6 ประเด็นที่ประชาชนสงสัยมากที่สุด เกี่ยวกับคดีฟอกเงิน
สำหรับผู้ติดตามข่าวคดีสหกรณ์มาถึงวันนี้ ก็ 10 เดือนเต็มแล้ว คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า หลังจากคำวินิจฉัยของศาลปกครองออกมาว่า "คดีสหกรณ์นั้นเกิดจากการบริหารผิดพลาดร่วมกัน ระหว่างผู้บริหารสหกรณ์กับกรมส่งเสริมสหกรณ์"
ซึ่งเท่ากับช่วยยืนยันให้เกิดความชัดเจน 3 ประเด็นว่า
1. ผู้เสียหายคือสหกรณ์ ไม่ใช่ประเทศ ไม่ใช่สมาชิกสหกรณ์ จึงไม่ใช่คดีอาญา แต่เป็นคดีแพ่ง
2. ความเสียหายของสหกรณ๋นั้น ไม่ได้เกิดจากวัดพระธรรมกาย แต่เกิดจากการบริหารโดยประมาท
ใครจะมาอ้างว่าวัดพระธรรมกาย ทำให้สหกรณ์เสียหายไม่ได้ หากใครมาอ้างเข้าข่ายละเมิดอำนาจศาล
ใครจะมาอ้างว่าวัดพระธรรมกาย ทำให้สหกรณ์เสียหายไม่ได้ หากใครมาอ้างเข้าข่ายละเมิดอำนาจศาล
3. การรับบริจาคโดยไม่รู้ที่มาของเงินนั้น ไม่ใช่การทำผิดอาญา เพราะความผิดทางอาญานั้น มี 2 ประเภท คือผิดในตัวมันเองกับผิดเพราะกฎหมายห้าม แต่การรับบริจาคเกิดจากความศรัทธาของประชาชน ไม่ใช่การข่มขู่ ไม่ใช่การกรรโชก ไม่ใช่การหลอกลวง แต่เกิดจากศรัทธา จึงไม่ใช่ความผิดในตัวมันเอง และไม่ใช่ความผิดเพราะกฎหมายห้าม เพราะประเทศไทยไม่ได้มีกฎหมายห้ามพระรับบริจาค
เส้นทางการเงินที่เกิดขึ้นนั้น มันจึงไม่เข้าเงื่อนไขใดๆ เลยเกี่ยวกับการฟอกเงิน เพราะหลักฐานการเงินและเส้นทางการเงินนั้น สามารถตรวจสอบได้หมดทุกขั้นตอน
คราวนี้เมื่อหันมามองดูการทำงาน ในกระบวนการสอบสวนบ้าง เราก็จะพบว่า มีบุคคลบางท่านที่แสดงเจตนาอย่างชัดเจนว่า มีเป้าประสงค์จะจับพระท่านไปตับแตกในคุกตั้งแต่แรก เลยชี้นำให้เจ้าหน้าที่รัฐทำงานแบบลัดขั้นตอนมาตลอด
เช่น ชี้นำดีเอสไอเรื่อง "ออกหมายจับ" บ้าง ใช้ พรบ.สงฆ์ "จับสึก" ได้ทันทีบ้าง พาสมาชิกที่ไม่ใช่ตัวแทนสหกรณ์ไปแจ้งข้อหาฟอกเงินบ้าง ให้สัมภาษณ์ชี้นำให้ใช้กำลังจับกุมด้วยความรุนแรงบ้าง
พฤติกรรมในรอบที่แล้วเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงการโฆษณาใส่ร้าย ในที่สาธารณะ ผ่านสื่อมวลชนอย่างชัดเจน และเป็นการชี้นำให้สังคมเชื่อว่าผู้อื่นมีความผิด ทั้งที่เรื่องยังไม่ไปถึงขั้นตอนของศาล
ครั้นมารอบนี้ พฤติกรรมยิ่งตอกย้ำเจตนา โฆษณาใส่ร้ายในที่สาธารณะอย่างชัดเจนขึ้นไปอีก โดยรอบนี้ถึงกับชี้นำกดดันให้อัยการให้สั่งฟ้อง โดยไม่สนใจเลยว่า สำนวนการสอบสวนของดีเอสไอนั้น
