พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาแต่โบราณกาล พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก
ดังนั้นจึงปรากฏหลักฐานว่า พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ก่อนครองราชสมบัติ ทรงพระผนวชตั้งแต่พระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา
พระราชปณิธาน พระราชปรารภ พระราชนิพนธ์ ของพระมหากษัตริย์ไทยที่มีต่อพระพุทธศาสนา
พระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่ยุคสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน ยุครัตนโกสินทร์ เคยมีพระราชปณิธาน พระ ราชปรารภ พระราชนิพนธ์ต่อพระพุทธศาสนา แม้จะต่างกาลเวลา ก็แสดงถึงความเคารพนับถือว่าพระพุทธศาสนานั้นเป็นศาสนาประจำชาติไทย ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์มานานแล้ว
"ชาวพุทธที่แท้จริง เป็นผู้คิดชอบ ปฏิบัติชอบอยู่เป็นปรกติอยู่ ณ ที่ใด ก็ทำให้ที่นั่น สงบร่มเย็นมีแต่ความปรองดอง และสร้างสรรค์ จึงเป็น โชคดีอย่างยิ่ง ที่ประเทศไทยเรามี พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำ ชาติ ทำให้คนไทยทุกเชื้อชาติ
ศาสนา อยู่ร่วมกันด้วยความสุข มีความรักความปรารถนาดีต่อกัน
มีการสงเคราะห์อนุเคราะห์ซึ่งกัน
และมีความสมัครสมานสามัคคีกัน
เป็นอย่างดี...."
ศาสนา อยู่ร่วมกันด้วยความสุข มีความรักความปรารถนาดีต่อกัน
มีการสงเคราะห์อนุเคราะห์ซึ่งกัน
และมีความสมัครสมานสามัคคีกัน
เป็นอย่างดี...."
..........พระบรมราโชวาท..........
ณ วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี
วันจันทร์ที่ 26 ธันวามคม 2537
วันจันทร์ที่ 26 ธันวามคม 2537
“คนไทยในสมัยสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุนทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้หญิง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษากรานกฐินเดือนหนึ่งจึงแล้ว...”
พระบรมสัตยาธิษฐานของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
“พระบาทสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า จึงตรัสประกาศแก่เทพยดาทั้งปวง ให้บังเกิดในประยูรมหาเศวตฉัตร จะให้บำรุงพระบวรพุทธศาสนา ไฉนจึงมิช่วยให้สว่างแลเห็นข้าศึกเล่า พอตกพระโอษฐ์ลง พระพายก็พัดควันอันเป็นหมอกมืดนั้นสว่างไป ทอดพระเนตรเห็นข้างเศวตฉัตร 16 ข้าง มีข้างดั้งข้างกันยืนอยู่เป็นอันมาก...” น้ำพระทัยและพระราชดำรัสของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
“พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จะให้เราเข้ารีตดังนั้นหรือ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะในราชวงศ์ของเราก็ได้นับถือพระพุทธศาสนามาช้านานแล้ว จะให้เราเปลี่ยนศาสนาอย่างนี้เป็นการยากอยู่ และถ้าพระเจ้าผู้สร้างฟ้าสร้างดินจะต้องการให้คนทั่วโลกได้นับถือศาสนาอันเดียวกันแล้ว พระเจ้ามิจัดการให้เป็นเช่นนั้นเสียแล้วหรือ”
“จริงอยู่เมื่อฟอลคอน ในเวลาหมอบอยู่ข้างพระบาทพระเจ้ากรุงสยาม ได้แปลคำชักชวนที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้รับสั่งมากับราชทูตนั้น ฟอลคอนก็กลัวจนตัวสั่น และสมเด็จพระนารายณ์ทรงพระกรุณาโปรดให้อภัยแก่ฟอลคอน แต่ก็ได้รับสั่งว่า ได้ทรงนับถือศาสนาอันได้นับถือต่อๆ กันมาถึง 2,229 ปีแล้ว เพราะฉะนั้นที่จะให้พระองค์เปลี่ยนศาสนาเสียนั้น เป็นการที่พระองค์จะทำไม่ได้”
