ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

"ยี่เป็งอินเตอร์" จากวัฒนธรรมล้านนา สร้างศรัทธา ระดับโลก" การจุดโคมลอยเพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

"ยี่เป็งอินเตอร์" จากวัฒนธรรมล้านนา สร้างศรัทธา ระดับโลก"
การจุดโคมลอยเพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ความเข้าใจที่ถูกต้องกรณีการลอยโคมยี่เป็ง

ประเด็นโคมลอยตกบ้านคน จะไม่เกิดขึ้นเด็ดขาด หากปล่อยโคมอย่างถูกวิธี 
ในกรณีที่เคยได้ยินข่าวว่าโคมไปลุกไหม้ในที่ใด หากเกิดขึ้นกรณีนั้นจะเกิดขึ้นถามกลางสายตาของคนปล่อยและคนรอบข้างในขณะนั้นเสมอและจะสามารถดับได้ทันทุกกรณี เนื่องจากว่าโคมที่จะลอยไปลุกไหมนั้นยังมีแรงขับจากควันไม่เพียงพอ
แต่โคมยี่เป็ง ที่ผู้จุดรอจนโคมมีพลังเต็มที่ เมื่อปล่อยจะลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าโคมจะตกเมื่อไฟดับแล้วเท่านั้นจึงไม่มีโอกาสเกิดเพลิงไหมลับหลังจากการจุดเด็ดขาด 



 ประเพณียี่เป็งเป็นงานประเพณีอันยิ่งใหญ่แห่งดินแดนล้านนา ที่ได้ปฎิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล "ยี่เป็ง" หรือวันเพ็ญเดือนยี่ของชาวล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 อันเป็นช่วงปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว อากาศปลอดโปร่งท้องฟ้าแจ่มใส


  ธรรมเนียมปฎิบัติของชาวล้านนาอย่างหนึ่งนอกเหนือจากการลอยกระทงในแม่น้ำก็คือ การจุดประทีปโคมลอยขึ้นไปสว่างไสวบนท้องฟ้า โดยมีคติความเชื่อว่า เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสรวงสวรรค์




ประเพณียี่เป็งได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณ  

     กิจกรรมในงานยี่เป็งนี้จะมีพิธีทอดมหากฐินสามัคคีซึ่งจะจัดขึ้นก่อนในช่วงบ่าย และได้ร่วมกันน้อมรำลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยการจุดประทีป และลอยโคมขึ้นสู่ท้องฟ้าถวายเป็นพุทธบูชา สร้างความสว่างไสว ทำลายความมืดมิดในยามราตรี ดุจดังพระสัจธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ที่สามารถขจัดความมืด ความไม่รู้ และอวิชชา ให้หมดไปจากใจของชาวโลก เหลือไว้แต่ใจที่สว่างไสวกับร้อยยิ้มอันปิติใจจากพวกเราที่จะได้ไปร่วมงานกัน ในภาษาคำเมืองของทางเหนือ “ยี่” แปลว่า สอง และคำว่า “เป็ง” หมายถึง เพ็ญ หรือพระจันทร์เต็มดวง ดังนั้นจึง หมายถึงประเพณีพระจันทร์เต็มดวงในเดือนสอง โดยในพงศาวดารโยนกและจามเทวี มีบันทึกว่าครั้งหนึ่งได้เกิด อหิวาตกโรคขึ้นในแคว้นหริภุญไชย ทำให้ชาวเมืองต้องอพยพไปอยู่เมืองหงสาวดี นานถึง 6 ปี จึงจะเดินทางกลับ มายัง บ้านเมืองเดิมได้ เมื่อเวลาเวียนมาถึงวันที่จากบ้านจากเมืองไป จึงได้มีการทำกระถางใส่เครื่องสักการบูชา ธูปเทียนลอย ลอยตามน้ำ เพื่อให้ไปถึงญาติพี่น้องที่ล่วงลับไป เรียกว่า การลอยโขมด หรือลอยไฟ

   ในงานบุญยี่เป็ง ยังมีการเทศน์มหาชาติ ผู้คนจะออกมาตกแต่งบ้านเรือน วัดวาอาราม และถนนหนทาง ด้วยต้นกล้วย อ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุงช่อประทีปและชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา ยามค่ำคืนจะมีการจุดโคมลอย ปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสรวงสรรค์ชั้นดาวดึงส์ จุดเด่นของงานนี้อยู่ที่การปล่อย โคมลอย ขึ้นไปในท้องฟ้า โดยเชื่อกันว่า เปลวไฟในโคมเป็นสัญลักษณ์ของความรู้ และแสงสว่างที่ได้รับจากโคม จะส่งผลให้ดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้อง

