น้ำท่วม 12 จังหวัด มีความเดือดร้อนเสียหายเกิดขึ้น แต่ไม่มีคนร้องทุกข์ ก็เท่ากับไม่มีผู้เสียหายและไม่มีความเสียหาย เพราะ "เจ้าทุกข์ไม่มี"
กฎหมายถือหลักว่า มีความเสียหายเกิดขึ้น แต่ถ้าไม่มีผู้เสียหายแสดงตัว ก็เท่ากับไม่มีความเสียหาย เพราะ "เจ้าทุกข์ไม่มี"
กฎหมายถือหลักว่า มีความเสียหายเกิดขึ้น แต่ถ้าไม่มีผู้เสียหายแสดงตัว ก็เท่ากับไม่มีความเสียหาย เพราะ "เจ้าทุกข์ไม่มี"
ยกตัวอย่างเช่น
1. น้ำท่วม 12 จังหวัด มีความเดือดร้อนเสียหายเกิดขึ้น แต่ไม่มีคนร้องทุกข์ ก็เท่ากับไม่มีผู้เสียหายและไม่มีความเสียหาย เพราะ "เจ้าทุกข์ไม่มี"
2. เงินในธนาคารถูกเจ้าหนี้ยึดไปโดยไม่มีคำสั่งศาล มีความเสียหายเกิดขึ้น แต่ไม่มีคนร้องทุกข์ ก็เท่ากับไม่มีผู้เสียหายและไม่มีความเสียหาย เพราะ "เจ้าทุกข์ไม่มี"
3. ร้องทุกข์แก่ศาลแล้ว แต่ไม่สามารถนำพยาน นำหลักฐานไปถึงศาลได้ ก็เท่ากับพิสูจน์ไม่ได้ว่าเป็นผู้เสียหาย ก็เท่ากับไม่มีความเสียหาย เพราะ "เจ้าทุกข์ไม่มี"
4. กรณีสหกรณ์ลูกหนี้ของสหกรณ์เจ้าหนี้อีก 2,000 แห่งทั่วประเทศก็เช่นกัน ถ้ามีคนยึดทรัพย์สินของ "สหกรณ์ลูกหนี้" ไปอย่างไม่ชอบธรรมแล้ว แต่ "สหกรณ์เจ้าหนี้" กลับนิ่งเฉย ไม่ช่วยกันเรียกร้องความเป็นธรรมให้สหกรณ์ลูกหนี้ ในทางกฎหมายก็จะถือว่ามีผู้เสียหายเกิดขึ้นเพียงรายเดียว
แต่ในความเป็นจริง ถ้าสหกรณ์ลูกหนี้ล้มละลายลง ก็จะเกิดความเสียหายเป็นลูกโซ่ถึงสหกรณ์เจ้าหนี้อีก 2,000 แห่งด้วย แต่เมื่อผู้เสียหายไม่ปรากฏตัว ฝ่ายกฎหมายบ้านเมืองก็ไม่รับรู้ความเดือดร้อนของอีก 2,000 แห่ง ก็เท่ากับว่าไม่มีผู้เสียหาย 2,000 ราย และผู้เดือดร้อนกว่า 1 ล้านคน เพราะ "เจ้าทุกข์ไม่มี"
5. เรื่องศาสนสมบัติของวัดก็เช่นกัน ถ้าหากในอนาคต เกิดมีกรณีถูกเจ้าหน้าที่บังคับคดียึดเงินของวัดในธนาคารไป แล้ววัดไม่ร้องทุกข์ ไม่โวยวายว่าเป็นผู้เสียหาย ก็เท่ากับไม่มีผู้เสียหายเกิดขึ้น เพราะ "เจ้าทุกข์ไม่มี"
ใครได้รับความเดือดร้อน ทรัพย์สินเสียหาย แต่เงียบไม่โวยวาย นั่นคือไม่มีผู้เสียหายและไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นในทางกฎหมาย เพราะ "เจ้าทุกข์ไม่มี"
ก่อนจะโวยวายอะไร ต้องเข้าใจวิธีคิดของนักกฎหมายตรงนี้ด้วย และอย่าแปลกใจที่หลังจากประเทศไทยมีกฎหมายใหม่เกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ทันได้ประกาศกฎหมายลูกออกมาใช้อย่างเป็นทางการ ทำไมถึงมีการใช้กฎหมายด้วยแนวปฏิบัติแปลกๆ เกิดขึ้นมากมาย จนพอเดาๆ กันได้ว่า นี่อาจเป็นแนวปฏิบัติใหม่ที่ถูกนำมาใช้ล่วงหน้าก่อนจะประกาศใช้จริง
