ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

สังคมกำลังจับตา สนช.ส่อลักไก่ แก้กฎหมายสถาปนาพระสังฆราช ตัดลำดับอาวุโสโดยสมณศักดิ์ ซึ่งหลายคนเชื่อว่า จงใจสกัดสมเด็จวัดปากน้ำ??



สังคมกำลังจับตา สนช.ส่อลักไก่ แก้กฎหมายสถาปนาพระสังฆราช
ตัดลำดับอาวุโสโดยสมณศักดิ์  ซึ่งหลายคนเชื่อว่า จงใจสกัดสมเด็จวัดปากน้ำ??



#TV24 สื่อในเครือเนชั่นกรุ๊ป รายงานว่า ขณะนี้ได้มีสมาชิกสภานิติบัญญัติ หรือ สนช. จำนวนหนึ่ง นำโดย พล.ต.อ.พิชิต ควรเดชะคุปต์ ประธานกรรมาธิการ การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว ได้รวบรวมรายชื่อสมาชิก สนช. เพื่อเสนอแก้ไข พรบ.คณะสงฆ์ 2505 แก้ไขเพิ่มเติมปี 2535 ในมาตรา 7 โดยแก้ไขให้มีข้อความว่า ให้เหลือใจความสำคัญคือ “การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ให้เป็นพระราชอำนาจ” ส่วนเรื่องเงื่อนไขอื่นๆ คือ ลำดับอาวุโสโดยสมณศักดิ์ให้ตัดออก
แหล่งข่าวดังกล่าว เปิดเผยว่า ขณะนี้มีสมาชิก สนช. ร่วมลงชื่อหลายคนแล้ว ขั้นตอนต่อไปหลังจากสมาชิกลงรายชื่อครบตามที่กฎหมายกำหนดคือ 25 คน จะเสนอเรื่องดังกล่าวไปยังคณะกรรมการกลั่นกรองกฎหมายที่ประธาน สนช.แต่งตั้งขึ้นมา เพื่อตรวจสอบว่าการเสนอแก้ไข พ.ร.บ.นี้เป็น พรบ.การเงินหรือไม่ เป็นเป็น พ.รงบ.การเงิน จะต้องให้นายกฯรับรองก่อน แต่หากไม่ใช่ก็สามารถส่งเข้าวิป สนช. เพื่อพิจารณาได้เลย
จากนั้น วิป สนช.จะเสนอไปยัง ครม. เพื่อแจ้งให้ทราบว่า สนช.จะเสนอร่างกฎหมายนี้เพื่อให้ ครม.พิจารณาว่าจะเสนอร่างกฎหมายมาประกบหรือไม่ คาดว่าขั้นตอนนี้ต้องใช้เวลาประมาณ 30 วัน จากนั้นก็เข้าสู่การพิจารณาของ สนช.
ซึ่งแหล่งข่าวกล่าวว่า เรื่องนี้มีการเคลื่อนไหวมาช่วงต้นเดือนธันวาคม แต่ไม่ต้องการให้มีการเผยแพร่ออกไป เพราะเกรงว่าจะมีแรงต่อต้าน และมีการคาดว่าอาจจะมีการผลักดันให้ผ่าน 3 วาระรวด
ทั้งนี้ เนื้อหาในมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ปี 2535 มี 3 วรรค ดังนี้
“มาตรา 7 พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง
ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอ นามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช
ในกรณีที่สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ไม่อาจปฏิบัติ หน้าที่ได้ให้นายกรัฐมนตรีโดย ความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นผู้มีอาวุโสโดย สมณศักดิ์รองลงมา ตามลำดับ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช”
 ซึ่งหาก สนช.ทำได้สำเร็จจริง มาตรา 7 ก็จะเหลือเพียงวรรคเดียว นั่นหมายความว่า สมเด็จพระสังฆราช อาจเป็นรูปใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นพระมหาเถระที่มีคุณสมบัติด้านความอาสุโสตามสมณศักดิ์ ที่เชื่อว่าจะเป็นปัญหาในการปกครองคณะสงฆ์ที่ยึดหลักการนี้ รวมทั้งอาจนำมาซึ่งความแตกแยกในหมู่สงฆ์และพุทธศาสนิกชน
 อย่างไรก็ตาม การเตรียมแก้ พ.ร.บ.สงฆ์ประเด็นที่มาพระสังฆราช ของ สนช.ครั้งนี้ สอดคล้องกับกลุ่มคัดค้าน สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ หรือสมเด็จช่วง วรปุญฺโญ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ให้ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 ที่ต้องการแก้ไข พ.ร.บ.คณะสงฆ์ คืนพระราชอำนาจแต่งตั้งพระสังฆราช ทั้งๆที่สมเด็จช่วง มีคุณสมบัติครบถ้วน และได้รับการเสนอนาม จากที่ประชุมมหาเถรสมาคม ที่ประกอบไปด้วยพระสงฆ์จากทั้งมหานิกาย และฝ่ายธรรมยุติ ด้วยมติเอกฉันท์
 แต่ถึงอย่างไร กระบวนการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ก็ยืดเยื้อมาจนถึงเวลานี้ ที่สำคัญ ข่าวการเตรียมแก้กฎหมายครั้งนี้ ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ แต่กลับดำเนินการอย่างเงียบงัน ซึ่งอาจจะซ้ำรอย กรณี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่ผ่าน 3 วาระอย่างง่ายดาย ท่ามกลางข่าวการดำเนินคดีและการบุกวัดพระธรรมกาย ที่ถูกตีกระแสเป็นเป็นข่าวกลบการลักไก่แก้กฎหมายครั้งนี้หรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น