  โคมลอย นิยมลอยกันในเทศกาลลอยกระทง ทางภาคเหนือเรียกว่าประเพณี ยี่เป็ง เป็นประเพณีลอยกระทงของชาวล้านนา ซึ่งหมายถึงวันเพ็ญเดือน 2 เป็นการนับเดือนตามจันทรคติ โดยคำว่า ยี่เป็ง เป็นภาษาเหนือ ยี่ แปลว่า สอง และคำว่า เป็ง ตรงกับคำว่า เพ็ง หรือ เพ็ญ หมายถึงพระจันทร์เต็มดวง คือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 2 นั่นเอง
   
 โคมลอย ที่คนท้องถิ่นล้านนาส่วนใหญ่เรียกติดปากว่า ว่าว สามารถแบ่งย่อยได้สองประเภท ได้แก่ โคมลอยกลางวัน (ว่าวโฮม-ว่าวควัน) กับ โคมลอยกลางคืน (ว่าวไฟ) นอกจากนี้ยังมีโคมแขวน ที่จัดเป็นโคมอีกชนิดเช่นกันเพียงแต่ใช้แขวนตามบ้านเรือนไม่ได้ใช้ลอยโดยโคมที่ใช้ลอยกลางวันนั้น จะใช้กระดาษที่มีสีสันจำนวนหลายสิบแผ่นในการทำ เพื่อให้เห็นในระยะทางไกลแม้จะอยู่บนท้องฟ้า จะมีการตกแต่งด้วยการใส่หาง หรือขณะที่ทำการปล่อยมักใส่ลูกเล่นต่างๆเข้าไปด้วย เช่น ใส่ประทัด ควันสี เครื่องบินเล็ก ตุ๊กตากระโดดร่ม เป็นต้น บางท้องที่นิยมใส่เงินลอยขึ้นไปอีกด้วย วิธีการปล่อยจะต้องใช้การรมควันให้เต็มโคม เมื่อได้ที่แล้วจึงปล่อย

      ส่วนโคมลอย ที่ใช้ลอยกลางคืน นิยมใช้กระดาษสีขาว เนื่องจากจะโปร่งแสงเมื่อลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าแล้วขนาดก็จะย่อมกว่าโคมลอยกลางวัน วิธีการปล่อยจะใช้เชื้อไฟ หรือขี้ไต้ จุดเพื่อให้ความร้อนส่งโคมลอยขึ้นบนฟ้า จะมีการเพิ่มเติมดอกไม้ไฟน้ำตก ดาวตก ประทัด เพื่อเพิ่มสีสันอีกด้วย กุศโลบายของการจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า ก็เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์รวมทั้งเชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ ให้ประสพแต่สิ่งดีงาม สร้างความสามัคคี และที่สำคัญเป็นการอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามที่สืบ

    งานประเพณีพื้นบ้านในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ของชาวล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความเชื่อในการปล่อยโคมลอยซึ่งทำด้วยกระดาษสาติดบนโครงไม้ไผ่แล้วจุดตะเกียงไฟตรงกลางเพื่อให้ไอความร้อนพาโคมลอยขึ้นไปในอากาศเป็นการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศกและเรื่องร้ายๆต่างๆ ให้ไปพ้นจากตัว 
   การปล่อยโคมลอยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในประเพณียี่เป็ง เป็นที่รวมแห่งศรัทธาสามัคคีของชาวบ้านกับชาววัด นอกจากนี้การทำโคมลอยยังถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง หากทำไม่ถูกสัดส่วนจะปล่อยไม่ขึ้น



   วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ ชาวบ้านจะไปทำบุญตักบาตรและฟังเทศมหาชาติ โดยเป็นการเทศน์แบบพื้นเมือง ที่พระสงฆ์จะขึ้นไป เทศน์บนธรรมมาสน์บุษบก และในตอนค่ำชาวบ้านจะนำผางผะติ๊ด (ถ้วยประทีป) มาที่วัดเพื่อบูชาพระรัตนตรัย และฟังเทศน์ และการจุดผางผะติ้ดนี้ คนล้านนาถือว่าได้บุญมาก เมื่อเสร็จจากการบูชาผางผะติ้ดก็จะเป็นการจุดโคมไฟ หรือลอยโคม และลอยโขมดหรือลอยกระทง พร้อมกับเล่นดอกไม้ไฟ

