ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

สรุปข่าวเด่นวันที่ 15 เมษายน 2567

เบลล่า ราณี นางเอกสายบุญ ทั้งทำบุญกับวัด และให้ทุนการศึกษาเด็ก จัดให้ปีละ 8 หลัก เผยสาเหตุทุ่มทำบุญเยอะ เพราะได้โอกาสเข้ามาเยอะ

เรียกว่าสะสมแต้มบุญใช่ไหม? “เราก็ได้ทำบุญต่อเนื่องมา ตั้งแต่ไปอินเดีย ที่เชียงใหม่พี่พลอยเป็นเจ้าภาพ แล้วก็มีภูเขาทองต่อที่เบลกับพี่พลอยเป็นเจ้าภาพ”

อะไรที่ทำให้เราทำบุญเยอะขนาดนี้? “เราแค่รู้สึกว่าเราได้รับโอกาสมาเยอะ เราก็อยากที่จะกระจาย หรือประชาสัมพันธ์ให้ได้เยอะๆ ไม่ได้ทำเฉพาะกับวัดอย่างเดียว เรื่องทุนการศึกษาเด็กก็ร่วมด้วยเยอะเหมือนกัน คุณแม่ก็เพิ่งส่งทุนการศึกษาเด็ก แต่ก็มีอีกที่จะไปทำบุญเด๋ายวมาบอกทีละบุญดีกว่า เพราะว่าเยอะ”

แต่ละปีทำบุญเป็นเงิน 7-8 หลักใช่ไหม? “ใช่ค่ะ แต่มันก็เป็นอีกช่องทางที่เรารู้สึกที่เราได้ตอบแทนทุกคน”... 


ชาวเชียงใหม่ทำบุญ "วันปี๋ใหม่เมือง" พร้อมเปิดงานใหญ่ สงกรานต์ 2567

เมื่อวันที่ 13 เม.ย. 67 ที่บริเวณข่วงประตูท่าแพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย นางกุสุมาล พงษ์สิทธิถาวร นายกเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงใหม่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นำคณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ และประชาชนชาวเชียงใหม่ ร่วมกันทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง ถวายแด่พระสงฆ์สามเณร จำนวน 14 รูป เพื่อความเป็นสิริมงคล เนื่องใน "วันสงกรานต์ ประจำปี 2567" หรือวันขึ้นปีใหม่ไทย โดยมีประชาชนชาวเชียงใหม่เข้าร่วมตักบาตรกันเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ วันที่ 13 เมษายน ของทุกปี ถือเป็น "วันสงกรานต์" ซึ่งคำว่า สงกรานต์ มีที่มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า ก้าวขึ้น ย่างขึ้น หรือย้ายขึ้น เป็นการสื่อความหมายถึงการเข้าสู่ศักราชใหม่ โดยตามขนบธรรมเนียมประเพณีโบราณ ถือว่าวันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่ ชาวบ้านจะนิยมปัดกวาดเช็ดถูทำความสะอาดบ้าน, ทำบุญตักบาตร, ปล่อยนกปล่อยปลา, ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา, ขนทรายเข้าวัดเพื่อก่อพระเจดีย์ทราย, สรงน้ำพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ตามวัดต่างๆ, รวมทั้งรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ และสาดน้ำเล่นกันเพื่อคลายร้อน



ประชาชนทำบุญตักบาตรวันสงกรานต์ 2567 เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ที่ขอนแก่น

วันนี้ 13 เมษายน 2567 เวลา 07.59 น. ชาวอำเภอเปือยน้อยร่วมทำบุญตักบาตรพระสงฆ์จากวัดธาตุกู่ทอง เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต เนื่องในวันเริ่มต้นเทศกาลวันสงกรานต์ 2567 ที่บริเวณสะพานกลางน้ำ สวนสาธารณะสระวง อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น

นอกจากนี้ทางเทศบาลเปือยน้อย ได้จัดให้มีกิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ และการแข่งขันประกวดก่อเจดีย์ทราย เพื่อสืบสานประเพณีสงกรานต์ด้วย



จังหวัดลพบุรี จัดพิธีทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง เนื่องในวันสงกรานต์ หรือวันขึ้นปีใหม่ไทย 2567

วันที่ 14 เมษายน 2567 ที่ บริเวณเทวสถานปรางค์แขก ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี นายอำพล อังคภากรณ์กุล ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี พร้อมด้วยนางสุวจี ศิริปัญโญ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดลพบุรี คณะรองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ข้าราชการตุลากร หัวหน้าส่วนราชการ ทหาร ตำรวจ พ่อค้า และประชาชนชาวจังหวัดลพบุรี ได้ร่วมกันทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งแด่พระสงฆ์ สามเณร พร้อมร่วมกันสรงน้ำพระ และรดน้ำขอพรผู้สูงอายุเนื่องในวันสงกรานต์ หรือวันขึ้นปีใหม่ไทย ประจำปี 2567 


