ฟ้องซ้อน ฟ้องซ้ำ
ฟ้องซ้อน ฟ้องซ้ำ และดําเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน คือ ไม่ต้องการให้มีการวินิจฉัย ในประเด็นใดประเด็นหนึ่งหลายครั้ง นอกจากเปลืองทรัพยากรของศาลแล้ว ยังเสียเวลาบุคคลอื่นที่เขาเป็นคดีกัน ให้ต้องต่อแถวล่าช้าออกไปด้วย และหากปล่อยให้มีการนําคดี มาฟ้องในประเด็นเดียวกันหลายครั้ง อาจมีข้อโต้เถียงกันได้ว่า จะใช้คำพิพํากษาใดปรับแก่คดี
ภาพรวมของวิแพ่ง (ฟ้องซ้อน ฟ้องซ้ำ ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ)
คำถามยอดฮิตที่มักจะได้รับการสอบถามจากนักศึกษากฎหมายอยู่เป็นประจำคือ
“ฟ้องซ้อน ฟ้องซ้ำ และดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ จะอยู่ในข้อเท็จจริงเดียวกันได้หรือไม่ หรือมี
กรณีใดที่จะมีสองกรณีอยู่ในข้อเท็จจริงเดียวกันได้หรือไม่” คำถามนี้หากเราเข้าใจเรื่องนี้อย่างถ่อง แท้แล้ว เราจะตอบคำถามนี้ได้เองค่ะ
ฟ้องซ้อน ฟ้องซ้ำ และดำเนินกระบวนพิจารณาซ่ำ มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน คือ
ไม่ต้องการให้มีการวินิจฉัยในประเด็นใดประเด็นหนึ่งหลายครั้ง นอกจากเปลืองทรัพยากรของ ศาล
แล้ว ยังเสียเวลาบุคคลอื่นที่เขาเป็นคดีกันให้ต้องต่อแถวล่าช้าออกไปด้วย และหากปล่อยให้มีการ
นำคดีมาฟ้องในประเด็นเดียวกันหลายครั้ง อาจมีข้อโต้เถียงกันได้ว่าจะใช้คำพิพากษาใดปรับแก่คดี
ในการศึกษาทั้งสามกรณีควรศึกษาไปพร้อม ๆ กัน เพราะโดยหลักแล้วพื้นฐานของทั้งสาม
เรื่องจะต้องพิจารณาว่ามีประเด็นแห่งคดีเดียวกันหรือไม่เช่นเดียวกัน ซึ่งฟ้องซ้ำและดำเนิน
กระบวนพิจารณาซ้ำต้องเป็นกรณีที่ศาลได้วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวแล้ว และคำวินิจฉัยต้อง
ผูกพันคู่ความ (และผู้สืบสิทธิของคู่ความ) ตามหลักเรื่องคำพิพากษาผูกพันคู่ความในกระบวน
พิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่ง (มาตรา ๑๔๕) นั่นเอง
ในเรื่องฟ้องซ้ำ ฟ้องซ้ำ และดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำจะแบ่งเนื้อหาออกเป็น ๒
เรื่องใหญ่ ๆ คือ รูปแบบและเนื้อหา เวลาศึกษาคำพิพากษาฎีกาหรือแนวข้อสอบ ต้องพิจารณา
ดูว่าประเด็นที่เขาถามเป็นประเด็นเรื่องใดในสองเรื่องนี้
หากศึกษาในเรื่อง “รูปแบบ” เราต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเนื้อหาของคดีทั้งสองคดีนั้นมี
ประเด็นแห่งคดีเดียวกัน (เพราะหากเป็นคนละประเด็นกันย่อมไม่เป็นทั้ง ฟ้องซ้อน ฟ้องซ้ำ และ
ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ อยู่แล้ว) ข้อพิจารณาของทั้งสามกรณีต้องดูหลักกฎหมายตามมาตรา
๑๔๔, ๑๔๘ และ ๑๗๓ วรรคสอง (๑) เวลาที่เราพิจารณาอย่านำไปสับสนปนเปกัน ให้วินิจฉัยไล่
เรียงลำดับไป
(๑) ฟ้องซ้ำ (มาตรา ๑๔๘) ง่ายที่สุดและไม่ซับซ้อน ดูเพียงว่า “ขณะฟ้อง” คดีที่สอง
คดีแรกมีคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีถึงที่สุดแล้วหรือไม่ (ถึงที่สุดเมื่อใดดูมาตรา ๑๔๗ วรรคสอง)
หากคดีแรกยังไม่ถึงที่สุด คดีหลังไม่เป็นฟ้องซ้ำ (แต่อําจเป็นกรณีอื่นหรือไม่ ไปดูต่อข้อ (๒)
และ (๓))
(๒) ฟ้องซ้อน (มาตรา ๑๗๓ วรรคสอง (๑)) ดูคดีแรกว่า “อยู่ในระหว่างพิจารณา” หรือไม่
หากไม่อยู่ในระหว่างพิจารณา เช่น ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีไปแล้ว แต่ยังอยู่ในระยะเวลาอุทธรณ์