การปล่อยโคมลอยมี 2 ลักษณะด้วยกัน คือ 

    1. ปล่อยโคมลอยในตอนกลางวัน เรียกว่า ว่าว โดยทำโคมด้วยกระดาษสี แล้วให้ลอยสู่ท้องฟ้าด้วยความร้อนคล้ายบอลลูน เพื่อปล่อยทุกข์โศกและสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ไป
     2. ปล่อยโคมลอยในเวลากลางคืน เรียกว่า โคมไฟ โดยใช้ไม้พันด้ายเป็นก้อนกลม ชุบน้ำมันยางหรือน้ำมันขี้โล้แขวนปากโคม แล้วจุดไฟปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อเป็นการบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์
     สำหรับการลอยโขมดหรือการลอยกระทงของล้านนา จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ เช่นเดียวกัน ที่เรียกว่า ลอยโขมดนั้น เนื่องจากกระทงเมื่อจุดเทียนแล้วปล่อยลงน้ำ จะมีแสงสะท้อนกับเงาน้ำวับแวมดูคล้ายแสงของผีโขมด ชาวล้านนาจะลอยกระทงเล็กๆ กับครอบครัว เพื่อนฝูง ในวันขึ้น 15 ค่ำ ส่วนกระทงใหญ่ที่ร่วมกันจัดทำ นิยมลอยในวันแรม 1 ค่ำ กระทงเล็กของชาวเชียงใหม่ แต่เดิมใช้กาบมะพร้าว ที่มีลักษณะโค้งงอ เหมือนเรือเป็นกระทง แล้วนำกระดาษแก้วมาตกแต่งเป็นรูปนกวางดอกไม้ และประทีบไว้ภายใน



ประเพณีการลอยโคมยี่เป็ง  

      ประเพณีการลอยโคมยี่เป็ง ได้มีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นจนมาถึงปัจจุบัน กลายเป็นกิจกรรมที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้มาร่วมในประเพณีการลอยโคมยี่เป็งที่จัดขึ้นในช่วงเทศกาลลอยกระทงโดยได้รับการสนับสนุนจากทางเทศบาลนครเชียงใหม่
     ประเพณีการลอยกระทง และลอยโคมยี่เป็งที่จังหวัดเชียงใหม่นั้น เริ่มต้นกิจกรรมกันที่ริมแม่น้ำปิง และในบริเวณใกล้เคียง มีการจัดงานออกร้านขายของ ขายกระทง การประกวดนางนพมาศ การประกวดขบวนแห่กระทงของหน่วยงานต่าง ๆ  มากมาย พอช่วงค่ำกระทงในลำน้ำปิงก็เริ่มมากขึ้น ๆ เรื่อย ๆ พร้อมกับผู้คนที่หนาแน่นขึ้น ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมของพวกเรา ก็เบียดเสียดเยียดยัดหาที่ว่างเพื่อจะไปถ่ายรูปขบวนแห่ และกระทง แต่ในช่วงนั้นเองก็เริ่มเห็นท้องฟ้า เต็มไปด้วยโคมลอยทยอยกันขึ้นมาเรื่อย ๆ จากท้องฟ้าด้านตรงข้ามไกล ๆ และไม่ขาดสาย จึงย้ายสำมะโนครัวตามหาแหล่งที่เป็นจุดกำเนิดของเจ้าพวกโคมลอยพวกนี้ 

  ประเพณียี่เป็งของชาวล้านนา นับเป็นประเพณีที่เก่าแก่ที่ยึดถือและปฏิบัติสืบเนื่องกันมาตั้งแต่โบราณกาล วิถีชีวิตของชาวล้านนานั้น เป็นที่ประจักษ์ถึงความงดงามอ่อนช้อย และเป็นที่ประทับใจแก่ผู้ที่พบเห็น ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งความงามทั้งหมดนี้ ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา เป็นเวลายาวนานกว่า 700 ปี



"ยี่เป็งอินเตอร์" จากวัฒนธรรมล้านนา สร้างศรัทธา ระดับโลก" เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเริ่มจากชาวต่างชาติมาเที่ยวจากหลักร้อย สู่หลักพัน ตอนนี้ ความต้องการมาระดับหมื่น น่าชื่นชมยิ่งนัก  นับเป็นประเพณีที่ดีงาม ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยเก่าก่อน อย่าให้ประเพณีนี้เลือนหายไปจากผืนแผ่นดินล้านนาเลย พวกเราควรช่วยกันสืบสานวัฒนธรรมที่ดีงาม สิ่งไหนที่ผิดแผกออกไปจากทำนองคลองธรรมก็ควรที่จะมาช่วยกันเสนอและแก้ไขเพื่อวัฒนธรรมประเพณีที่ถูกต้องดีงามสืบไป ขอให้อนุรักษ์ประเพณีนี้สืบไป ให้ประเพณีนี้อยู่คู่กับคนไทยตลอดไป

ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก Google.com
Cr : ตุ๊แอร์ Product, ยุทธศาสตร์ Tomorrow, ChockchaiToday

2 ความคิดเห็น