ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธเถรวาท ตอนที่ 4 เรื่องอัตตาที่แท้จริง (จบ)


หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธเถรวาท ตอนที่ 4 เรื่องอัตตาที่แท้จริง (จบ)




ในคัมภีร์มโนรถปูรณี แสดงความหมายของคำว่า `สัพเพ ธัมมา‘ เอาไว้ว่า


“สัพเพ ธัมมา นาลัง อะภินิเวสายะ เอตถะ สัพเพ ธัมมา นามะ ปัญจักขันธา ทะวาทะสายะตะตานิ อัฏฐาระสะ ธาตุโย เต สัพเพปิ ตัณหาทิฏฐิวะเสนะ อะภินิเวสายะ นาลังนะปะริยัตตา นะ สะมัตตานะ ยุตตา. กัสฺมา.คะหิตากาเรนะ อะติฏฐันโต. เต หิ `นิจจา สุขา อัตตาติ คะหิตาปิ อะนิจจา ทุกขา อะนัตตาวะ สัมปัชชันติ. ตัสฺมา นาลัง อะภินิเวสายะ.


ในพระพุทธพจน์ว่า `สัพเพ ธัมมา นาลัง อะภินิเวสายะ‘ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ชื่อว่า `ธรรมทั้งปวง‘ ก็คือ ขันธ์ 5 , อายตนะ 12 , ธาตุ 18 ธรรมแม้ทั้งหมดนั้น ไม่ควร คือ ไม่ถูก ไม่ชอบ ไม่เหมาะ ที่จะยึดมั่น ด้วยตัณหาและทิฏฐิ. เพราะเหตุไร ธรรมแม้ทั้งหมดนั่นจึงไม่ควรยึดมั่น. เพราะธรรมเหล่านั้นไม่ตั้งอยู่โดยอาการที่จะยึดถือไว้. จริงอยู่ ธรรมเหล่านั้น แม้ตนจะยึดถือเอาว่า `สังขารทั้งหลายเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา‘ ก็ย่อมสำเร็จว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาอยู่นั่นเอง. เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งปวงนั้น จึงไม่ควรยึดมั่น”


(คัมภีร์มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ภาค 3 หน้า 193.)


พระพุทธดำรัสว่า “สัพเพ ธัมมา อะนัตตา-ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” จึงหมายเอาเฉพาะสังขารธรรมทั้งหลาย กับธรรมอื่นที่ไม่มีแก่นสารในความเป็นตัวตนเท่านั้น มิได้รวมถึงวิสังขาร คือ พระนิพพาน อันเป็นปรมัตถธรรม ที่มีสาระ (สารัง นิพพานัง) เป็นอสังขตธรรม (อะสังขะตัง นิพพานัง) และเป็นอมตธรรม (อะมะตัง นิพพานัง) ด้วยแต่ประการใด.


(บาลี ขุ.ปฏิ.31/735/629-634)


(2) อัตตาระดับโลกุตตระ หรืออัตตาโดยปรมัตถธรรม คือ `สภาวะที่เป็นอัตตาแท้‘ ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแก่พระภิกษุทั้งหลาย ให้พากันอาศัยอัตตาโลกิยะอันเป็นเพียงสมมติบัญญัติ ปฏิบัติธรรมเจริญสติปัฏฐาน 4 เพื่อความบรรลุ คือ เพื่อความเข้าถึง รู้-เห็น-เป็น พระนิพพานธาตุ ที่มีอยู่โดยปรมัตถ์ ณ ภายใน เป็นที่พึ่งอย่างแท้จริง คือ เป็นสภาพไม่วิปริต ดังเช่น อัตตาที่พวกลัทธิภายนอกศาสนาพากันกำหนดถือเอา โดยอาการอันวิปริตตรงข้ามกับความจริงจากอัตตาที่มีอยู่โดยปรมัตถ์นั้น


สำหรับข้อความในพระพุทธพจน์ที่ทรงแสดงว่า `อัตตาโลกุตตระ‘ คือ `ธรรมโดยปรมัตถ์‘ นี้ มีปรากฎดังเช่นคำว่า “อัตตะทีปา” คัมภีร์อรรถกถาชื่อ สุมังคลวิลาสินี ได้อธิบายคำว่า “อัตตา” ในที่นี้ว่าหมายถึง “พระนิพพาน” อันเป็นที่พึ่งดุจเกาะ ส่วนคำว่า “ธัมมะ” ซึ่งเป็นคำไวพจน์ของคำว่า “อัตตา” ท่านหมายถึง “โลกุตตรธรรม 9” เอาไว้ดังนี้


“อัตตะทีปาติ มะหาสะมุททะคะตา ทีปัง วิยะ อัตตานัง ทีปัง ปะติฏฐัง กัตฺวา วิหะระถะ. อัตตาสะระณาติ อัตตะคะติกา โหถะ, มา อัญญะคะติกา. ธัมมะทีปะธัมมะสะระณะปะเทสุปิ เอเสวะ นะโย. เอตถะ จะ ธัมโมติ นะวะวิโธ โลกุตตะระ เวทิตัพโพ.


บทว่า `อัตตะทีปา‘ ความว่า ท่านทั้งหลายจงทำอัตตาให้เป็นที่พึ่ง (คือ พระนิพพานอันเป็นที่พึ่งดุจเกาะ) ดุจชนผู้อยู่ท่านกลางมหาสมุทรกระทำเกาะให้เป็นที่พึ่งอยู่เถิด. บทว่า `อัตตะสะระณา‘ คือ จงมีอัตตาเป็นคติ (ที่ไป) จงอย่ามีสิ่งอื่นเป็นคติ (ที่ไป). แม้ในบทว่า `ธัมมะทีปะ‘ และ `ธัมมะสะระณะ‘ ก็มีนัยเดียวกันนั่นแล. อนึ่งพึงทราบว่า คำว่า `ธรรม‘ ในที่นี้ ได้แก่ โลกุตตรธรรม 9 อย่าง.”


(สารัตถทีปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม 3 หน้า 277.)


“อัตตาโลกุตตระ” อันเป็นปรมัตถธรรมที่พระอริยเจ้า เช่น พระปัญจวัคคีย์ เป็นต้น ผู้ได้สดับพระธรรมเทศนา “อนัตตลักขณสูตร” จากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันแล้ว และได้บรรลุแล้วนี้แหละ คือ ธรรมที่พระสุปฏิปันโน อันมีหลวงพ่อวัดปากน้ำฯ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ,สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถระ) และหลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถระ ฯลฯ ท่านกล่าวหมายถึง ซึ่งแสดงว่า


“พระนิพพานเป็นสภาพเที่ยง (นิจจัง) เป็นบรมสุข (ปะระมัง สุขัง) และเป็นตัวตน (อัตตา) ที่แท้จริง (มิใช่อัตตาโลกิยะ อันเป็นเพียงอัตตาสมมติ หรืออัตตาเทียม)”


#อ่านต่อตอนที่ 5 นะครับ


เรียบเรียงโดย “ตั้งอยู่ในธรรม”


อ้างอิง : หนังสือประสบการณ์การศึกษาสัมมาปฏิบัติ ตามแนวสติปัฏฐาน 4 ถึงธรรมกาย และพระนิพพานของพระพุทธเจ้า โดย พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล) เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม,หน้า 47-56.


Cr.Peet-Gunatthito

ไม่มีความคิดเห็น