การฟ้องที่ไม่แสดงแจ้งชัด คือการใช้อำนาจรัฐกลั่นแกล้งประชาชนที่ไม่มีความผิดให้มีความผิด
คำฟ้อง ( มาตรา 172)
ฟ้องที่ไม่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา เช่นว่านั้น มาตรา 172 วรรคสอง เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเป็นฟ้องเคลือบคลุม
1) ฟ้องเคลือบคลุมในคดีแพ่งไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน (ฎ. 101/31) ศาลจะยกขึ้นเองไม่ได้
จำเลยจะต้องสู้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การ ทั้งจะต้องให้การโดยแจ้งชัดด้วยว่าเคลือบคลุมอย่างไร มิฉะนั้นไม่เป็นประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัย (ฎ. 9594/44)
2) แต่ถ้าฟ้องของโจทก์ถึงขนาดขาดสาระสำคัญแห่งความรับผิดของจำเลย ทำให้ศาลไม่อาจพิพากษาให้จำเลยรับผิดตามฟ้องได้ ถือเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้
เช่น โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน แต่มิได้บรรยายฟ้องว่าใครเป็นผู้เอาประกันภัยรถคันที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัย และมิได้บรรยายฟ้องว่า ผู้ขับรถนี้มีนิติสัมพันธ์อย่างไรกับผู้เอาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดด้วย (ฎ. 361/2539, 7064/47)
3) ข้อสังเกต แสดงว่าในปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
แต่ถ้าฟ้องของโจทก์ถึงกับขาดสาระสำคัญในความรับผิดของจำเลย เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ( แต่ถ้าเป็นฟ้องเคลือบคลุมในคดีอาญา ถือเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบฯ ศาลยกขึ้นเองได้)
คำฟ้องที่ขัดกันถือว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุม เช่น ฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมอ้างว่าผู้ตายมิได้พิมพ์นิ้วมือ แม้จะเป็นลายนิ้วมือของผู้ตายก็พิมพ์ในขณะถูกฉ้อฉล ข่มขู่ เมาสุรา หรือวิกลจริต หรือพิมพ์เมื่อตายแล้ว (ฎ. 221/01,493/95)
อ้างอิง https://groups.google.com/forum
อ่านแล้วได้ข้อสรุปว่า การฟ้องที่ไม่แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ไม่แสดงคำขอบังคับ ไม่แสดงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา คือการใช้อำนาจรัฐกลั่นแกล้งประชาชนที่ไม่มีความผิดให้มีความผิด
Cr : Ptt Cnkr
ไม่มีความคิดเห็น