ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี สตรีที่ถูกจองจำในวังตลอดรัชกาล

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี
เป็นที่รู้จักในฐานะอดีตพระคู่หมั้นในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และได้รับการสถาปนาเป็น "พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี" ทั้งนี้พระองค์เป็นเสือป่าหญิงคนแรกของประเทศไทย (กิจกรรมด้านลูกเสือ) และเป็นผู้ริเริ่มการสวมเครื่องประดับที่คาดศีรษะจนเป็นที่นิยมของสตรีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี ในขณะนั้นคือ หม่อมเจ้าหญิงวรรณวิมล ทรงเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นครั้งแรก ที่ห้องทรงไพ่บริดจ์ ในงานประกวดภาพเขียน ณ โรงละครวังพญาไท ซึ่งนับเป็นงานชุมนุมของพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งผู้ใหญ่และหนุ่มสาว ซึ่งในเหตุการณ์นี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ ทรงเล่าเกี่ยวกับการพบกันครั้งแรกของทั้ง 2 พระองค์ในหนังสือ เกิดวังปารุสก์ ความตอนหนึ่งว่า...
ในภาพจากหนังสือเจ้าชีวิต บรรยายแต่เพียงว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ทรงฉายพระรูปร่วมกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี และพระนางเธอลักษมีลาวัณ

"...ข้าพเจ้าดูรูปในที่ต่างๆ คุยกับคนต่างๆ แต่มักจะไปนั่งบนพื้นคุยกับทูลหม่อมลุงเสมอบ่อยๆ ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าทูลว่า "ทูลหม่อมลุงครับ ที่ห้องทางโน้นเขาเล่นไพ่บริดจ์กัน" ท่านทรงตอบว่า "อย่างงั้นหรือ ลุงต้องไปดู บางทีจะไปเล่นกับเขาบ้าง" เมื่อท่านเสด็จไปเล่นจริงๆ ก็เลยไปพบท่านหญิงขาว..." (หญิงขาว เป็นพระนามเรียกในหมู่พระญาติของหม่อมเจ้าหญิงวรรณวิมล)

ในการพบกันครั้งนั้นทำให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวถูกพระราชหฤทัยในรูปโฉมและคุณสมบัติเฉพาะของหม่อมเจ้าวรรณวิมล และยิ่งได้มีโอกาสสนทนากัน ก็พบว่ามีรสนิยมต้องกัน กล่าวคือมีรสนิยมในงานศิลปะประเภทวรรณกรรมและการแสดง ทั้งยังทรงมีไหวพริบ คารมคมคาย และความคิดอ่าน ทำให้การสนทนามีรสชาติเป็นที่พอพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง
ในภาพจากหนังสือเจ้าชีวิต บรรยายแต่เพียงว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ทรงฉายพระรูปร่วมกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี และพระนางเธอลักษมีลาวัณ

ภายหลังจึงสถาปนา "หม่อมเจ้าวรรณวิมล" ขึ้นเป็น "หม่อมเจ้าวัลลภาเทวี" และสถาปนาขึ้นเป็น "พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี" พระคู่หมั้น โดยการสถาปนานี้ก็เพื่อจะได้สมพระเกียรติยศสำหรับจะได้กระทำพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสในภายหน้า ในช่วงของการหมั้นนั้นนับเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขของทั้ง 2 พระองค์ เพราะมีพระทัยจดจ่อกันอยู่ตลอดเวลา โดยโปรดให้พระองค์เจ้าวัลลภาเทวีเสด็จมาประทับ ณ พระตำหนักสวนจิตรลดา ในขณะที่พระองค์เองทรงประทับอยู่ที่วังพญาไท ซึ่งอยู่ใกล้กัน โปรดเสด็จเสวยของว่างและโทรศัพท์คุยหากันเสมอ เรื่องนี้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ เคยตรัสเล่าความไว้ว่า