ชาวบ้านหัวเกาะ อ.สรรคบุรี ทำบุญวันครอบครัว สืบสานประเพณีไทยสงกรานต์

วันที่ 14 เมษายน 2567 ที่บ้านหัวเกาะ วัดพระยาแพรก หมู่ที่ 8 ต.แพรกศรีราชา อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท นางรักชนก ไหล่แท้ ปลัดอำเภอสรรพยาพร้อมด้วยนายกสมภาส เคารพธรรม เทศบาลแพรกศรีราชา,นายรังสรรค์ เนตรนิยม ผอ.กองช่างเทศบาลตำบล ดงคอน,นายอิทธิพัทธ์ เข้มพิมพ์ กรรมการหมู่บ้านและชาวบ้านหัวเกาะ จำนวน 30 ครัวเรือน ร่วมทำบุญถวายเพลพระสงฆ์จำนวน 11 รูป เพื่อความเป็นสิริมงคลในวันครอบครัวและวันขึันปีใหม่ไทย สืบสานประเพณีไทยเทศกาลสงกรานต์ โดยร่วมกันทำอาหารคาว หวานและเครื่องดื่มมาถวายพระสงฆ์และทอดผ้าป่าสามัคคี สร้างความรักความสามัคคีในหมู่บ้านหัวเกาะ ยอดผ้าป่า 4,070 บาท
จากนั้น ช่วงเย็นบรรดาลูกหลานบ้านหัวเกาะ ร่วมรดน้ำดำหัว ขอพรผู้สูงอายุของหมู่บ้าน จำนวน 7 คน สร้างความดีใจ ปลื้มปิติยินดีแก่ผู้สูงอายุ นายอิทธิพัทธ์ เข้มพิมพ์ กรรมการหมู่บ้าน กล่าวว่า บ้านหัวเกาะ เป็นหมู่บ้านเก่าแก่หลายร้อยปี อยู่ติดกับวัดพระยาแพรก สมัยเจ้ายี่พระยา กรุงศรีอยุธยา และวัดศรีษะเมืองหรือวัดมหาธาตุในปัจจุบัน ชาวบ้านหัวเกาะได้ร่วมกันอนุรักษ์ประเพณีอันดีงาม สืบสานกันมาตลอดตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน โดยจัดกิจกรรมในวันที่ 14 เมษายนของทุกปี


ที่มาและอานิสงส์การ ก่อเจดีย์ทราย ช่วงสงกรานต์ 
ผู้ใดได้ถวายทรายหรือขนทรายเข้าวัดแล้วจะได้รับอานิสงส์ผลบุญให้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีอายุยืนนาน พร้อมด้วยทรัพย์สมบัติมากมาย

การ ก่อเจดีย์ทราย เป็นความเชื่อทางศาสนาพุทธ โดยเชื่อว่า เมื่อมีโอกาสได้ไปทำบุญ เข้าวัด ในระหว่างเดินทางกลับ จะมีเศษดิน หิน ทราย กรวด ติดเท้ากลับออกไปด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ที่อยู่ในพื้นที่วัด ถือเป็นสมบัติของพระศาสนา ดังนั้น การที่นำเศษดิน หิน ทราย กลับไป ถือว่าผิดศีลข้อ 2 ฐานลักทรัพย์ ผู้ใดได้ถวายทรายหรือขนทรายเข้าวัดแล้วจะได้รับอานิสงส์ผลบุญให้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีอายุยืนนาน พร้อมด้วยทรัพย์สมบัติมากมาย

เมื่อชาวบ้านขนทรายเข้ามามากขึ้นจึงมีการสร้างเจดีย์ทราย โดยการนำไม้ไผ่สานมาขดให้เป็นวงกลม แล้วนำทรายมาถมให้เต็มเป็นชั้น ๆ เวียนขึ้นไปจนทรงคล้ายกับเจดีย์ เรียกว่า วาลุกเจดีย์ (อ่านว่า วา – ลุ – กะ เจดีย์) หรือเจดีย์ทราย อาจสร้างเป็นเจดีย์ทรายขนาดเล็กหลายๆ องค์ หรือเจดีย์ทรายองค์ใหญ่องค์เดียวก็ได้ แล้วจึงถวายให้กับวัดในคราวเดียว การขนทรายเข้าวัดและก่อเจดีย์ทรายคือการใช้คืนทรายให้แด่พระพุทธศาสนา อันเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งในการชักชวนให้หมั่นเข้าวัด ฟังเทศน์ ฟังธรรมกันอยู่เป็นประจำนั่นเอง


ไม่มีความคิดเห็น