ฝากคำถามถึงดีเอสไอแม้ครั้งที่ 2
เจ้าหน้าที่รัฐยังติดกระดุมเม็ดแรกผิดอยู่หรือไม่
ผู้มีอำนาจจัดการแทนนิติบุคคล ป.วิ อาญา มาตรา 5 (3) บัญญัติว่า
"ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้เสียหายที่แท้จริง ผู้มีอำนาจจัดการแทนนิติบุคคลได้แก่ ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของนิติบุคคลเท่านั้น..."
ดังนั้น ผู้ถือหุ้นมิได้มีฐานะเป็นผู้แทนของนิติบุคคล
จากมาตรา 5 (3) นี้ มีคำถามว่า การที่ดีเอสไอรับร้องทุกข์จากนายธรรมนูญ ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่มีอำนาจจัดการแทน นิติบุคคลในคดีสหกรณ์นั้น
- เจ้าหน้าที่รัฐทำถูกต้องหรือไม่ ?
- คำร้องทุกข์นั้นมีผลเป็นคำร้องทุกข์หรือไม่ ?
- นำไปฟ้องฐานฉ้อโกงประชาชนได้หรือไม่ ?
- คำร้องทุกข์นั้นมีผลเป็นคำร้องทุกข์หรือไม่ ?
- นำไปฟ้องฐานฉ้อโกงประชาชนได้หรือไม่ ?
คำตอบอยู่ในคำพิพากษาฎีกาเหล่านี้หมดแล้ว
1. การรับร้องทุกข์จากผู้ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ คำร้องทุกข์นั้นย่อมไม่มีผลเป็นคำร้องทุกข์ ถูกต้องหรือไม่ ?
- คำพิพากษาฎีกาที่ 610/2515
- คำพิพากษาฎีกาที่ 610/2515
หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้แทนห้างหุ้นส่วนจำกัดมีอำนาจร้องทุกข์ได้
หุ้นส่วนที่ไม่ใช่หุ้นส่วนผู้จัดการไม่มีอำนาจร้องทุกข์
หุ้นส่วนที่ไม่ใช่หุ้นส่วนผู้จัดการไม่มีอำนาจร้องทุกข์
2. คำร้องทุกข์ที่ไม่มีผลเป็นคำร้องทุกข์
เจ้าหน้าที่รัฐย่อมไม่มีอำนาจในการสอบสวน
และไม่มีอำนาจในการฟ้อง ถูกต้องหรือไม่ ?
เจ้าหน้าที่รัฐย่อมไม่มีอำนาจในการสอบสวน
และไม่มีอำนาจในการฟ้อง ถูกต้องหรือไม่ ?
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2882/2527
บิดาของผู้เยาว์ซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เยาว์ ทั้งไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนว่าผู้เยาว์เป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าผู้เยาว์เป็นบุตร ไม่เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ และไม่มีอำนาจจัดการร้องทุกข์แทนผู้เยาว์ ในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 276 วรรคแรก จึงถือได้ว่าไม่มีคำร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการไม่มีอำนาจยื่นฟ้องคดีต่อศาล
บิดาของผู้เยาว์ซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เยาว์ ทั้งไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนว่าผู้เยาว์เป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าผู้เยาว์เป็นบุตร ไม่เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ และไม่มีอำนาจจัดการร้องทุกข์แทนผู้เยาว์ ในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 276 วรรคแรก จึงถือได้ว่าไม่มีคำร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการไม่มีอำนาจยื่นฟ้องคดีต่อศาล
3. ผู้ฝากเงินไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจร้องทุกข์ เจ้าหน้าที่รัฐไม่มีอำนาจฟ้องฐานฉ้อโกงประชาชน ถูกต้องหรือไม่ ?
- คำพิพากษาฎีกาที่ 87/2506
ผู้รับฝากเงินมีอำนาจเอาเงินที่รับฝากไปใช้จ่ายได้ และมีหน้าที่คืนเงินแก่ผู้ฝากให้ครบจำนวน ฉะนั้น การที่ผู้รับฝากจ่ายเงินให้จำเลยไป เพราะถูกจำเลยหลอกลวง ต้องถือว่าผู้รับฝากเป็นผู้เสียหาย
ส่วนผู้ฝากไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจร้องทุกข์ เมื่อปรากฏว่า ผู้รับฝากไม่ได้ร้องทุกข์ ผู้ว่าคดี(อัยการ)ไม่มีอำนาจฟ้อง ในความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341
ผู้รับฝากเงินมีอำนาจเอาเงินที่รับฝากไปใช้จ่ายได้ และมีหน้าที่คืนเงินแก่ผู้ฝากให้ครบจำนวน ฉะนั้น การที่ผู้รับฝากจ่ายเงินให้จำเลยไป เพราะถูกจำเลยหลอกลวง ต้องถือว่าผู้รับฝากเป็นผู้เสียหาย
ส่วนผู้ฝากไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจร้องทุกข์ เมื่อปรากฏว่า ผู้รับฝากไม่ได้ร้องทุกข์ ผู้ว่าคดี(อัยการ)ไม่มีอำนาจฟ้อง ในความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341
Cr : Ptt Cnkr
ไม่มีความคิดเห็น