“วัดในเหรียญไทย” เรื่องใกล้ตัวที่หลายคนมองข้าม ความงดงามอันทรงคุณค่า
พระปรางค์ วัดอรุณราชวราราม บนเหรียญ 10 บาท
นอกจากที่ “เหรียญกษาปณ์” จะมีค่าในฐานะที่เป็นวัตถุแทนเงินตรา ก็ยังมีคุณค่าทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ตลอดจนการแสดงถึงความเป็นสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์อีกด้วย
เริ่มแรกที่มีการใช้เหรียญกษาปณ์มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งต่อมาก็มีการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ น้ำหนัก ขนาด อัตราส่วนผสมของโลหะ และกรรมวิธีการผลิตเรื่อยมา จนกระทั่งในรัชกาลปัจจุบัน กรมธนารักษ์ได้ผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนออกมาใช้ในระบบเศรษฐกิจตั้งแต่ พ.ศ. 2493 เป็นต้นมา
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชุดปัจจุบัน ประกอบด้วยชนิดราคา 10 บาท , 5 บาท , 2 บาท , 1 บาท , 50 สตางค์ , 25 สตางค์ , 10 สตางค์ , 5 สตางค์ และ 1สตางค์ (โดยชนิด 10 สตางค์ , 5 สตางค์ และ 1สตางค์ ไม่ได้นำออกมาใช้ในชีวิตประจำวัน แต่มีความจำเป็นต้องใช้ในเรื่องการคำนวณตัวเลขต่างๆ ในทางบัญชี โดยเฉพาะการคิดภาษีในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงเศษสตางค์ได้)
ซึ่งลวดลายที่ปรากฏอยู่บนเหรียญนั้นจะเป็นลวดลายที่แสดงถึงสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ โดยด้านหน้าเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อแสดงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ มีคำว่า ประเทศไทย เพื่อแสดงถึงสถาบันชาติ และด้านหลังเป็นรูปวัดต่างๆ ในประเทศไทย เพื่อแสดงถึงสถาบันศาสนา
โดยลวดลายวัดบนเหรียญกษาปณ์ชนิดต่างๆ มีดังนี้
เหรียญ 10 บาท เป็นรูป “พระปรางค์ วัดอรุณราชวราราม” ที่ถือว่าเป็นมุมถ่ายภาพที่คุ้นเคยกันดี โดยวัดอรุณฯ เป็นวัดโบราณ สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา สำหรับองค์พระปรางค์นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดฯ ให้สร้างขึ้นแทนพระปรางค์ที่มีอยู่เดิม จนมาแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ส่วนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯ ให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระปรางค์ และให้มีการจัดงานฉลองขึ้น โดยทรงสถาปนาวัดอรุณฯ ขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกอันดับหนึ่ง และเสด็จพระราชดำเนินมาทอดผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเป็นครั้งแรก
เริ่มแรกที่มีการใช้เหรียญกษาปณ์มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งต่อมาก็มีการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ น้ำหนัก ขนาด อัตราส่วนผสมของโลหะ และกรรมวิธีการผลิตเรื่อยมา จนกระทั่งในรัชกาลปัจจุบัน กรมธนารักษ์ได้ผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนออกมาใช้ในระบบเศรษฐกิจตั้งแต่ พ.ศ. 2493 เป็นต้นมา
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชุดปัจจุบัน ประกอบด้วยชนิดราคา 10 บาท , 5 บาท , 2 บาท , 1 บาท , 50 สตางค์ , 25 สตางค์ , 10 สตางค์ , 5 สตางค์ และ 1สตางค์ (โดยชนิด 10 สตางค์ , 5 สตางค์ และ 1สตางค์ ไม่ได้นำออกมาใช้ในชีวิตประจำวัน แต่มีความจำเป็นต้องใช้ในเรื่องการคำนวณตัวเลขต่างๆ ในทางบัญชี โดยเฉพาะการคิดภาษีในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงเศษสตางค์ได้)
