การเยือนถิ่น “เมืองหลวง 10 ยุคสมัย” เมื่อเร็ว ๆ นี้…เป็นอีกโครงการที่จัดขึ้นโดย “อาศรมสยาม-จีนวิทยา” โดยนำคณะสื่อจากไทยไปสัมผัสเรียนรู้ “ความเป็นมา-ความเป็นอยู่-ความเป็นไป” เกี่ยวกับ “วิถีชีวิตจีน” ณ พื้นที่เป้าหมายคือ “นานกิง” หรือ “หนานจิง” ซึ่งนำคณะโดย บัญญัติ คำนูณวัฒน์ ที่ปรึกษาคณะเจ้าหน้าที่บริหาร ธานี ลิมปนารมณ์ ผู้จัดการทั่วไปอาวุโส ซีพี ออลล์ และ ประสิทธิ์ ฉกาจธรรม ผู้อำนวยการ อาศรมสยาม-จีนวิทยา ทั้งนี้ ขณะที่ในภาพรวมเกี่ยวกับจีนนั้นถือเป็นดินแดนที่มีอารยธรรมยาวนานมากกว่า 5,000 ปี ผ่านพ้นวิกฤติการณ์ต่าง ๆ มาหลายยุคสมัย มีศิลปวิทยาการและประสบการณ์มากมายให้โลกได้เรียนรู้ กับพื้นที่ “นานกิง-หนานจิง” นครหลวงเก่าแก่ของจีน…นี่ก็ “น่าสนใจมาก” เช่นกัน…
รวมถึง…“วิถีพุทธชีวิตจีนยุคใหม่”...
ชาวไทยในแอฟริกาใต้จัดบุญทอดกฐินสร้างวิหาร วัดพระธรรมกาย
ช่วยสร้างวิหาร ชาวไทยในแอฟริกาใต้จัดงานบุญทอดกฐินสามัคคีสร้างวิหารพระเทพมุนี วัดพระธรรมกาย โยฮันเนสเบิร์ก มีพุทธศาสนิกชนชาวไทยและชาวแอฟริกาใต้กว่า 200 คน ไปร่วมด้วย18 พฤศจิกายน 2566 เมื่อเวลา 09.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานที่วัดเวฬุวนาราม (วัดยาง) หมู่ 2 ตำบลท่าซุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ได้จัดงานกฐินสามัคคี โดยพระครูนิวาสบุญประดิษฐ์ เจ้าอาวาสวัดยาง พร้อมคณะพระสงฆ์และชาวบ้านทั่วสารทิศทั้งต่างพื้นที่และในพื้นที่มาร่วมทำบุญใหญ่ซึ่ง 1 ปี มีแค่ 1 ครั้ง
ส่วนบรรยากาศภายในงานได้มีชาวบ้านมาร่วมทำบุญอย่างมากมายไม่ว่าจะเป็นอาหารโรงทานหรือของหวานมากมายกว่า 100 ร้านค้า แต่ที่น่าแปลก มีอยู่โรงทานหนึ่งไม่เหมือนชาวบ้าน ไม่ได้มีทั้งกับข้าว ไม่ได้มีทั้งของหวานแต่เป็นร้านตัดผม
เปิดภาพ “บิ๊กโจ๊ก” บวชใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
เฟซบุ๊ก สำนักสื่อสารองค์กร พระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาล เผยแพร่ภาพ “บิ๊กโจ๊ก” พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล บวชใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ประเทศอินเดีย สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ตามที่เฟซบุ๊กชื่อ Narong Junior ซึ่งเป็นของ พระครูอุดมโพธิวิเทศ รองโฆษกพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาล ได้โพสต์ภาพ พร้อมข้อความ ว่า พิธีปลงผมนาค พลตำรวจเอก สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และคณะ 17 พ.ย. 2566 ณ ลานโพธิ์ 935 วัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระธรรมโพธิวงศ์ เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา หัวหน้าพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย-เนปาล เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วยคณะญาติธรรม ร่วมพิธีปลงผม
"คิลานุปัฏฐาก" โครงการพระ อสม. ดูแลสงฆ์ชราอาพาธประจำวัด
ข้อมูลของสำนักพุทธศาสนาแห่งชาติระบุว่า เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ไทยมีพระสงฆ์ สามเณร ทั่วประเทศ 288,956 รูป ขณะที่พระสงฆ์ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ร่างกายเสื่อมถอยมีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง จึงต้องการความเอาใจใส่ดูแล
"พระคิลานุปัฏฐาก"บทบาทสงฆ์ไทย
รายงานการตรวจสุขภาพพระภิกษุ-สามเณรในกรุงเทพฯ ปี 2566 จำนวน 1,518 รูป พบมีไขมันในเลือดผิดปกติ 55.4% มีภาวะอ้วน 44.3% ความดันโลหิตสูง 18.5% ภาวะเสี่ยงอ้วน 17.3% และระดับน้ำตาลในเลือดสูง 15.6%
ในปี 2566 กระทรวงสาธารณสุขจึงปัดหมุดตอกย้ำอักครั้งกับโครงการวัดส่งเสริมสุขภาพ 18,171 แห่งทั่วประเทศ โดยมีการอบรม"พระคิลานุปัฏฐาก"จำนวน 13,114 รูป ทำหน้าที่ดูแลปฐมพยาบาลพระสงฆ์อาพาธ ภายในวัด ถือเป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในหมู่สงฆ์
ขอบคุณข้อมูลข่าวสารดีๆด้วยค่ะ
ตอบลบ