จะติดปัญหาอะไรหรือเปล่า
จะติดปัญหาอะไรหรือเปล่า
เพราะก็อย่างที่รู้ๆ กันอยู่ว่า ตลอด 2 เดือนมานี้ ดีเอสไอวุ่นวายอยู่กับคดีตับแตกในห้องขัง อย่าว่าแต่มีเวลาไปทำสำนวนสอบสวนของเรื่องคนอื่นเลย แค่สำนวนสอบสวนเรื่องผลสอบนิติเวชของตัวเองก็หมดเวลาแล้ว
การที่บางท่านออกมาชี้นำให้อัยการฟ้องศาล ทั้งที่ดีเอสไอวุ่นวายอยู่กับคดีตับแตกเป็นเดือนๆ เช่นนี้
ชวนให้เกิดความสงสัยว่า
ชวนให้เกิดความสงสัยว่า
1. เอกสารที่ดีเอสไอต้องส่งสำนวนมาให้อัยการนั้น มันครบองค์ประกอบข้อหาฟอกเงินจริงหรือไม่ ?
2. การฟ้องข้อหาฟอกเงินต้องมีคดีมูลฐานก่อน ถ้าคดีมูลฐานยังไม่มี ยังพิจารณาไม่จบ จะฟ้องข้อหาฟอกเงินได้หรือไม่ ?
3. การชี้นำให้อัยการสั่งฟ้องก่อนถึงกำหนดนัด การกระทำแบบมีเจตนาสั่งให้อัยการทำผิดลัดขั้นตอนใช่หรือไม่
4. การมีเจตนาชี้นำให้อัยการสั่งฟ้องโดยลัดขั้นตอน ทำแบบนี้ละเมิดอำนาจอัยการหรือไม่
5. การที่ท่านชี้นำอัยการให้ลัดขั้นตอนออกสื่อนั้น ท่านชี้นำกระบวนการกฎหมายในฐานะใด
1) ผู้เสียหายในคดี
2) ผู้บริหารสหกรณ์
3) สมาชิกสหกรณ์
4) ที่ปรึกษาสหกรณ์
5) ข้าราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์
6) อธิบดีกรมดีเอสไอ
7) อธิบดีสำนักงานอัยการ
ท่านเกี่ยวข้องกับคดีนี้ในฐานะใดอย่างนั้นหรือ
1) ผู้เสียหายในคดี
2) ผู้บริหารสหกรณ์
3) สมาชิกสหกรณ์
4) ที่ปรึกษาสหกรณ์
5) ข้าราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์
6) อธิบดีกรมดีเอสไอ
7) อธิบดีสำนักงานอัยการ
ท่านเกี่ยวข้องกับคดีนี้ในฐานะใดอย่างนั้นหรือ
6. การสืบสวนคดีสหกรณ์เป็นการทำงานร่วมกัน ระหว่างกรมสอบสวนคดีพิเศษกับสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ต้องทำงานภายใต้ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ จากหน่วยงานที่ดูแลคดีเท่านั้น
ถ้าท่านไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่ใช่ดีเอสไอ ไม่ใช่อัยการ ไม่ใช่ศาล แล้วท่านใช้อำนาจกฎหมายใด เข้าไปแทรกแซงกระบวนการสอบสวน ถึงขั้นชี้นำให้อัยการลัดขั้นตอนอย่างนั้นหรือ ?
ถ้าท่านไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่ใช่ดีเอสไอ ไม่ใช่อัยการ ไม่ใช่ศาล แล้วท่านใช้อำนาจกฎหมายใด เข้าไปแทรกแซงกระบวนการสอบสวน ถึงขั้นชี้นำให้อัยการลัดขั้นตอนอย่างนั้นหรือ ?
นี่คือ 6 ประเด็นที่ประชาชนสงสัยมากในเวลานี้
Cr : Ptt Cnkr
ไม่มีความคิดเห็น