ซึ่งลวดลายที่ปรากฏอยู่บนเหรียญนั้นจะเป็นลวดลายที่แสดงถึงสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ โดยด้านหน้าเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อแสดงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ มีคำว่า ประเทศไทย เพื่อแสดงถึงสถาบันชาติ และด้านหลังเป็นรูปวัดต่างๆ ในประเทศไทย เพื่อแสดงถึงสถาบันศาสนา
โดยลวดลายวัดบนเหรียญกษาปณ์ชนิดต่างๆ มีดังนี้
เหรียญ 10 บาท เป็นรูป “พระปรางค์ วัดอรุณราชวราราม” ที่ถือว่าเป็นมุมถ่ายภาพที่คุ้นเคยกันดี โดยวัดอรุณฯ เป็นวัดโบราณ สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา สำหรับองค์พระปรางค์นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดฯ ให้สร้างขึ้นแทนพระปรางค์ที่มีอยู่เดิม จนมาแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ส่วนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯ ให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระปรางค์ และให้มีการจัดงานฉลองขึ้น โดยทรงสถาปนาวัดอรุณฯ ขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกอันดับหนึ่ง และเสด็จพระราชดำเนินมาทอดผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเป็นครั้งแรก
พระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม บนเหรียญ 5 บาท
เหรียญ 5 บาท เป็นรูป “พระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม” ที่นับว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมที่มีความงดงามมากที่สุดแห่งหนึ่ง โดยมีเอกลักษณ์ตรงที่ใช้วัสดุแบบตะวันตก มาสร้างสถาปัตยกรรมแบบไทย จนได้ขึ้นชื่อว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์แบบของศิลปะไทย สร้างขึ้นจากหินอ่อนสีขาวบริสุทธิ์จากประเทศอิตาลี โดยสร้างเป็นทรงจตุรมุข หลังคาซ้อน 4 ชั้น
บริเวณหน้าต่างของพระอุโบสถมีการใช้กระจกและมีการเขียนสีลงบนกระจก ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมแบบไทยอย่างลงตัว ภายในประดิษฐานพระพุทธชินราช (จำลอง) เป็นพระประธาน อยู่ภายใต้รัตนบัลลังก์บรรจุพระสรีรางคารของรัชกาลที่ 5
บริเวณหน้าต่างของพระอุโบสถมีการใช้กระจกและมีการเขียนสีลงบนกระจก ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมแบบไทยอย่างลงตัว ภายในประดิษฐานพระพุทธชินราช (จำลอง) เป็นพระประธาน อยู่ภายใต้รัตนบัลลังก์บรรจุพระสรีรางคารของรัชกาลที่ 5
พระบรมบรรพต วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร บนเหรียญ 2 บาท
เหรียญ 2 บาท เป็นรูป “พระบรมบรรพต วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร” หรือที่รู้จักกันดีในนาม “ภูเขาทอง” สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 แต่มาแล้วเสร็จลงในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีรูปแบบเป็นพระเจดีย์แบบกลม (ทรงลังกา) บนยอดเขา เพื่อให้เป็นเจดีย์ที่สูงใหญ่ของพระนคร
ในภายหลังมีการบูรณะปฏิสังขรณ์เมื่อปี พ.ศ.2509 โดยบุกระเบื้องโมเสกสีทองที่องค์พระเจดีย์ พร้อมกับมีการสร้างพระเจดีย์องค์เล็กๆ รายรอบพระเจดีย์องค์ใหญ่ทั้ง 4 ทิศ และภายในพระเจดีย์องค์ใหญ่ยังบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สำหรับงานประเพณีที่สำคัญของวัดสระเกศฯ ก็คือ “งานวัดภูเขาทอง” ที่จะจัดขึ้นในช่วงวันลอยกระทงของทุกปี โดยจะมีการห่มผ้าแดง งานสมโภชน์องค์พระบรมสารีริกธาตุ และเทศกาลงานวัดในคราวเดียวกัน
