End of the walkway... "....." ระวัง สิ้นสุดทางเลือก
กฎหมายกำหนดกรอบไว้ว่า เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวน จะต้องรวบรวมข้อมูลหลักฐาน ที่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือให้เพียงพอและครบถ้วน ตามองค์ประกอบของข้อหาที่จะฟ้องได้ จากนั้นนำมาส่งให้อัยการตรวจสอบดูว่า ข้อมูลที่ฝ่ายสอบสวนได้มานั้น ครบถ้วนตามหลัก "คำฟ้อง" ใน ป. วิ.แพ่ง มาตรา 172 วรรค 2 หรือไม่ เพราะถ้าข้อมูลที่พนักงานสอบสวนให้มานั้น
1. ไม่สามารถแสดงสภาพของข้อหาให้แจ้งชัดได้
2. ไม่สามารถอ้างความเสียหายที่เป็นหลักข้ออ้างแห่งข้อหาได้
3. ไม่สามารถอ้างสิทธิ์อันชอบธรรมในการขอบังคับคดีได้
แล้วทำการสั่งฟ้องไป ปัญหามากมายจะตามมาเป็นลูกโซ่
2. ไม่สามารถอ้างความเสียหายที่เป็นหลักข้ออ้างแห่งข้อหาได้
3. ไม่สามารถอ้างสิทธิ์อันชอบธรรมในการขอบังคับคดีได้
แล้วทำการสั่งฟ้องไป ปัญหามากมายจะตามมาเป็นลูกโซ่
ปัญหาแรกก็คือ การสั่งฟ้องของอัยการนั้น จะกลายเป็นการสั่งฟ้องโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เรียกว่า ฟ้องเคลือบคลุม ซึ่งผิด ป.วิ แพ่ง มาตรา 172 วรรค 2
เรียกว่า ฟ้องเคลือบคลุม ซึ่งผิด ป.วิ แพ่ง มาตรา 172 วรรค 2
ปัญหาที่สองคือ เมื่อคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็จะเข้าข่าย ป.วิ อาญา มาตรา 172
มาตรา 172 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ เกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จากความผิดอาญาในมาตรา 172 นี้เอง ก็จะเกิดปัญหาความผิดอาญาและแพ่ง ตามมาอีกเป็นลูกโซ่ในอีกหลายมาตรา
ยกตัวอย่างเช่น
1. พนักงานสอบสวนแจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จแก่อัยการ
2. อัยการแจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จแก่ศาล
3. พนักงานสอบสวนและอัยการร่วมกัน แจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จแก่ศาล
4. ร่วมกันปลอมแปลงเอกสารราชการ
5. ร่วมกันกลั่นแกล้งประชาชนผู้ไม่มีความผิดให้มีความผิด
6. ร่วมกันอายัดทรัพย์ประชาชนโดยปราศจากอำนาจกฎหมายรองรับ
7. ร่วมกันดำเนินการลัดขั้นตอนการสอบสวน
8. ร่วมกันละเมิดสิทธิอันชอบธรรมที่ผู้ป่วยพึงได้รับ
9. ร่วมกันโฆษณาให้ข้อมูลอันเป็นเท็จแก่ประชาชน
10. เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
2. อัยการแจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จแก่ศาล
3. พนักงานสอบสวนและอัยการร่วมกัน แจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จแก่ศาล
4. ร่วมกันปลอมแปลงเอกสารราชการ
5. ร่วมกันกลั่นแกล้งประชาชนผู้ไม่มีความผิดให้มีความผิด
6. ร่วมกันอายัดทรัพย์ประชาชนโดยปราศจากอำนาจกฎหมายรองรับ
7. ร่วมกันดำเนินการลัดขั้นตอนการสอบสวน
8. ร่วมกันละเมิดสิทธิอันชอบธรรมที่ผู้ป่วยพึงได้รับ
9. ร่วมกันโฆษณาให้ข้อมูลอันเป็นเท็จแก่ประชาชน
10. เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
จากตัวอย่างดังกล่าวนี้ ในแต่ละข้อยังแตกประเด็น แยกย่อยออกเป็นต่างกรรมต่างวาระ และต่างบุคคลอีกด้วย
ดังนั้น การที่กฎหมายกำหนดอายุความไว้ในแต่ละคดี ก็เพื่อให้เวลาทำงานแก่พนักงานสอบและอัยการ
ดังนั้น การที่กฎหมายกำหนดอายุความไว้ในแต่ละคดี ก็เพื่อให้เวลาทำงานแก่พนักงานสอบและอัยการ
เพราะหากดำเนินคดีผิดพลาดขึ้นมา มันก็จะเกิดเป็นปัญหาใหญ่ กลายเป็นความเสียหายแก่แผ่นดิน
ที่แม้แต่รัฐเองก็รับผิดชอบไม่ไหว และก็มักจบลงด้วยการแนะนำให้ผู้เสียหาย ไปฟ้องไล่บี้พนักงานสอบสวนกับอัยการเอาเอง โดยบางครั้งรัฐเองก็จะขอเป็นโจทก์ร่วมฟ้องด้วย ในฐานะที่รัฐเองก็เป็นผู้เสียหายด้วยเช่นกัน ส่วนคนที่เจ็บหนักที่สุดก็คือ ผู้สั่งฟ้อง ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของนาย และนี่ก็คือปัญหาที่ รมว. บางท่าน อาจจะไม่ทราบถึงปัญหาที่จะตามมา หากเกิดการสั่งฟ้องโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อคิดมุมมองของนักศึกษากฎหมาย ที่แสดงความคิดเห็นด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ที่แม้แต่รัฐเองก็รับผิดชอบไม่ไหว และก็มักจบลงด้วยการแนะนำให้ผู้เสียหาย ไปฟ้องไล่บี้พนักงานสอบสวนกับอัยการเอาเอง โดยบางครั้งรัฐเองก็จะขอเป็นโจทก์ร่วมฟ้องด้วย ในฐานะที่รัฐเองก็เป็นผู้เสียหายด้วยเช่นกัน ส่วนคนที่เจ็บหนักที่สุดก็คือ ผู้สั่งฟ้อง ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของนาย และนี่ก็คือปัญหาที่ รมว. บางท่าน อาจจะไม่ทราบถึงปัญหาที่จะตามมา หากเกิดการสั่งฟ้องโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อคิดมุมมองของนักศึกษากฎหมาย ที่แสดงความคิดเห็นด้วยความบริสุทธิ์ใจ
โดยมิได้มีเจตนาก้าวล่วงอำนาจหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่รัฐแต่อย่างใด
---------------------------------------------------------------
ข้อมูลกฎหมายอ้างอิงจาก :
ไม่มีความคิดเห็น