หรือเป็นกรณีที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว เช่นนี้เป็นกรณีที่คดีไม่ได้อยู่ระหว่างพิจารณา
หากโจทก์เดียวกันกับคดีก่อนนำคดีมาฟ้องอีก ย่อมไม่เป็นฟ้องซ้อน
- เน้นย้ำต้องเป็นโจทก์ในคดีเดิม นำคดีมาฟ้องใหม่เท่านั้น จึงจะเป็นฟ้องซ้อน การที่จำเลย
คดีแรกนำคดีมาฟ้องโจทก์กลับ ไม่เป็นฟ้องซ้อน
- คดีอยู่ในระหว่างพิจารณา ดูตั้งแต่โจทก์นำคดีแรกมาฟ้อง ไม่ว่าศาลจะรับฟ้องไว้หรือไม่
หรืออยู่ในชั้นไต่สวนขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ยังไม่ทันได้รับฟ้อง หากโจทก์นำคดีไปฟ้องใหม่
คดีใหม่เป็นฟ้องซ้อน (คำพิพากษาฎีกําที่ ๘๙๙๕/๒๕๔๒)
-มีกรณีฟ้องซ้อนย้อนแบบพิเศษด้วย ซึ่งเป็นกรณีตามแนวฎีกา กล่าวคือ ศาลชั้นต้น พิพากษาคดีไปแล้ว คดีอยู่ในระหว่างระยะเวลาอุทธรณ์ โจทก์นำคดีไปฟ้องใหม่ ขณะโจทก์ฟ้อง คดีไม่ได้อยู่ในระหว่างพิจารณาจึงยังไม่เป็นฟ้องซ้อน แต่ต่อมาภายหลัง จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษา
คดีแรก คดีที่สองเป็นฟ้องซ้อน (ผมเรียกกรณีนี้ว่าฟ้องซ้อนย้อนหลัง) ดูคำพิพากษาฎีกาที่ ๒๕๕๕/ ๒๕๓๘, ๖๘๔/๒๕๔๘ ประกอบ
-ฟ้องซ้อนไม่จำเป็นต้องดูว่ามีการวินิจฉัยในประเด็นเดิมแล้วหรือยัง (นั่นเป็นเรื่องของฟ้อง
ซ้ำและดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ) ดูเพียงว่าคดีแรกที่โจทก์ฟ้อง มีประเด็นเดียวกันกับคดีที่สองที่
โจทก์ฟ้องเท่านั้น
-คดีที่มีฟ้องแย้ง จำเลยคือโจทก์ของฟ้องแย้ง หากระหว่างพิจารณาคดีแรก จำเลยนำคดีที่
ได้ฟ้องแย้งมําฟ้องเป็นคดีใหม่ ฟ้องคดีใหม่ย่อมเป็นฟ้องแย้ง
(๓) ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ (มาตรา ๑๔๔) ต้องเป็นกรณีที่ศาลได้วินิจฉัยในประเด็น
แห่งคดีนั้นแล้วไม่ว่าจะเป็นศาลใดก็ตาม ต้องห้ามคู่ความไม่ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้น
หรือนำไปฟ้องศาลอื่นอีกต่อไป (เพราะคำพิพากษาต้องผูกพันคู่ความ) แต่หากมิได้วินิจฉัยใน
ประเด็นแห่งคดี ฟ้องใหม่ไม่เป็นดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
-กรณีห้ามในคดีเดียวกัน เช่น ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะคดีขาดอายุความ โจทก์ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความ ให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยใน ประเด็นอื่นต่อไป คู่ความมิได้ฎีกํา ประเด็นย่อมเป็นที่สุดแล้วว่าคดีไม่ขาดอายุความ จำเลยจะอ้าง ในศาลชั้นต้นว่าคดีขาดอายุความ และศาลจะวินิจฉัยในประเด็นอายุความอีกไม่ได้ (ห้ามทั้งศาลและคู่ความ) ดูคำพิพากษาฎีกาที่ ๘๙๒๐/๒๕๔๗, ๕๕๖๔/๒๕๔๙
-หากโจทก์ฟ้องจำเลยคดีแรก จำเลยคดีแรกฟ้องโจทก์กลับเป็นคดีที่สอง (ไม่เป็นฟ้องซ้อน เพราะโจทก์คนละคนกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำเพราะคดีแรกยังมิได้มีคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีถึงที่สุดแล้ว) ไม่ว่าคดีแรกหรือคดีที่สองมีคำวินิจฉัยแล้ว อีกคดีหนึ่งจะเป็นดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ทันที โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าคดีใดฟ้องก่อน (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕/๒๕๓๘, ๓๓๓๐-๓๓๓๑/๒๕๒๔)
ดังนั้นเราจึงมาถึงข้อสรุปคำถามของเราว่า จะมีกรณี “ฟ้องซ้อน ฟ้องซ้ำ และดำเนินกระบวน
