ผลการศึกษาจาก OECD (The Organisation for Economic Co-operation and Development) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เราคุ้นเคยกับการประเมินสมรรถภาพนักเรียนทั่วโลก เปิดเผยถึงความสามารถในการรับมือกับ fake news และข้อมูลข่าวสารที่ผิดพลาดของเด็กอายุ 15 จากทั่วโลก
พบว่าเด็กไทยมีศักยภาพต่ำมากในเรื่องนี้
โดยอยู่ในอันดับเกือบจะท้ายสุดของ 77 ประเทศทั่วโลกที่ OECD ทำการประเมิน (ไทยอยู่ในอันดับที่ 76 ในขณะที่อินโดนีเซียอยู่ในอันดับที่ 77)
ผลการศึกษาดังกล่าวนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการวัดผล PISA 2018 ซึ่งได้วัดความสามารถทางด้านดิจิทัลของผู้เข้าร่วมการทดสอบ โดยทำการสอบถามว่าผู้เข้าร่วมการทดสอบได้มีการเรียนรู้ถึงเรื่องราว 7 ข้อนี้ ในห้องเรียนหรือไม่
1) การใช้ keyword ในการค้นหาข้อมูลผ่าน search engine
2) การตัดสินใจถึงความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ค้นหามาได้
3) การเปรียบเทียบข้อมูลจากเว็บ เพื่อนำข้อมูลที่เหมาะสมที่สุดมาตอบคำถามของวิชาที่เรียน
4) ความเข้าใจถึงผลกระทบจากการเผยแพร่ข้อมูลออนไลน์
5) การใช้ข้อมูลสั้นๆ ด้านใต้ลิงค์ ที่ได้จาก search engine
6) การแยกแยะข้อมูลว่าเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลที่มีอคติหรือเป็นข้อเท็จจริง
7) การวิเคราะห์ว่าเมล์ที่ได้รับมาเป็น SPAM หรือเมล์หลอกลวง
ซึ่งผลการทดสอบที่ออกมา พบว่าเด็กไทยได้รับการสอนเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ในห้องเรียนน้อยมาก ซึ่งก็ทำให้มีผลต่อทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ต่ำของเด็กไทยในปัจจุบันนี้ ดังที่งานวิจัยในเรื่องนี้ได้มีรายงานไว้ (https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0959475217300415)
ที่มาของข้อมูล
https://www.oecd-ilibrary.org/docserver/6ad5395e-en.pdf
——
อธิบายเพิ่มเติมเรื่องการวัดค่าดัชนีที่แสดงในภาพของ PISA 2018
ค่าดัชนีดังกล่าวเป็นการใช้คำถามในแบบ scenario-based เพื่อใช้วัดความรู้ของผู้เข้ารับการทดสอบในด้านกลยุทธในการอ่านเพื่อประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล (Student’s knowledge of reading strategies for assessing the credibility of sources)
ซึ่งคำถามในเรื่องดังกล่าวก็จะเกี่ยวกับการวิเคราะห์ว่าข้อมูลที่ปรากฎอยู่น่าเชื่อถือเพียงใด เป็น Phishing, fake news หรือ spam หรือไม่
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากลิงค์ในข้อความด้านบน
ไม่มีความคิดเห็น