ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

สรุปข่าวเด่นวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

เทศกาลลอยกระทงในปีนี้ หอการค้าไทย สำรวจความคิดเห็นประชาชน บรรยากาศน่าจะคึกคักมากขึ้นเม็ดเงินสะพัดแตะ 10,000 ล้านบาท เป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี

ผลสำรวจพบว่าประชาชนจะออกไปลอยกระทงคึกคักกว่าปีที่ผ่านมา โดย 39.4 % ส่วนใหญ่จะออกไปลอยกระทง อีก 23.1% ไม่แน่ใจ และ 9.6% ไม่ลอยกระทง แต่จะลอยกระทงออนไลน์แทน


และจะมีการใช้จ่ายในวันลอยกระทงต่อคนเฉลี่ยอยู่ที่ 2,075บาท เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบจากปี 65 ที่ผ่านมา อยู่ที่ 1,920 บาทต่อคน โดยส่วนใหญ่จะใช้สำหรับเป็นค่าเดินทาง รับประทานอาหารนอกบ้าน สังสรรค์


อย่างไรก็ตาม ประชาชนยังคงระมัดระวังการใช้จ่าย แต่อาจจะไม่เต็มที่ เพราะยังกังวลกับเศรษฐกิจในอนาคต บรรยากาศยังคงซึมๆ คาดว่าเศรษฐกิจปีนี้จะขยายตัว 2.4-2.6 % โดยประชาชนเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 เพราะจะมีโครงการดิจิทัลวอลเล็ตของรัฐบาลมากระตุ้นเศรษฐกิจในปีหน้า



กทม. ชวนลอยกระทงแบบดิจิทัลที่คลองโอ่งอ่าง ลดขยะในแม่น้ำ เน้นรักษ์โลก

กทม. รณรงค์แนวคิดการลอยกระทงในรูปแบบใหม่ ลดขยะในแม่น้ำลำคลอง เน้นการรักษ์โลก ซึ่งครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่เปิดให้ประชาชนได้ร่วมกิจกรรมลอยกระทงออนไลน์ และชมกระทงแบบดิจิทัลบนพื้นผิวน้ำคลองโอ่งอ่าง ผ่านโปรเจกเตอร์ขนาดใหญ่ ที่บริเวณเชิงสะพานบพิตรพิมุข คลองโอ่งอ่าง 

 

โดยผู้ที่มาร่วมงานไม่ต้องนำกระทงมาเอง เพียงนำโทรศัพท์มือถือติดตัวมาด้วยเพื่อร่วมลอยกระทงออนไลน์ หรือจะวาดรูปบนกระดาษที่เตรียมไว้ ระบายสี เขียนชื่อ เขียนอวยพร เขียนความในใจ และลอยเป็นแสงไฟลงในคลองได้เช่นกัน นอกจากนี้ภายในงานยังมีกิจกรรมการแสดง Street Performance และอาหารย้อนยุคด้วย

 

สำหรับงาน ‘ลอยกระทงคลองโอ่งอ่าง แสง สุข แห่งสายน้ำ’ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2566 ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป



ลอยกระทง จังหวัดลำพูน 2566 เทศกาลโคมแสนดวง สืบสานความเป็นไทย


เทศกาลโคมหลากสีเมืองลำพูน บูชาพระนางจามเทวี ประจำปี 2566 เทศกาลบูชาพระนางจามเทวีประจำปี 2566 เริ่มจัดอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม เป็นส่วนหนึ่งของประเพณีลอยกระทงหรือประเพณียี่เป็งล้านนา ที่ชาวลำพูนปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน เพื่อสำนึกในพระคุณและระลึกพระนางจามเทวีองค์ปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญชัย ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวลำพูนและประชาชนทั่วไป


เทศกาลโคมแสนดวงเมืองลำพูน ศูยน์รวมซอฟต์พาวเวอร์

ไปต่อกับงานสุดยิ่งใหญ่อลังการ ที่ชาวเมืองลำพูนภูมิใจนำเสนอพร้อมผลักดันให้เป็นเทศกาล Soft Power ระดับโลก พร้อมสร้างรายได้ชุมชนทำโคม-สวยดอกตามวิถีล้านนา และศิลปินพื้นบ้าน ใครไม่มาถือว่าพลาด


โดยวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 (วันนี้) เป็นกิจกรรมการถวายโคมวันสุดท้าย การเทศน์มหาชาติ การปล่อยโคมลอยบูชาพระเกศแก้วจุฬามณี อีกทั้งที่เมูอาหารจากร้านท้องถิ่นต่าง ๆ มาเปิดให้ชาวไทยและนักท่องเที่ยวจำนวนมากมาตามรอย ชวนแอ่วเมืองในวันลอยกระทงได้ที่ บริเวณลานวัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร


ที่อยู่ : ถ.รอบเมืองใน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ลำพูน (วัดพระธาตุหริภุญชัย ลำพูน)

พิกัด : https://maps.app.goo.gl/Fvk6YWgmsdDmuyBB8



'สตูล'รณรงค์ 1 กระทง 1 ครอบครัวรักษ์สายน้ำ ร่วมแต่งชุดไทย-ชุดท้องถิ่น อนุรักษ์ประเพณี