พิจารณาซ้ำ จะอยู่ในข้อเท็จจริงเดียวกันได้หรือไม่ หรือมีกรณีใดที่จะมีสองกรณีอยู่ในข้อเท็จจริง เดียวกันได้หรือไม่” เมื่อฟ้องซ้อนต้องเป็นกรณีคดีแรกอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล แต่ฟ้องซ้ำต้อง เป็นกรณีที่คดีแรกมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว สองกรณีนี้จึงไม่น่าจะอยู่ร่วมโลกกันได้ (แต่หากมีท่ําน ไหนเห็นว่าน่าจะอยู่ร่วมกันได้ รบกวนช่วยแจ้งด้วยครับ)
ส่วนฟ้องซ้อนกับดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ อาจจะอยู่ร่วมกันได้ในกรณี ที่ประเด็นในคดีแรกได้มีการวินิจฉัยแล้ว แต่คดีหลังโจทก์นำคดีมาฟ้อง
ขณะคดีแรกอยู่ในระหว่างพิจารณา เช่น นายเอฟ้องเรียกเงินกู้นายบี ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าให้นายบี ชำระเงินตามสัญญากู้ แต่ดอกเบี้ยไม่มีข้อตกลงกันเป็นอย่างอื่นจึงให้เรียกได้ร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นายบี อุทธรณ์ว่าไม่ต้องชำระหนี้ตํามสัญญากู้เนื่องจากมิได้รับเงินกู้ นายเอนำคดีมาฟ้องเป็นคดีใหม่ว่ามี หลักฐานการกู้ว่านายบีตกลงให้มีการเรียกดอกเบี้ยได้ร้อยละ ๑๕ ต่อปี
-คดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะคดีแรกยังไม่ถึงที่สุด แต่เป็นฟ้องซ้อนเนื่องจากคดีแรกอยู่ ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ นายเอนำคดีมาฟ้องคดีหลังในเรื่องเดียวกันกับคดีก่อน จึงเป็นฟ้องซ้อน และเมื่อคดีแรกได้มีการวินิจฉัยในประเด็นเรื่องดอกเบี้ยตามสัญญากู้มาแล้ว
นายเอจึงไม่อาจนำคดีซึ่งมีประเด็นเดียวกันกับคดีมาดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับประเด็น นั้นได้อีกเป็นดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ และกรณีฟ้องซ้ำ กับดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำจะอยู่ร่วมกันได้ในกรณีที่คดีแรกมีคำวินิจฉัยใน คดีถึงที่สุดแล้วเท่านั้น คดีหลังที่คู่ความนำคดีมาฟ้องในประเด็นเดิมจึงเป็นทั้งฟ้องซ้ำและดำเนิน กระบวนพิจารณาซ้ำ
ในส่วนของเรื่องเนื้อหา ประเด็นเดียวกันแห่งคดีหรือไม่ มีคำพิพากษาฎีกาให้ศึกษา มากมาย ในที่นี้อาจกล่าวได้ไม่หมด จะกล่าวไว้เฉพาะเรื่องที่ควรรู้และไม่ซับซ้อนเกินไปเท่านั้น
-พนักงานอัยการฟ้องคดีอาญา มีคำขอให้คืนทรัพย์หรือใช้ราคาในส่วนแพ่ง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๔๓ ถือว่าเป็นการขอแทนผู้เสียหาย ผู้เสียหายมาฟ้องเป็นคดีแพ่งให้คืน ทรัพย์หรือใช้ราคาอีก เป็นประเด็นเดียวกัน ผู้เสียหายฟ้องได้เฉพาะดอกเบี้ยเพิ่มเติมเท่านั้น (แต่หากผู้เสียหายยื่นคำร้องขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา ๔๔/๑ แล้ว ย่อมไม่อาจฟ้องเป็นคดีใหม่ได้อีก)
-สิ่งที่สามารถฟ้องเรียกได้ในมูลคดีก่อนอยู่แล้ว ต้องฟ้องให้ครบถ้วน จะมาฟ้องภายหลัง อีกไม่ได้ เช่นฟ้องขอแบ่งมรดกหรือแบ่งสินสมรส (คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๘๘/๒๕๒๕, ๓๐๗/๒๕๒๑)
-คดีแรกฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการที่จำเลยทำให้กำแพงเสียหาย คดีนี้ฟ้อง ขอให้ขับไล่จำเลย แม้เรียกค่าเสียหายมาด้วยก็เป็นการเรียกค่าเสียหายจากกรณีที่จำเลยเข้ามา อยู่ในที่ดินโดยไม่มีสิทธิ เป็นคนละประเด็นกัน