“จริงอยู่เมื่อฟอลคอน ในเวลาหมอบอยู่ข้างพระบาทพระเจ้ากรุงสยาม ได้แปลคำชักชวนที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้รับสั่งมากับราชทูตนั้น ฟอลคอนก็กลัวจนตัวสั่น และสมเด็จพระนารายณ์ทรงพระกรุณาโปรดให้อภัยแก่ฟอลคอน แต่ก็ได้รับสั่งว่า ได้ทรงนับถือศาสนาอันได้นับถือต่อๆ กันมาถึง 2,229 ปีแล้ว เพราะฉะนั้นที่จะให้พระองค์เปลี่ยนศาสนาเสียนั้น เป็นการที่พระองค์จะทำไม่ได้”
พระราชปณิธานของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
“อันตัวพ่อ ชื่อว่า พระยาตาก..........ทนทุกข์ยาก กู้ชาติ พระศาสนา
ถวายแผ่นดิน ให้เป็น พุทธบูชา.......แด่พระศาสนา สมถะ พระพุทธโคดม
ให้ยืนยง คงถ้วน ห้าพันปี...............สมณะพราหมณ์ชี ปฏิบัติ ให้พอสม
เจริญสมถะ วิปัสสนา พ่อชื่นชม.......ถวายบังคม รอยบาท พระศาสดา
คิดถึงพ่อ พ่ออยู่ คู่กับเจ้า...............ชาติของเรา คงอยู่ คู่พระศาสนา
พุทธศาสนา อยู่ยง คู่องค์กษัตรา.....พระศาสดา ฝากไว้ ให้คู่กัน”
พระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
“ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนา ป้องกันขอบขัณฑสีมา รักษาประชาชนและมนตรี”
“ทุกวันนี้ตั้งพระทัยแต่ที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ไพร่ฟ้าประชากรให้อยู่เย็นเป็นสุข ให้ตั้งอยู่ในคติธรรมทั้ง 4 ดำรงจิตจตุรัสบำเพ็ญศีลทาน จะได้สุคติภูมิ มนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ นิพพานสมบัติเป็นประโยชน์แก่ตน...”
“พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรฯ เมื่อได้ทรงสดับพระสงฆ์ราชาคณะถวายพระพรโดยพิสดารดังนั้น จึงตรัสว่า ครั้งนี้ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งปวงจงมีอุตสาหะในฝ่ายพระพุทธจักรให้พระไตรปิฎกบริบูรณ์ขึ้นให้จงได้ ฝ่ายข้างอาณาจักรที่จะเป็นศาสนูปถัมภกนั้นเป็นพนักงานโยม โยมจะสู้เสียสละชีวิตบูชาพระรัตนตรัย สุดแต่จะให้พระปริยัติบริบูรณ์เป็นข้อมูลที่จะตั้งพระพุทธศาสนาจงได้ พระราชาคณะทั้งวงรับสาธุแล้วถวายพระพร...”
“ทุกวันนี้ตั้งพระทัยแต่ที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ไพร่ฟ้าประชากรให้อยู่เย็นเป็นสุข ให้ตั้งอยู่ในคติธรรมทั้ง 4 ดำรงจิตจตุรัสบำเพ็ญศีลทาน จะได้สุคติภูมิ มนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ นิพพานสมบัติเป็นประโยชน์แก่ตน...”
“พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรฯ เมื่อได้ทรงสดับพระสงฆ์ราชาคณะถวายพระพรโดยพิสดารดังนั้น จึงตรัสว่า ครั้งนี้ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งปวงจงมีอุตสาหะในฝ่ายพระพุทธจักรให้พระไตรปิฎกบริบูรณ์ขึ้นให้จงได้ ฝ่ายข้างอาณาจักรที่จะเป็นศาสนูปถัมภกนั้นเป็นพนักงานโยม โยมจะสู้เสียสละชีวิตบูชาพระรัตนตรัย สุดแต่จะให้พระปริยัติบริบูรณ์เป็นข้อมูลที่จะตั้งพระพุทธศาสนาจงได้ พระราชาคณะทั้งวงรับสาธุแล้วถวายพระพร...”
พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
“การพระราชบริจาคอันนี้ ทรงพระราชดำริเห็นว่าไม่ขัดขวางเป็นเหตุให้ท่านผู้ใดขุ่นเคืองขัดใจเลย พระนครนี้เป็นถิ่นที่ของคนนับถือพระพุทธศาสนามาแต่เดิม ไม่ใช่แผ่นดินของศาสนาอื่น คนที่ถือศาสนาอื่นมาแต่อื่นก็ดี อยู่ในเมืองนี้ก็ดี จะโทมนัสน้อยใจด้วยริษยาแก่พระพุทธศาสนาเพราะบูชาอันนี้ไม่ได้ ด้วยไม่ใช่เมืองของศาสนาตัวเลย ถ้าโทมนัสก็ชื่อว่าโลภล่วงเกินไป...”
น้ำพระทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
น้ำพระทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ต่อพระพุทธศาสนา ดังที่มีพระราชหัตถเลขาถึง เซอร์เอ็ดวิน อาร์โนลด์ ผู้แต่งหนังสือพุทธประวัติ ประทีปแห่งทวีปเอเชีย ความว่า
“พระราชบิดาของฉัน ได้ทรงสละเวลาเป็นส่วนใหญ่ ในการศึกษาและคุ้มครองศาสนาของชาติ ส่วนฉันได้ขึ้นครองราชย์ในขณะอายุยังน้อย จึงไม่มีเวลาที่จะเป็นนักศึกษาอย่างพ่อ ฉันเองมีความสนใจในการศึกษาหนังสือหลักธรรมต่างๆ สนใจที่จะคุ้มครองศาสนาของเรา และต้องการให้มหาชนทั่วไปมีความเข้าใจถูกต้อง
ดูเหมือนว่า ถ้าชาวยุโรปเชื่อในคำสอนของคณะมิชชันนารีว่า ศาสนาของเราโง่งมงาย และชั่วทราม คนทั้งหลายก็จะต้องถือว่าพวกเราเป็นคนโง่งมงายและชั่วทรามไปด้วย ฉันจึงรู้สึกขอบคุณบรรดาบุคคล เช่น ท่านเป็นตัวอย่าง ที่สอนชาวยุโรปให้ความคารวะแก่ศาสนาของเรา”
สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า รัชกาลที่ 6 กับพระพุทธศาสนา
“ข้าพเจ้าย่อมรู้สึกว่า เป็นหน้าที่ของข้าพเจ้าที่จะต้องทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งคู่กับพระราชอาณาจักร ให้ดำเนินไปในทางวัฒนาถาวรพร้อมกันทั้งสองฝ่าย”
(พระราชดำรัสของสมเด็จพระปิยมหาราชต่อคณะสงฆ์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อพุทธศักราช 2440)
“เมื่อรู้สึกแน่นอนแล้วว่า ศาสนาในสมัยนี้เป็นของที่แยกจากชาติไม่ได้...ถ้าข้าพเจ้าจะขอแก่ท่านทั้งหลายว่า พุทธศาสนาเป็นของไทย เรามาชวนกันนับถือพระพุทธศาสนาเถิด...ผู้ที่แปลงศาสนา คนเขาดูถูกยิ่งเสียกว่าผู้ที่แปลงชาติ...เพราะเหตุฉะนั้นเป็นความจำเป็นที่เราทั้งหลาย ผู้เป็นไทยจะต้องมั่นอยู่ในศาสนาพระพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาสำหรับชาติเรา...”
ขอพร่ำรำพันบรรยาย..........ความคิดเครื่องหมายสีแห่งทั้งสามงามถนัด
ขาวคือบริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์........หมายพระไตรรัตน์ และธรรมะคุ้มจิตไทย
แดงคือโลหิตเราไซร้............ซึ่งยอมสละได้ เพื่อรักษาชาติศาสนา
น้ำเงินคือสีโสภา.................อันจอมประชา ธโปรดเป็นส่วนพระองค์
จัดริ้วเป็นทิวไตรรงค์............จึงเป็นสีธง ที่รักแห่งเราชาวไทย
จะเห็นได้ว่าพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาแต่โบราณกาล
ไม่มีความคิดเห็น