ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธเถรวาท ตอนที่ 3 เรื่องอัตตาที่แท้จริง (2)


หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธเถรวาท

ตอนที่ 3 เรื่องอัตตาที่แท้จริง (2)


สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสสอนพระสาวกว่า “อัตตะทีปา ภิกขะเว วิหะระถะ อัตตะสะระณา อะนัญญะสะระณา ธัมมะทีปา ธัมมะสะระณา อะนัญญะสะระณาฯ


ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเป็นผู้มี `ตน‘ เป็นเกาะ มี `ตน‘ เป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงเป็นผู้มี `ธรรม‘ เป็นเกาะ มี `ธรรม‘ เป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด”
(บาลี ที.ปา.11/49/84)

และพระองค์ทรงตรัสว่า พระองค์ทรงมีพระนามเรียกต่าง ๆ กันไปตามสภาวธรรมที่พระองค์เข้าถึงแก่สามเณรวาเสฏฐะและภารทวาชะว่า “ตะถาคะตัสสะ เหตัง วาเสฏฐา อะธิวะจะนัง ธัมมะกาโย อิติปิ พรหฺมะกาโย อิติปิ ธัมมะภูโต อิติปิฯ

ดูก่อนวาเสฏฐะ (และภารทวาชะ) เพราะคำว่า `ธรรมกาย‘ ก็ดี คำว่า `พรหมกาย‘ ก็ดี คำว่า `ธรรมภูต‘ ก็ดี คำว่า `พรหมภูต‘ ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต”
(บาลี ที.ปา.11/55/92)

เรื่อง “อัตตา” คือ “ตัวตน” ที่พระพุทธองค์ตรัสว่า จงเป็นผู้มีตน (อัตตา) เป็นเกาะ และมีตน (อัตตา) เป็นที่พึ่งนั้น ทรงหมายเอาตัวตน 2 ระดับ คือ `ระดับโลกิยธรรม‘ และ `ระดับโลกุตตรธรรม‘ ดังที่พระอรรถกถาจารย์ได้อธิบายความหมายของ “อัตตา-ตัวตน” นี้ไว้ว่า “โก ปะเนตถะ อัตตา นามะ? โลกิยะโลกุตตระธัมโมฯ

ถามว่า ก็อะไร ชื่อว่า `อัตตา‘ ในคำว่า `อัตตะทีปา‘ เป็นต้นนี้ แก้ว่า `โลกิยธรรมและโลกุตตรธรรม‘ ชื่อว่า อัตตา”
(สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฑนิกาย ปาฏิกวรรค ภาค 3 หน้า 30-31)

(1) อัตตาระดับโลกิยธรรม ชื่อว่า เป็นตัวตนโดยสมมติ คือ เป็นที่พักอาศัยชั่วคราว-ไม่ได้ถาวรตลอดไป ของสรรพสัตว์ที่เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์ เป็นตัวตนที่ประกอบด้วยสังขารธรรม (ธรรมชาติที่ถูกปรุงแต่ง) ทั้งฝ่ายรูปธรรม คือ “มหาภูตรูป 4” ได้แก่ ธาตุดิน-ธาตุน้ำ-ธาตุไฟ-ธาตุลม และฝ่ายนามธรรม คือ “เบญจขันธ์” ได้แก่ รูป-เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ จึงมีสภาพที่ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย ภายใต้กฎไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

พระพุทธองค์ทรงประทานหลักการใช้พิจารณาสิ่งที่เป็นพระไตรลักษณ์เอาไว้ว่า
“ยะทะนิจจัง ตัง ทุกขัง ยัง ทุกขัง ตะทะนัตตาฯ

สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา”
(บาลี สํ.ข.17/42/28)

เพราะเหตุนั้น “พระพุทธโฆษาจารย์” ผู้รจนาคัมภีร์พระวิสุทธิมรรค ได้อรรถาธิบายพระพุทธดำรัสว่า “สัพเพ ธัมมา อะนัตตา” นี้ไว้ในคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถาว่า
“ตัตถะ สัพเพ ธัมมาติ ปัญจักขันธา เอวะ อะธิปเปตา อะนัตตาติ มา ชีรันตุ มา มียันตูติ วะเส วัตเตตุง นะ สักกาติ อะวะสะวัตตะนัตเถนะ อะนัตตา สุญญา อัสสามิกา อะนิสสะราติ อัตโถ

พระพุทธพจน์ว่า `สัพเพ ธัมมา‘ ในพระคาถานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาเบญจขันธ์เท่านั้น. พระพุทธพจน์ว่า `อะนัตตา‘ ความว่า ชื่อว่าอนัตตา คือความว่างเปล่า ไม่มีเจ้าของ ไม่มีอิสระ เพราะความหมายว่า ไม่เป็นไปในอำนาจว่า ใคร ๆ ไม่อาจให้เป็นไปในอำนาจว่า ธรรมทั้งปวงจงอย่าแก่ จงอย่าตาย”
(คัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา อรรถกถาขุททกนิกาย ธรรมบทคาถา ภาค 7 หน้า 61)

#อ่านต่อตอนที่ 4 นะครับ

เรียบเรียงโดย “ตั้งอยู่ในธรรม”
อ้างอิง : หนังสือประสบการณ์การศึกษาสัมมาปฏิบัติ ตามแนวสติปัฏฐาน 4 ถึงธรรมกาย และพระนิพพานของพระพุทธเจ้า โดย พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล) เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม,หน้า 39-46.

Cr.Peet-Gunatthito

ไม่มีความคิดเห็น