล่า เขาจึงตัดสินใจนำเสื้อผ้าของตนซึ่งมีอยู่เพียงชุดเดียวไปขาย เพื่อจะได้ร่วมบุญกฐิน และนำใบไม้มาเย็บเป็นผ้านุ่งกันอุจาด เมื่อเดินไปถึงตลาด ประชาชนเห็นการแต่งกายของนายติณบาลเช่นนั้น ต่างพากันหัวเราะเยาะอย่างขบขัน แต่นายติณบาลกลับพูดว่า “พวกท่านอย่าหัวเราะเราเลย เราจะนุ่งใบไม้เป็นชาติสุดท้าย ชาติหน้าเราจะนุ่งผ้าทิพย์”
นายติณบาลได้นำเสื้อผ้าของตนไปขายแก่พ่อค้าคนหนึ่ง พ่อค้าผู้นั้นแม้จะขบขันแต่ก็รับซื้อไว้ ทั้งๆที่ยังไม่รู้ว่าจะนำมาทำอะไร โดยให้ราคาห้ามาสก เมื่อขายเสื้อผ้าของตนแล้ว นายติณบาลจึงมาปรึกษากับท่านเศรษฐีว่า จะนำเงินนี้ไปทำอย่างไรดี ท่านเศรษฐีจึงได้แนะนำให้ไปซื้อด้ายและเข็ม นายติณบาลจึงนำเงินนั้นไปที่ตลาดเพื่อซื้อด้ายและเข็มท่ามกลางเสียงหัวเราะอีกครั้ง หลังจากที่นายติณบาลซื้อเข็มกับด้ายแล้ว จึงนำมาร่วมบุญกฐินกับท่านเศรษฐี เมื่อท่านเศรษฐีเห็นดังนั้นก็เกิดความปีติ และได้อนุโมทนากับนายติณบาล แล้วนำเข็มกับด้ายนั้นมาเป็นบริวารกฐิน
การกระทำของนายติณบาลทำให้ท้าวสักกเทวราช ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เกิดร้อนรุ่ม จึงส่องทิพยเนตรตรวจดู ได้เห็นการกระทำที่ทำได้โดยยากนั้น จึงเกิดความศรัทธาเลื่อมใส ท้าวสักกเทวราชได้มาปรากฏกายที่บ้านของนายติณบาล ครั้นนายติณบาลได้พบท้าวสักกเทวราชซึ่งประทับยืนสว่างไสวอยู่กลางอากาศ ก็ตกใจเป็นอย่างมาก ท้าวสักกเทวราชจึงแนะนำพระองค์เองว่า “เราเป็นท้าวสักกะ เรามีจิตเลื่อมใสในการกระทำของเธอ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ยากยิ่ง เธอปรารถนาสิ่งใดก็จงขอเรามาเถิด เราจะให้พรเธอสี่ประการ”
นายติณบาลได้ฟังดังนั้น จึงขอพระสี่ประการ ดังนี้...
1.ขออย่าให้กระผมได้ข่มเหงสตรี ทั้งด้วยกาย วาจา และใจ
2.ขออย่าให้กระผมมีความตระหนี่ในการทำทาน
3.ขออย่าให้กระผมมีคนพาลเป็นมิตร
4.ขอให้กระผมได้มีภรรยาที่ดี มีศีลมีธรรม
2.ขออย่าให้กระผมมีความตระหนี่ในการทำทาน
3.ขออย่าให้กระผมมีคนพาลเป็นมิตร
4.ขอให้กระผมได้มีภรรยาที่ดี มีศีลมีธรรม
ท้าวสักกเทวราชจึงถามว่า “เธอเป็นคนยากจน ทำไมจึงไม่ขอให้มีทรัพย์มากๆเล่า”
นายติณบาลกล่าวตอบว่า “การได้เป็นคนดีและมีคนรอบข้างเป็นคนดี นับว่าเป็นทรัพย์อันประเสริฐแล้ว”
นายติณบาลกล่าวตอบว่า “การได้เป็นคนดีและมีคนรอบข้างเป็นคนดี นับว่าเป็นทรัพย์อันประเสริฐแล้ว”
ท้าวสักกเทวราชเมื่อทราบเหตุผลดังนี้ จึงอนุโมทนา และให้พรทั้งสี่ประการตามที่นายติณบาลขอ ข่าวการทำทานของนายติณบาลร่ำลือไปไกลจนพระราชาทรงรับทราบ จึงทรงเรียกตัวนายติณบาลมาตรัสถาม เมื่อทรงทราบเรื่องราวทั้งหมดจึงทรงขอแบ่งส่วนบุญ นายติณบาลก็แบ่งส่วนบุญให้ พระราชจึงพระราชทานทรัพย์ให้แก่เขา
ตั้งแต่นั้นมา นายติณบาลจึงกลายเป็นเศรษฐี ด้วยผลบุญในปัจจุบันนั้นเอง เมื่อใกล้จะละโลก เขาได้ระลึกถึงการกระทำอันยิ่งใหญ่ซึ่งทำได้โดยยาก โดยเฉพาะบุญที่ได้ร่วมทอดกฐินถวายแด่พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า คตินิมิตก็ใสสว่างด้วยอำนาจบุญที่ได้กระทำมาดีแล้ว ครั้นละโลกแล้ว บริวารได้มาเข้าแถวรอรับกันอย่างมากมาย เพื่ออัญเชิญให้เทพบุตรใหม่ขึ้นเทวรถ เพื่อกลับสู่วิมาน ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทพบุตรใหม่เสวยทิพยสมบัติอันตระการตา
มาถึงภพชาติสุดท้าย เขาได้มาบังเกิดในยุคสมัยของพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เกิดเป็นชายและได้ออกบวชในพระพุทธศาสนา ได้บรรลุอรหัตผลในที่สุด ด้วยอำนาจแห่งบุญที่ทำมาดีแล้ว
คลิกชมสื่อเต็ม
เราจะเห็นว่า บุญที่เกิดจากการทอดกฐินนั้น หากทำอย่างทุ่มเทด้วยจิตที่เลื่อมใสเต็มที่แล้ว ผลบุญนั้นมิได้น้อยเลย
ที่มา www.dmc.tv/pages
#อนุโมทนาบุญ ด้วยอย่างยิ่งครับ
ตอบลบSADHU! For a good JATAKA to learn.
ตอบลบ