-ยกฟ้องเพราะฟ้องเคลือบคลุม ฟ้องผิดเขตอำนาจศาล ยังมิได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ฟ้องใหม่ได้ (แต่ในเรื่องอำนาจฟ้อง ต้องดูเป็นกรณีๆ ไปว่าได้วินิจฉัยในเนื้อหาแล้วหรือไม่ หากเป็น กรณีที่เป็นสิทธิของคู่สัญญาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ครบถ้วน เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ไม่ถือว่าศาล วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดี เช่น มิได้บอกกล่าวบังคับจำนอง หรือมิได้บอกกล่าวผู้ค้ำประกันก่อนฟ้อง เช่นนี้ฟ้องเป็นคดีใหม่ได้หากบอกกล่าวแล้ว แต่หากยกฟ้องเพราะพยานหลักฐานฟังไม่ได้เช่นไม่ติด อากรแสตมป์ งดสืบพยานเพราะไม่มีพยานมาศาล ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน เช่นนี้ถือว่าเป็นประเด็นเดียวกัน)
-สิทธิที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลังฟ้องคดีเดิมแล้ว หรือเป็นหนี้ตามสัญญาเดิมแต่เกิดขึ้น
ภายหลังฟ้อง ฟ้องใหม่ได้ เช่น คดีเดิมศาลพิพากษาให้คืนรถที่เช่าซื้อหรือใช้ราคา หลังจากนั้น โจทก์ได้รับรถคืนแล้ว แต่ขายทอดตลาดทรัพย์ไม่พอกับหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ (คำพิพากษาฎีกา ที่ ๔๖๓๖/๒๕๔๙, ๗๕๗๓/๒๕๔๙) หนี้ที่เกิดจากการทำสัญญาประนีประนอมยอมความจาก การถูกหลอกลวงฉ้อฉลมิใช่หนี้ตามฟ้องเดิม (คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๓๐๑/๒๕๔๙)
-เดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย จำเลยต่อสู้อ้างครอบครองปรปักษ์ ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุด ให้ยกฟ้องเพราะฟังว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์แล้ว คดีใหม่จำเลยยื่นคำร้อง ขอให้ศาลแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อนำไปเปลี่ยนแปลงทํางทะเบียนไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะเป็น กรณีจำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล (คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๙๔๘/๒๕๔๓) หากโจทก์คดีเดิมยื่น
คำคัดค้านเข้ามาในคดีหลังอ้างว่าเขามีสิทธิครอบครอง เป็นกรณีที่คำพิพากษาต้องผูกพันโจทก์ ซึ่งเป็นคู่ความในคดีเดิมว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องแล้วตามมาตรา ๑๔๕ และห้ามมิให้ ดำเนินกระบวนพิจารณาในประเด็นที่ได้วินิจฉัยแล้วอีก การยื่นคำคัดค้านของโจทก์ในคดีหลังจึง เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา ๑๔๔ (ไม่เป็นฟ้องซ้ำเพราะโจทก์ไม่ได้เป็นผู้ฟ้อง คดีใหม่ ไม่เป็นฟ้องฟ้องเพราะโจทก์มิได้ฟ้องคดีใหม่ในขณะคดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณา)
กล่าวโดยสรุป ในการศึกษาเรื่องนี้ เราควรศึกษาไปพร้อมกัน โดยแยกประเด็นเรื่อง “เนื้อหา” โดยอ่านคำพิพากษาฎีกาและทำความเข้าใจว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นประเด็น เดียวกัน หรือไม่ แล้วนำมาปรับใช้กับเรื่อง “รูปแบบ” ซึ่งเราสามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นฟ้องซ้อน ฟ้องซ้ำ หรือ ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือไม่
ขอบคุณนักกฎหมายทุกท่าน ที่ช่วยเขียนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ทำให้ได้ความรู้แบบเรียนลัดมาใช้ปกป้องพระพุทธศาสนา อย่างทันเวลา ทันใช้ ทันใจ ทันสถานการณ์ ไม่ต้องงุ่มง่าม เสียเวลาคลำทางด้วยตัวเอง
Cr : Ptt Cnkr
ไม่มีความคิดเห็น