ดังนั้น การบวชต้องผ่านถึง 7 ด่าน
1. ผู้บวชต้องเป็นชายแท้
2. มีศรัทธา
3. มีคุณสมบัติครบตามพระวินัย
4. พ่อแม่อนุญาต
5. มีบาตรจีวร
6. มีอุปัชฌาย์
7. มีคณะสงฆ์สวดเผดียงสงฆ์รับเข้าหมู่
1. ผู้บวชต้องเป็นชายแท้
2. มีศรัทธา
3. มีคุณสมบัติครบตามพระวินัย
4. พ่อแม่อนุญาต
5. มีบาตรจีวร
6. มีอุปัชฌาย์
7. มีคณะสงฆ์สวดเผดียงสงฆ์รับเข้าหมู่
การอนุญาตบวชเป็นวินิจฉัยของพระอุปัชฌาย์ ว่า ผู้บวชมีความเหมาะสม สมควร มีความพร้อมหรือไม่
เพราะในขั้นตอนการบวช เมื่อผู้ขอบวชกล่าวว่า “อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ” แปลว่า ท่านขอรับ ขอท่านจงเป็นพระอุปัชฌาย์ของกระผม
พระอุปัชฌาย์จะถามว่า
"ปฎิรูปัง" คำแปล สมควรแล้วหรือ
"โอปายิกัง" คำแปล ชอบด้วยอุบายแน่หรือ
"ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ" คำแปล เธอจงปฏิบัติตัวให้ถึงพร้อมด้วยอาการที่น่าเลื่อมใสเถิด
นั่นคือ ถ้าผู้ขอบวชอยู่ในสภาพที่ไม่เป็นที่ตั้งแห่งน่าเลื่อมใสศรัทธา พระอุปัชฌาย์ ก็ถือหลักไม่บวชให้ได้
การบวชไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะกินข้าวชาวบ้านทุกวัน เป็นผู้ทรงศีลมีผู้คนกราบไหว้ ถ้าไม่เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาก็จะโดนจ้องจับผิดได้ง่าย และสังคมจะตำหนิมาถึงอุปัชฌาย์อาจารย์ได้ ลองคิดดูว่าก็ขนาด พระสงฆ์ที่ตั้งใจบวชตลอดชีวิต บวชแล้วก็ตั้งใจฝึกตนตลอดชีวิต ยังไม่รอดจากการถูกใส่ร้ายเลย แล้วถ้าสักลายทั่วตัวมาบวช ตำรวจจะไม่สงสัยว่าบวชหนีคดีอย่างนั้นหรือ ? พระอุปัชฌาย์จึงมีหน้าที่เป็นด่านแรกของการคัดกรองคนให้พระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ของวัดนั้นๆ
Cr : Ptt Cnkr
ไม่มีความคิดเห็น