ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

6 คำถามที่ประชาชนสงสัยข้อหาหลังจากที่ได้อ่านคำพิพากษาฎีกา หลวงพ่อวัดพระธรรมกาย??


6 คำถามที่ประชาชนสงสัยข้อหาหลังจากที่ได้อ่านคำพิพากษาฎีกา

หลวงพ่อวัดพระธรรมกาย??



คำพิพากษาฎีกาที่ 87/2506
ผู้รับฝากเงินมีอำนาจเอาเงินที่รับฝากไปใช้จ่ายได้ และมีหน้าที่คืนเงินแก่ผู้ฝากให้ครบจำนวน ฉะนั้น การที่ผู้รับฝากจ่ายเงินให้จำเลยไป เพราะถูกจำเลยหลอกลวง ต้องถือว่าผู้รับฝากเป็นผู้เสียหาย ส่วนผู้ฝากไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจร้องทุกข์ เมื่อปรากฏว่าผู้รับฝากไม่ได้ร้องทุกข์ ผู้ว่าคดี(อัยการ)ไม่มีอำนาจฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 (ความผิดต่อส่วนตัว)
-------------------------------------------------------------
ถ้าว่าตามฎีกานี้ สหกรณ์คือผู้เสียหาย ผู้ที่มีอำนาจร้องทุกข์และอำนาจฟ้องตามกฎหมายก็คือสหกรณ์ ส่วนสมาชิกสหกรณ์ไม่ใช่ผู้เสียหาย จึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์
คำถาม
1. นายธรรมนูญ ซึ่งไม่ใช่ผู้บริหารสหกรณ์ มีอำนาจในการร้องทุกข์หรือไม่ และเหตุใดเจ้าหน้าที่รัฐจึงรับร้องทุกข์จากบุคคลที่ไม่ใช่ผู้เสียหาย ?
2. สหกรณ์ซึ่งเป็นผู้เสียหายตัวจริง ถอนฟ้องหลวงพ่อวัดพระธรรมกายไปแล้ว คดีที่ไม่มีผู้เสียหายแล้ว เจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจในการสอบสวนคดีที่ถอนฟ้องไปแล้วหรือไม่ ?
3. หลวงพ่อวัดพระธรรมกายไม่ใช่ผู้ทำให้สหกรณ์เสียหาย เพราะผู้บริหารสหกรณ์ได้มอบ "พยานเอกสาร" ให้เจ้าหน้าที่รัฐไปตรวจสอบแล้ว และยืนยันว่าไม่พบหลักฐานว่าไม่พบหลักฐานว่าหลวงพ่อเป็นผู้นำเงินออกมาจากสหกรณ์แม้แต่บาทเดียว การที่เจ้าหน้าที่รัฐดำเนินคดีต่อผู้ที่ไม่ได้ทำความผิดและไม่ได้ทำความเสียหายต่อสหกรณ์เป็นความถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ ?
4) ศาลปกครองและศาลแพ่งให้คำพิพากษาแล้วว่า ความเสียหายของสหกรณ์เกิดขึ้นจากการบริหารผิดพลาดของผู้บริหารสหกรณ์เอง ซึ่งสาเหตุเกิดจากการปล่อยกู้และกู้เองอย่างผิดระเบียบ เรื่องนี้จึงไม่เกี่ยวกับวัดพระธรรมกาย เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจกฎหมายมาตราใดในการกล่าวหาและจะนำตัวหลวงพ่อวัดพระธรรมกายซึ่งไม่ใช่ผู้กระทำความผิดไปอยู่ในการควบคุมตัวของอำนาจรัฐ ?
5. สหกรณ์ยืนยันว่าไม่พบหลักฐานว่าหลวงพ่อวัดพระธรรมกายนำเงินออกมา แปลว่าไม่มีเหตุอันควรให้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ฉ้อโกงประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจใดจาก "พยานวัตถุ พยานเอกสาร พยานบุคคล" ในการกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิด เพื่อจะควบคุมตัวไว้ในอำนาจรัฐ
6. การฟ้องข้อหาฟอกเงิน ต้องฟ้องข้อหาฉ้อโกงประชาชนก่อน และต้องมีคำพิพากษาอันเป็นที่สิ้นสุด แต่หลวงพ่อวัดพระธรรมกายไม่เคยทำธุรกรรมการเงินและนิติกรรมสัญญาร่วมกับสหกรณ์แม้แต่บาทเดียว เจ้าหน้าที่รัฐอ้างหลักฐานและอำนาจใดในการกล่าวหาว่าฉ้อโกงประชาชน เป็นความผิดมูลฐานการฟอกเงิน
  ทั้งหมดนี้คือความสงสัยของประชาชนหลังจากที่ได้อ่านคำพิพากษาฎีกาที่ 87/2506 หวังว่าจะได้รับความกระจ่างจากเจ้าหน้าที่บ้านเมืองที่รุมกันตั้งข้อหาหลวงพ่อวัดพระธรรมกายอยู่ในห้วงเวลานี้

Cr : Ptt Cnkr

ไม่มีความคิดเห็น