คดีสหกรณ์ที่มีการแย้งเรื่องความมิชอบด้วยกฎหมาย สามารถพิจารณาได้หลายแง่มุม
1. การตั้งข้อหาผิดหลักกฎหมาย
2. การดำเนินคดีผิดขั้นตอนกฎหมาย
3. การใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
2. การดำเนินคดีผิดขั้นตอนกฎหมาย
3. การใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
-----------------------------------------------------
1. พิจารณาจากการตั้งข้อหาผิดหลักกฎหมาย คดีพิเศษแรก (146/2556)
- ดีเอสไอดำเนินคดีคุณศุภชัยในข้อหา "ยักยอกทรัพย์นายจ้าง" คดีพิเศษที่สอง (63/2557)
- ดีเอสไอดำเนินคดีคุณศุภชัยในข้อหา "ฉ้อโกงประชาชน"
ปัญหาก็คือทั้ง 2 คดีนี้ เป็นการตั้งข้อหาจาก
1) บุคคลเดียวกัน
2) กรรมเดียวกัน
3) วาระเดียวกัน
1) บุคคลเดียวกัน
2) กรรมเดียวกัน
3) วาระเดียวกัน
แต่ทำไมถึงตั้งข้อหาด้วยหลักกฎหมายที่ขัดกัน ? ในคดีการตั้งข้อหายักยอกทรัพย์นายจ้าง แสดงว่าทรัพย์นั้นเป็นของนายจ้าง ผู้เสียหายคือ "สหกรณ์" ประชาชนไม่ใช่ผู้เสียหาย จึงไม่ใช่การฉ้อโกงประชาชน
เพราะเงินใน "บัญชีของประชาชน" ไม่ได้หายไป ในคดีการตั้งข้อหาฉ้อโกงประชาชน แสดงว่าทรัพย์นั้นเป็นของประชาชน
ผู้เสียหายคือ "ประชาชน" สหกรณ์ไม่ใช่ผู้เสียหาย จึงไม่ใช่การยักยอกทรัพย์สหกรณ์
เพราะเงินใน "บัญชีสหกรณ์" ไม่ได้หายไป
เพราะเงินใน "บัญชีสหกรณ์" ไม่ได้หายไป
จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 คดีนี้ ตั้งข้อหาร่วมกันไม่ได้ ต้องเลือกเอาข้อหาอันใดอันหนึ่ง มิฉะนั้น จะขัดหลักกฎหมาย ขัดกับหลักฐาน เพราะผู้เสียหายเป็นคนละคนกัน
-------------------------------------------------------
2. พิจารณาจากการดำเนินคดีผิดขั้นตอนกฎหมาย
เนื่องจากการตั้งข้อหาฟอกเงินในคดีสหกรณ์นั้น จะต้องมีการพิสูจน์มูลฐานความผิดจาก คดีฉ้อโกงประชาชนให้สิ้นสุดบนศาลก่อน นั่นคือต้องพิสูจน์บนศาลให้ทราบชัดแล้วว่า เงินที่หายไปนั้น เป็นเงินที่หายไปจาก "บัญชีประชาชน" ไม่ใช่เงินที่หายไปจาก "บัญชีสหกรณ์" จึงจะเกิดความชัดเจนว่า เงินนั้นได้มาโดย มิชอบด้วยกฎหมาย เป็นการฉ้อโกงประชาชน
ต่อจากนั้นจึงจะอาศัยคำพิพากษาในฉ้อโกงประชาชนนี้ ไปเป็นมูลฐานความผิดฟ้องในคดีข้อหาฟอกเงินได้ เพราะในการฟ้องข้อหาฟอกเงินนั้นคือการพิสูจน์ว่า เงินที่ได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมายนั้น มีการแปรสภาพจากเงินผิดกฎหมาย ให้เป็นเงินถูกกฎหมายหรือไม่ ถ้าไม่พบการแปรสภาพเงินก็ไม่มีความผิดฐานฟอกเงิน
(ดังปรากฏในในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7290/2554 และ 2770/2550 (http://wichianlaw.blogspot.com/2016/04/blog-post_3.html)
ต่อจากนั้นจึงจะอาศัยคำพิพากษาในฉ้อโกงประชาชนนี้ ไปเป็นมูลฐานความผิดฟ้องในคดีข้อหาฟอกเงินได้ เพราะในการฟ้องข้อหาฟอกเงินนั้นคือการพิสูจน์ว่า เงินที่ได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมายนั้น มีการแปรสภาพจากเงินผิดกฎหมาย ให้เป็นเงินถูกกฎหมายหรือไม่ ถ้าไม่พบการแปรสภาพเงินก็ไม่มีความผิดฐานฟอกเงิน
(ดังปรากฏในในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7290/2554 และ 2770/2550 (http://wichianlaw.blogspot.com/2016/04/blog-post_3.html)