ในภายหลังมีการบูรณะปฏิสังขรณ์เมื่อปี พ.ศ.2509 โดยบุกระเบื้องโมเสกสีทองที่องค์พระเจดีย์ พร้อมกับมีการสร้างพระเจดีย์องค์เล็กๆ รายรอบพระเจดีย์องค์ใหญ่ทั้ง 4 ทิศ และภายในพระเจดีย์องค์ใหญ่ยังบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สำหรับงานประเพณีที่สำคัญของวัดสระเกศฯ ก็คือ “งานวัดภูเขาทอง” ที่จะจัดขึ้นในช่วงวันลอยกระทงของทุกปี โดยจะมีการห่มผ้าแดง งานสมโภชน์องค์พระบรมสารีริกธาตุ และเทศกาลงานวัดในคราวเดียวกัน
พระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม บนเหรียญ 1 บาท
เหรียญ 1 บาท เป็นรูป “พระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม” หรือพระศรีรัตนเจดีย์ ภายในวัดพระแก้ว ตั้งอยู่บนฐานไพที ทางทิศตะวันตก รูปแบบจำลองมาจากเจดีย์ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ ณ พระราชวังกรุงศรีอยุธยา มีความสูงประมาณ 40 เมตร ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุจากลังกา
พระบรมธาตุ วัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ บนเหรียญ 50 สตางค์
เหรียญ 50 สตางค์ เป็นรูป “พระบรมธาตุ วัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเมืองเชียงใหม่และดินแดนล้านนาของไทย และถือเป็นหนึ่งในเจ็ดของพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ในแถบภาคเหนือตอนบนและเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนที่เกิดปีมะแม
พระบรมธาตุดอยสุเทพ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากือนาธรรมมิกราช เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ในภายหลังได้มีการบูรณะ และสร้างฉัตรไว้ทั้งสี่มุมของพระบรมธาตุ อันหมายถึงสัญลักษณ์ของความร่มเย็นที่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาที่แผ่ไปในทั้ง 4 ทิศ
พระบรมธาตุดอยสุเทพ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากือนาธรรมมิกราช เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ในภายหลังได้มีการบูรณะ และสร้างฉัตรไว้ทั้งสี่มุมของพระบรมธาตุ อันหมายถึงสัญลักษณ์ของความร่มเย็นที่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาที่แผ่ไปในทั้ง 4 ทิศ
พระบรมธาตุเจดีย์ วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช บนเหรียญ 25 สตางค์
พระเจดีย์ วัดพระธาตุเชิงชุม จ.สกลนคร บนเหรียญ 10 สตางค์
องค์พระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม บนเหรียญ 5 สตางค์
เหรียญ 25 สตางค์ เป็นรูป “พระบรมธาตุเจดีย์ วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช” พระบรมธาตุเจดีย์ เป็นโบราณสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชและชาวพุทธทั่วไป ตัวเจดีย์เป็นทรงระฆังคว่ำหรือทรงโอคว่ำ ได้รับอิทธิพลจากศิลปะลังกา มีความโดดเด่นอยู่ที่ยอดเจดีย์ซึ่งหุ้มด้วยทองคำแท้
พิธีที่นิยมปฏิบัติกันในช่วงวันมาฆบูชาและวันวิสาขบูชาของทุกปีก็คือ การแห่ผ้าขึ้นธาตุ ซึ่งจัดเป็นงานบุญประจำปีที่มีผู้คนทั่วทุกสารทิศมาร่วมสร้างกุศลกัน โดยมีความเชื่อว่า หากใครได้นำผ้าขึ้นธาตุแล้วนั้น ไม่ว่าจะขอพรเรื่องใดก็จะสำเร็จได้ดังหวัง และความมหัศจรรย์ที่เป็นหนึ่งในอันซีนไทยแลนด์ด้วยก็คือ องค์พระบรมธาตุจะไม่มีเงาทอดลงพื้นไม่ว่าแสงอาทิตย์จะส่องกระทบไปทางใด
พิธีที่นิยมปฏิบัติกันในช่วงวันมาฆบูชาและวันวิสาขบูชาของทุกปีก็คือ การแห่ผ้าขึ้นธาตุ ซึ่งจัดเป็นงานบุญประจำปีที่มีผู้คนทั่วทุกสารทิศมาร่วมสร้างกุศลกัน โดยมีความเชื่อว่า หากใครได้นำผ้าขึ้นธาตุแล้วนั้น ไม่ว่าจะขอพรเรื่องใดก็จะสำเร็จได้ดังหวัง และความมหัศจรรย์ที่เป็นหนึ่งในอันซีนไทยแลนด์ด้วยก็คือ องค์พระบรมธาตุจะไม่มีเงาทอดลงพื้นไม่ว่าแสงอาทิตย์จะส่องกระทบไปทางใด
