ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

สรุปข่าวเด่นวันที่ 14 เมษายน 2566

พุทธศาสนิกชนหลากหลายเชื้อชาติอิ่มบุญสงกรานต์ ณ “วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว”

บรรยากาศการตักบาตรทำบุญที่วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว เมื่อวาน (13 เมษายน 2566) ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ยังมีกิจกรรมตักบาตรทุกเช้า ไปจนถึงวันที่ 16 เมษายน ณ ลานวิหารพระเจ้า 5 พระองค์


ผ่าความลับ “แป้งเย็น” ตัวช่วยคลายร้อนที่ชวนสงสัยว่าทำไมถึงทาแล้วเย็น?


"ร้อนแล้วไปอาบน้ำทาแป้ง"…น่าจะเป็นคำคุ้นหูของคนไทยในช่วงอากาศร้อน ชวนไขปริศนา “แป้งเย็น” ตัวช่วยและหนึ่งใน "วิธีคลายร้อน"ของคนไทยมาทุกยุคทุกสมัย
อ่านเพิ่มเติม bangkokbiznews

ไทยเข้าสู่ 'สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์' เตือนรับมืออีก 10 ปีข้างหน้า เข้าสู่ระดับสุดยอด

กรุงเทพธุรกิจ รายงานว่า ประเทศไทยเข้าสู่ 'สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์' (complete aged society) โดยมีประชากรอายุมากกว่า 60 ปี กว่า 12.9 ล้านคน หรือ 20% จากประชากรทั้งหมด โดยการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร ได้สร้างผลกระทบในระดับบุคคล

และอีก 10 ปีข้างหน้า ในปี พ.ศ.2576 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในระดับสุดยอด มีจำนวนผู้สูงอายุ 28% ของประชากรทั้งหมด ในขณะที่การเกิดน้อยลง ทำให้ประชากรวัยแรงงานลดลง และรัฐบาลต้องดูแลรัฐสวัสดิการให้ผู้สูงอายุหลังเกษียณและค่าใช้จ่ายสาธารณสุข



นักวิจัยอิตาลีสร้างต้นแบบของแบตเตอรี่กินได้ หวังปฏิวัติอุปกรณ์การแพทย์ ผู้พัฒนาระบุว่า นี่เป็นตัวอย่างแรกของแบตเตอรี่ที่ทั้งทานได้และชาร์จไฟใหม่ได้


ทีมนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งอิตาลี (IIT) สร้างแบตเตอรี่นี้ขึ้นจากผลิตภัณฑ์อาหารทั้งหมด ได้แก่ แอลมอนด์ ลูกเคเปอร์ ถ่านกัมมันต์ สาหร่าย ทองคำแผ่น และขี้ผึ้ง


มาริโอ ไคโรนี ผู้ประสานงานโครงการ อธิบายว่า แกนกลางอุปกรณ์นี้คือขั้วไฟฟ้า 2 อัน ซึ่งการจะให้มันทำงานได้นั้น ต้องใช้วัตถุสองชนิด สองโมเลกุล โดยขั้วบวก พวกเขาใช้ไรโบฟลาวิน ซึ่งเป็นวิตามินที่พบได้ในแอลมอนด์ ส่วนขั้วลบ พวกเขาใช้เควอซิทิน ซึ่งเป็นสารสีในผัก พบได้ในลูกเคเปอร์
แบตเตอรี่นี้ยังใช้ถ่านกัมมันต์เพื่อเพิ่มการนำไฟฟ้า ขณะที่ตัวกั้นข้างในแบตเตอรี่ที่ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรทำมาจากสาหร่ายโนริ ที่ใช้ห่อซูชิทั่วไป ขั้วไฟฟ้าของแบตเตอรี่จะถูกหุ้มด้วยขี้ผึ้ง และมีจุดสัมผัสเป็นทองคำแผ่น รองรับด้วยฐานเซลลูโลส
ไคโรนี ระบุว่า แบตเตอรี่ทานได้จะช่วยให้เรากลืนอุปกรณ์ เช่น เซ็นเซอร์ เข้าไป และย่อยได้เหมือนอาหารทั่วไป เมื่อทำหน้าที่เสร็จแล้ว


ทีมนักวิจัยหวังว่า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่รับประทานได้จะส่งผลอย่างมากต่อการวินิจฉัยและการรักษาอาการในระบบทางเดินอาหาร รวมถึงยังสามารถใช้ติดตามคุณภาพอาหารได้ด้วย


อุปกรณ์ที่ทานเข้าไปได้นั้นปัจจุบันมีอยู่แล้ว แต่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ ซึ่งหมายความว่าหากมีปัญหาระหว่างขั้นตอนการย่อย ก็อาจต้องผ่าตัดเอาออกมา แต่อุปกรณ์ที่นักวิจัยอิตาลีพัฒนาขึ้นนั้นสามารถย่อยได้ โดยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ



14 เมษายน วันครอบครัว

ตระหนักถึงความสำคัญของครอบครัว เติมเต็มความรักเอาใจใส่กันและกัน เพราะสถาบันครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้นของคุณภาพชีวิตของผู้คน



คณะสงฆ์ภาค 3 สร้างบ้านช่วยคนยากจน ไร้ที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง

“พระพรหมกวี” กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) เจ้าคณะภาค 3 นำคณะสงฆ์ภาค 3 ดำเนินโครงการสังฆประชานุเคราะห์ สร้างบ้านให้ผู้ที่ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง เริ่มมอบบ้านหลังที่ 1 ให้ชาว จ.สิงห์บุรี


ไม่มีความคิดเห็น