ในการออกกฎหมายใหม่นั้น เมื่อตัวบทกฎหมายถูกบัญญัติออกมาเป็นตัวอักษรแล้ว เมื่อจะนำไปใช้จริง ก็หนีไม่พ้นว่าต้องมีการตีความ และต้องมีแนวปฏิบัติในการใช้งานให้เป็นมาตรฐานเดียวกันด้วย เพราะถ้าปล่อยให้เจ้าหน้าที่แต่ละคนต่างตีความ ก็จะได้แนวปฏิบัติไปคนละทิศทาง กลายเป็นปัญหาหลายมาตรฐานอย่างที่เห็นทุกวันนี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฎหมายบางมาตราที่เขียนขึ้นใหม่ ยังไม่เคยมีการใช้มาก่อน มักจะยังไม่มีแนวปฏิบัติ ใครที่นำไปใช้คนแรกแล้วสังคมเห็นชอบด้วย ก็จะกลายเป็นการบัญญัติแนวปฏิบัติไปโดยปริยาย และนานๆ ไปหากไม่มีใครคัดค้าน แนวปฏิบัติครั้งแรกนั้นก็จะกลายเป็นบรรทัดฐานของมาตรานั้นไปด้วย
ดังนั้น ในกรณีที่มีการประกาศใช้กฎหมายใหม่ ซึ่งหลายมาตรายังไม่มีแนวปฏิบัติมาก่อน หากใครได้รับผลกระทบความเดือดร้อนเสียหาย จะต้องรีบโวยวายขึ้นก่อนทันที อย่าเงียบ อย่าเพิกเฉยทิ้งสิทธิความเป็นผู้เสียหาย มิฉะนั้น เขาจะถือว่าผู้เสียหายไม่มี เพราะ "เจ้าทุกข์ไม่มี" ส่วนว่าร้องทุกข์ไปแล้ว เขาเงียบเฉย ก็แสดงว่าเสียงเดียวยังไม่ดัง ก็ต้องรวบรวมเจ้าทุกข์หลายๆ คนไปร้องทุกข์พร้อมกัน เดี๋ยวเสียงก็ดังขึ้นเอง
Cr : Ptt Cnkr
วิธีหนึ่งในการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือทำร้ายคน คือแกล้งยัดข้อหาที่เป็นอาญาแผ่นดิน
ซึ่งถือว่ารัฐเป็นผู้เสียหาย สามารถดำเนินคดีได้เลย
อย่างข้อหารับของโจร โดยหลักยอมความไม่ได้ รับไว้ไม่ผิด แต่ต้องไม่มีเจตนารู้ว่าเป็นของโจร
ปัญหาคือ
ต้องใช้เวลาเท่าไรในการพิสูจน์เจตนา องค์กรการกุศล วัด หรือโรงจำนำ สามารถแกล้งยัดข้อหาได้สบายๆ หากโชคร้าย จำเลย หรือทนายจำเลยไม่มีประสบการณ์ พิสูจน์แล้วศาลไม่เชื่อ
ก็อาจแพ้คดีได้ครับ
ส่วนผู้มีอำนาจหรือผู้มีอิทธิพล ที่ยังกล้ากระทำความผิดอาญาอยู่ได้ เพราะมั่นใจว่า สามารถควบคุมต้นทางกระบวนการยุติธรรม ถ้าตำรวจไม่รับเรื่อง ไม่ทำสำนวนส่งอัยการ ผู้เสียหายก็ต้องฟ้องเอง
ซึ่งเหนื่อย ยุ่งยาก และมีค่าใช้จ่ายสูง
หลายครั้ง ผู้เสียหายเลือกที่จะปล่อยผ่านเลยไปในที่สุด หมดอายุความเมื่อไร ทุกอย่างก็เป็นอันจบ
วิธีหนึ่งในการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือทำร้ายคน คือแกล้งยัดข้อหาที่เป็นอาญาแผ่นดิน
ซึ่งถือว่ารัฐเป็นผู้เสียหาย สามารถดำเนินคดีได้เลย
อย่างข้อหารับของโจร โดยหลักยอมความไม่ได้ รับไว้ไม่ผิด แต่ต้องไม่มีเจตนารู้ว่าเป็นของโจร
ปัญหาคือ
ต้องใช้เวลาเท่าไรในการพิสูจน์เจตนา องค์กรการกุศล วัด หรือโรงจำนำ สามารถแกล้งยัดข้อหาได้สบายๆ หากโชคร้าย จำเลย หรือทนายจำเลยไม่มีประสบการณ์ พิสูจน์แล้วศาลไม่เชื่อ
ก็อาจแพ้คดีได้ครับ
ส่วนผู้มีอำนาจหรือผู้มีอิทธิพล ที่ยังกล้ากระทำความผิดอาญาอยู่ได้ เพราะมั่นใจว่า สามารถควบคุมต้นทางกระบวนการยุติธรรม ถ้าตำรวจไม่รับเรื่อง ไม่ทำสำนวนส่งอัยการ ผู้เสียหายก็ต้องฟ้องเอง
ซึ่งเหนื่อย ยุ่งยาก และมีค่าใช้จ่ายสูง
หลายครั้ง ผู้เสียหายเลือกที่จะปล่อยผ่านเลยไปในที่สุด หมดอายุความเมื่อไร ทุกอย่างก็เป็นอันจบ
Cr : ปาโมกข์ พรหมเดช
ไม่มีความคิดเห็น