พระเจดีย์ วัดพระธาตุเชิงชุม จ.สกลนคร บนเหรียญ 10 สตางค์
เหรียญ 10 สตางค์ เป็นรูป “พระเจดีย์ วัดพระธาตุเชิงชุม จ.สกลนคร” เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนรูปทรงสี่เหลี่ยม มีซุ้มประตูทั้ง 4 ด้าน ส่วนที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนั้นเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่ครอบองค์เดิมไว้ โดยทางด้านตะวันออกของเจดีย์ จะมีประตูทางเข้าสู่สถูปองค์เก่าที่อยู่ภายใน
องค์พระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม บนเหรียญ 5 สตางค์
เหรียญ 5 สตางค์ เป็นรูป “องค์พระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม” ที่นับว่าเป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย โดยมีการสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อครั้งที่ได้ส่งสมณทูตเข้ามาเผยแผ่พระศาสนา
สำหรับการบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์นั้น เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ขณะที่ยังทรงผนวช ได้เสด็จธุดงค์มานมัสการ ภายหลังจากที่ทรงขึ้นครองราชย์แล้ว จึงโปรดให้ก่อพระเจดีย์ใหม่หุ้มองค์เดิมไว้ พร้อมสร้างวิหารคตและระเบียงโดยรอบ และมาแล้วเสร็จเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 โดยในรัชกาลต่อๆ มา ก็ยังมีการบูรณะในบริเวณต่างๆ เรื่อยมา
ข้อมูลลวดลายบนเหรียญกษาปณ์จากเว็บไซต์กรมธนารักษ์ (www.treasury.go.th)
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx
สำหรับการบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์นั้น เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ขณะที่ยังทรงผนวช ได้เสด็จธุดงค์มานมัสการ ภายหลังจากที่ทรงขึ้นครองราชย์แล้ว จึงโปรดให้ก่อพระเจดีย์ใหม่หุ้มองค์เดิมไว้ พร้อมสร้างวิหารคตและระเบียงโดยรอบ และมาแล้วเสร็จเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 โดยในรัชกาลต่อๆ มา ก็ยังมีการบูรณะในบริเวณต่างๆ เรื่อยมา
พระธาตุ วัดพระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพูน บนเหรียญ 1 สตางค์
เหรียญ 1 สตางค์ เป็นรูป “พระธาตุ วัดพระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพูน” อีกหนึ่งวัดสำคัญของล้านนา ภายในวัดมีการบรรจุพระบรมอัฐิของพระพุทธเจ้า (พระเกศาธาตุ) ซึ่งเดิมนั้นพื้นที่บริเวณนี้เป็นพระราชวังที่ประทับของกษัตริย์ราชวงศ์จามเทวี เมื่อได้เกิดนิมิตว่าบริเวณนี้มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ จึงมีการสร้างพระเจดีย์ทรงปราสาทครอบไว้ และได้ถวายเป็นพระอารามในภายหลัง พระธาตุหริภุญไชย เป็นหนึ่งในเจ็ดของพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ในแถบภาคเหนือตอนบนเช่นกัน และเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนที่เกิดปีระกา (ไก่)
และนั่นก็คือเรื่องราวของวัดต่างๆในเหรียญไทย ซึ่งเป็นคุณค่าในความงดงามที่หลายๆคนอาจมองข้ามไป ทั้งๆที่เป็นเรื่องใกล้ตัวแค่นี้เอง
และนั่นก็คือเรื่องราวของวัดต่างๆในเหรียญไทย ซึ่งเป็นคุณค่าในความงดงามที่หลายๆคนอาจมองข้ามไป ทั้งๆที่เป็นเรื่องใกล้ตัวแค่นี้เอง
ข้อมูลลวดลายบนเหรียญกษาปณ์จากเว็บไซต์กรมธนารักษ์ (www.treasury.go.th)
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx
ไม่มีความคิดเห็น