'สตูล'รณรงค์ 1 กระทง 1 ครอบครัวรักษ์สายน้ำ ร่วมแต่งชุดไทย-ชุดท้องถิ่น สร้างภาพลักษณ์ต่อชาวต่างชาติ อนุรักษ์ประเพณีลอยกระทงไทย

เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับงานประเพณีลอยกระทงปีนี้ ทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสตูล นำโดยนางขนิษฐา คำจันทร์แก้ว วัฒนธรรมจังหวัดสตูล จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์รณรงค์เชิญชวน 1 ครอบครัว 1 กระทงร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทงเพื่อลดขยะในแม่น้ำลำคลอง และรณรงค์ให้ใส่ชุดไทยร่วมสืบสานประเพณีที่ดีงาม

ซึ่งปีนี้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้กำหนดแนวทางสืบสานคุณค่าทางวัฒนธรรมในงานประเพณีลอยกระทงประจำปี 2566 ภายใต้ชื่อ “ลอยกระทงสายน้ำแห่งวัฒนธรรม” เพื่อสืบสานคุณค่าทางวัฒนธรรมประเพณีลอยกระทงไปพร้อมส่งเสริมกิจกรรมที่สร้างสรรค์โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในชุมชน โดยเน้นเรื่องคุณค่าและสาระของวัฒนธรรมประเพณีการท่องเที่ยวและสุขภาพ และความเชื่อทางวัฒนธรรมในประเพณีลอยกระทงร่วมกันสืบสาน

พร้อมรณรงค์สร้างอัตลักษณ์ความเป็นไทย เช่น การแต่งกายด้วยชุดสุภาพผ้าไทย ผ้าท้องถิ่นหรือชุดไทยที่เป็นอัตลักษณ์แต่ละท้องถิ่น เพื่อสร้างภาพลักษณ์การรับรู้ต่อชาวต่างชาติ อีกทั้งเป็นการสร้างความตระหนักรู้ต่อประชาชนชาวไทย ในฐานะเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ รวมถึงการสร้างความภาคภูมิใจ และหวงแหนในประเพณีลอยกระทง


ระนอง – สีสันแรงงานเมียนมานับ 1,000 คนศรัทธาพุทธศาสนารวมตัวจัดทอดกฐิน

บรรยากาศที่บริเวณถนนเฉลิม พระเกียรติสายสะพานปลา ต.บางริ้น อ.เมือง จ.ระนอง มีแรงงานเมียนมาทั้งผู้หญิงผู้ชายเด็ก ผู้สูงอายุ ทั้งในส่วนที่ทำงานอยู่ในจังหวัดระนอง และในส่วนที่เดินทางมาจากหลายจังหวัดของประเทศเมียนมา โดยข้ามแดนมาจากจังหวัดเกาะสองประเทศเมียนมา จำนวน กว่า 1,000 คนต่างมาร่วมงานทอดกฐินทำบุญให้กับสำนักสงฆ์บางริ้น ซึ่งเป็นวัดเมียนมาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดระนอง มีพระสงฆ์จากประเทศเมียนมามาทำการจำวัดจำนวนมากเพื่อปฏิบัติธรรม

โดยในส่วนของชาวเมียนมาที่เป็นผู้ชายจะนุ่งขาวห่มขาวทั้งชุด เพื่อแสดงถึงความบริสุทธิทั้งร่างกายและจิตใจในการมาทำบุญ ส่วนผู้หญิงจะสวมเสื้อแขนยาวสีขาวพาดด้วยผ้าสะใบสีน้ำตาล ใส่ผ้าถุงสีน้ำตาล ทุกคนที่มาร่วมงานจะเดินเท้าเท้าเปล่า เพื่อแสดงความเคารพต่อพระสงฆ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตั้งแต่เดินนอกวัดจนเข้าไปในวัด ซึ่งภายในวัดมีแม่ค้าพ่อค้านำอาหารหลากหลายชนิดมาจำหน่ายอีกด้วย


มีการการจัดริ้วขบวนในแบบฉบับของชาวเมียนมาอย่างสวยงาม มีการนำรถยนต์มาตกแต่งอย่างสวยงามตามความเชื่อเรื่องพุทธศาสนา รถแห่ทุกคันมีพุ่มกฐินจำนวนมากที่ชาวเมียนมาทั้งที่อยู่ในจังหวัดระนองและทั้งที่อยู่ในประเทศเมียนมาได้ร่วมกันทำบุญ รอบข้างขบวนรถแห่ด้านขวาจะเป็นชายหนุม ส่วนด้านซ้ายจะเป็นหญิงสาวโดยเฉพาะเด็กจะถือขันเงินขนาดใหญ่ เพื่อรอรับเงินบริจาคจากผู้ที่ผ่านไป-มาได้ร่วมทำบุญทอดกฐิน



“ลอยกระทง 2566” ไขข้อสงสัยทำไมวันเพ็ญเดือนสิบสองน้ำนองเต็มตลิ่ง


วันลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปีของไทย ซึ่งเป็นค่ำคืนที่พระจันทร์เต็มดวงในฤดูน้ำหลากพอดี และเป็นวันที่ระดับน้ำขึ้นสูงสุด อันเนื่องจาก “ปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง”





ไม่มีความคิดเห็น