จากการวิจัยของ กิจจ์ศรัณย์ จันทร์โป๊ และ ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้ทำการทดลองกับนิสิตจุฬา ฯ จำนวน ๖๐ คนโดยให้สวดมนต์ ๓๐ คน และทำสมาธิ ๓๐ คน ชาย-หญิงอย่างละ ๑๕ คน และทำการวัดคลื่นสมองทีละคนในขณะสวดมนต์ ๓๐ นาที และผู้ทำสมาธิ ๓๐ นาที
บันทึกการทำงานของสมองตลอดระยะเวลา ๓๐ นาที ผลปรากฎ ว่าทั้ง ๓๐ คนในการสวดมนต์ทีละคน ได้ผลเหมือนกัน คือนาทีที่ ๐ - ๕ นาทีแรกจิตยังซัดส่าย พอนาทีที่ ๕ - ๑๐, ๑๐ - ๑๕, ๑๕ - ๒๐, ๒๐ - ๒๕, ๒๕ - ๓๐ คลื่นสมองจะบอกถึงการดิ่งของจิตที่สงบจนจบต่อเนื่องถึงหลังการทดลองอีกระยะหนึ่ง.
ส่วนการทำสมาธิจะได้ผลดีที่สุดอยู่ที่ นาทีที่ ๐ - ๕ พอเข้านาทีที่ ๕ - ๑๐, ๑๐ - ๑๕, ๑๕ - ๒๐ … จบจนการทดลองจิตจะซัดส่าย คลื่นสมองจะไม่นิ่ง อันเนื่องจากมีนิวรณ์ ๕ เข้ามาเป็นเครื่องกั้นการทำงานของจิตต่อการทำสมาธิ ดังนั้นจิตที่ยังมีนิวรณ์ ๕ อยู่เช่นนี้ย่อมจะไม่สามารถเป็นสมาธิได้ ต้องฝึกเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอจะสามารถกำจัดนิวรณ์ได้.
ซึ่งการทดลองนี้สอดคล้องกับมาตรฐานสัญญาณคลื่นสมองอัลฟ่าผ่อนคลายเมื่อหลับตาลง ซึ่งเป็นช่วงที่ดีที่สุดในระยะแรก
ฉะนั้นทำให้เรารู้ว่าการสวดมนต์ก่อนทำสมาธิจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจิตเราจะจดจ่อกับ บทสวดมนต์อยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคลื่นสมองอัลฟ่าเกิดขึ้นและคงอยู่ได้อย่างต่อเนื่องจนหลังการทดลองอีก ๕ นาที. ซึ่งจะเป็นช่วงที่เข้าสู่การทำสมาธิได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อฝึกบ่อย ๆ นิวรณ์ ๕ ก็จะหมดไป
อ้างอิง http://www.spsc.chula.ac.th/…/web…/main2007/journal/15-2.pdfวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2557)
#หากข้อความเป็นประโยชน์ โปรดแชร์เป็นธรรมทานนะคะ
Cr ; บัลลังก์ธรรม
ไม่มีความคิดเห็น