ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

นิติวิธีที่ผิดพลาด

นิติวิธีที่ผิดพลาด
  วันนี้ 14 พ.ย. 59 นายสมชาย มีบางยาง ทนายความผู้รับมอบอำนาจหมายจากพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) พร้อมด้วยคณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกายได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อนายพันธ์โชติ บุญศิริ อัยการพิเศษฝ่ายสอบสวน สำนักงานการสอบสวน หนึ่งในคณะทำงานโฆษกอัยการสูงสุด ซึ่งเป็นผู้รับมอบหนังสือ การยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมในครั้งนี้ อันเนื่องมาจากกรณีที่พระเทพญาณมหามุนีได้ถูกพนักงานสอบสวนคดีพิเศษกล่าวหาว่าร่วมกันฟอกเงินและรับของโจร ขณะนี้คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณา สั่งคดีของสำนักงานคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด โดยพระเทพญาณมหามุนีไม่ได้กระทำความผิดตามข้อหาแต่อย่างใด การตั้งข้อหาของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษในคดีดังกล่าว จึงมีประเด็นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย





คดีมูลฐานยังไม่ได้ฟ้อง แต่จะฟ้องคดีฟอกเงิน 

ส่วนคดีที่ฟ้องอยู่ก็เอามาใช้เป็นมูลฐานของข้อหาฟอกเงินไม่ได้ 
ถ้านักการเมืองชี้นำให้เจ้าหน้าที่รัฐสั่งฟ้องโดยขัดหลักกฎหมายแบบนี้ ความผิดที่เกิดขึ้นจะตกแก่ใคร ประชาชนจะได้รับความยุติธรรมหรือไม่



ความหมายของคำว่า "ระหว่างพิจารณา" ในเรื่องฟ้องซ้อน และ "คำสั่งระหว่างพิจารณา" ในคดีอาญานั้น "แตกต่างกัน"

ในสายตาของการฟ้องซ้อนในศาลชั้นต้นนั้น ถือว่าคดีอยู่ระหว่างพิจารณานับแต่ "ยื่นฟ้อง" ฉะนั้น ในกรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ซึ่งอยู่ในบังคับต้องไต่สอนมูลฟ้องแม้ศาลจะยังไม่ประทับรับฟ้องก็ถือว่าคดีอยู่ระหว่างพิจารณา หากราษฎรคนนั้นนำคดีไปยื่นฟ้องที่อื่นอีก คดีหลังเป็นฟ้องซ้อน

ในสายตาของคำสั่งระหว่างพิจารณา ในศาลชั้นต้นนั้น ถือว่าคดีอยู่ระหว่างพิจารณา ในศาลชั้นต้นนั้น ถือว่าคดีอยู่หว่างพิจารณานับแต่ "ศาลประทับรับฟ้อง" ในกรณีข้างต้น หากศาลยังไม่ประทับรับฟ้องการที่ศาลมีคำสั่งใดๆ คำสั่งเหล่านั้น "ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา"

เพราะฉะนั้นคำว่า "ระหว่างพิจารณา" ในบางกรณีอาจไม่ได้หมายความแบบเดียวกันเสมอไป



สถาบันยุติธรรมควรชี้แจง เรื่องดังกล่าวอย่างเป็นกลางด้วยความชอบธรรมและยุติธรรม เพื่อไม่ให้ก่อเกิดความคลุมเคลือเคลือบแคลงใจต่อประชาชนและสื่อมวลชน และบางคนอาจถือโอกาสทำเสมอเหมือนตัวคิดแทนอัยการเสียเอง ซึ่งทำความเสื่อมเสียต่อภาพลักษณ์ของกระบวนการยุติธรรม และก่อเกิดความเสียหายต่อประชาชน ซึ่งควรต้องมีบทพิจารณาลงโทษต่อผู้มีเจตนาก่อเกิดความเสื่อมเสียเหล่านี้อย่างชัดเจน ซึ่งหากข้อแท้จริงไม่มีความผิดตามข้อกล่าวหาแล้ว จะถือว่าเป็นกลุ่มคนที่มีเจตนาทำลายสถาบันหลักของชาติ คือ สถาบันพุทธศาสนา ใช่หรือไม่?




ไม่มีความคิดเห็น