จะเห็นได้ว่า การฟ้องข้อหาฟอกเงิน โดยไม่มีคำพิพากษาอันเป็นที่สิ้นสุด ในคดีมูลฐานความผิดนั้น ทำไม่ได้ มิฉะนั้น จะกลายเป็นการดำเนินคดีผิดขั้นกฎหมาย ซึ่งมีโอกาสที่จะเข้าข่ายการทำผิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ฟ้องซ้อน ฟ้องเท็จ ฟ้องเคลือบคลุม ฟ้องผิดคน เป็นต้น
------------------------------------------------
3. พิจารณาจากการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
ผลของการฟ้องข้อหาฟอกเงิน ตามคำชี้นำของนักการเมืองบางกลุ่ม โดยไม่คำนึงถึงหลักกฎหมาย
และระเบียบขั้นตอนนั้น ก็จะนำไปสู่ปัญหาหลายอย่าง
และระเบียบขั้นตอนนั้น ก็จะนำไปสู่ปัญหาหลายอย่าง
1) ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
2) กลั่นแกล้งประชาชนให้มีความผิด
3) ทำลายความสงบเรียบร้อยบ้านเมือง
4) ทำลายศีลธรรมอันดีงามของประชาชน
5) ทำลายความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
6) เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
2) กลั่นแกล้งประชาชนให้มีความผิด
3) ทำลายความสงบเรียบร้อยบ้านเมือง
4) ทำลายศีลธรรมอันดีงามของประชาชน
5) ทำลายความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
6) เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
เพราะการกระทำทั้งหมดนั้น ไปเข้าหลักที่ว่า "มีเจตนาตั้งแต่ต้น" ที่จะทำให้ประชาชน สังคม ระบบราชการ ระบบศาลยุติธรรม การบริหารบ้านเมือง และพระพุทธศาสนาได้รับความเสียหาย คำถามที่ตามมาก็คือ ความผิดนั้นจะตกอยู่แก่ใคร ?
ประชาชนจะได้รับความยุติธรรมหรือไม่ ?
ความเสียหายทั้งหมดนั้นใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ?
ความเสียหายทั้งหมดนั้นใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ?
------------------------------------------------------------------
Cr : Ptt Cnkr
ปล.1 เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล
ปล.2 ข้อมูลกฎหมายอ้างอิงจาก :
1] คดีอาญาเสร็จเด็ดขาดในความผิดทีได้ฟ้อง https://www.lawdd.net/getfile…
2] แก้ไขคำฟ้อง คำให้การ https://groups.google.com/forum/#!topic/lawsiam/8t0GL973StY
3] ฟ้องบุคคลอื่นโดยไม่ตรวจสอบ มีความผิดฐานละเมิด http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=11571
4] ฟ้องเท็จเป็นความผิดทันทีที่ยื่นฟ้อง http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=10924
5] ฟ้องละเมิดเรียกค่าสินไหมทดแทน ในความผิดทางอาญาhttp://www.thailawconsult.com/ptukta28.html
6] กฎหมายเกี่ยวกับการละเมิด http://www.lawfirm.in.th/violate.html
7] ความผิดมูลฐานตามกฎหมายฟอกเงิน http://wichianlaw.blogspot.com/2016/04/blog-post_3.html
2] แก้ไขคำฟ้อง คำให้การ https://groups.google.com/forum/#!topic/lawsiam/8t0GL973StY
3] ฟ้องบุคคลอื่นโดยไม่ตรวจสอบ มีความผิดฐานละเมิด http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=11571
4] ฟ้องเท็จเป็นความผิดทันทีที่ยื่นฟ้อง http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=10924
5] ฟ้องละเมิดเรียกค่าสินไหมทดแทน ในความผิดทางอาญาhttp://www.thailawconsult.com/ptukta28.html
6] กฎหมายเกี่ยวกับการละเมิด http://www.lawfirm.in.th/violate.html
7] ความผิดมูลฐานตามกฎหมายฟอกเงิน http://wichianlaw.blogspot.com/2016/04/blog-post_3.html
ไม่มีความคิดเห็น