"...ทูลหม่อมลุงเสด็จเสวยของว่างที่นั่นทุกวัน ข้าพเจ้าก็ไปเฝ้าท่านที่นั่น บางเวลาเมื่อข้าพเจ้านั่งเฝ้าท่านอยู่ที่วังพญาไทเวลาทรงพระอักษร ทูลหม่อมลุงก็ทรงคุยกับคู่หมั้นของท่านโดยโทรศัพท์สังเกตว่าโปรดมาก"

ระหว่างห้วงเวลาแห่งความสุข และการหมั้นหมายนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครคำกลอน เรื่อง ศกุนตลา ซึ่งจะพบว่าในหน้าแรกของบทพระราชนิพนธ์นั้น มีคำอุทิศว่า

นาฏกะกลอนนี้ฉันมีจิต

ขออุทิศแด่มิ่งมารศรี

ผู้เป็นยอดเสน่หาจอมนารี

วัลลภาเทวีคู่ชีวัน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี ขณะเสด็จขึ้นนมัสการพระปฐมเจดีย์
เรื่องราวดูจะจบลงด้วยดีในสายตาผู้ได้พบเห็น แต่แล้ว 6 เดือนต่อมาจึงมีพระบรมราชโองการให้ถอนหมั้น เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2464 และโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระนามว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี จากนั้นทรงพระราชทานโซ่ทองคำไปเกาะกุมพระองค์เจ้าวัลลภาเทวีมาติดที่ศาลาภายในพระบรมมหาราชวัง ขณะที่ข้อมูลอีกด้านหนึ่งอธิบายว่าการใช้โซ่ทองคำนั้นเป็นเพียงการการเข้าใจผิด เพราะจริงๆ แล้วเป็นการ "ขังหลวง" ซึ่งหมายถึง การเชิญไปประทับที่ตำหนักในพระบรมมหาราชวัง แต่อาจเสด็จไปที่ต่างๆ ได้ ห้ามพักแรม และแต่ต้องกลับมาประทับที่เดิม โดยไม่ได้จำกัดอิสรภาพเช่นผู้ที่ถูกคุมขังทั่วไป เพียงแต่จำกัดอิสรภาพในการเลือกคู่ครอง เพราะถือว่าได้ทรงถวายตัวเป็นคนของหลวงแล้ว จะไปเสกสมรสกับบุคคลอื่นไม่ได้เว้นแต่จะได้รับพระบรมราชานุญาต เรื่องทรงถูกจำขังในพระบรมมหาราชวังจึงเป็นเพียงคำเปรียบเปรยหาใช่ทรงถูกจำขังดังที่เข้าใจไม่

มีการบันทึกว่าหลังการ "ขังหลวง" ด้วยทรงพระทิฐิมานะ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวีจึงไม่ทรงทูลขอพระราชทานอภัย กับทั้งยังส่งหนังสือ "ศกุนตลา" ที่พระราชทานมา กลับไปพร้อมขีดเส้นใต้กลอนบทเหล่านี้

ทรงภพผู้ปิ่นโปรดฦาสาย 

พระองค์เองสิไม่มียางอาย

พูดง่ายย้อนยอกกรอกคำ
มาหลอกลวงชมเล่นเสียเปล่าเปล่า
ทิ้งให้คอยสร้อยเศร้าทุกเช้าค่ำ
เด็ดดอกไม้มาดมชมจนช้ำ
ไม่ต้องจดจำนำพา

เหมือนผู้ร้ายย่องเบาเข้าลักทรัพย์
กลัวเขาจับวิ่งปร๋อไม่รอหน้า
จงทรงพระเจริญเถิดราชา
ข้าขอลาแต่บัดนี้

มีการคาดเดาถึงสาเหตุที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงถอนหมั้นพระองค์เจ้าวัลลภาเทวีหลายด้านด้วยกัน บางคนกล่าวว่าเป็นเพราะด้วยนิสัยของสตรีหัวสมัยใหม่ คำนึงถึงสิทธิ์ที่เท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย ซึ่งอาจจะมีผลต่อการครองราชย์ในอนาคต หรือบางฝ่ายเล่าว่าเกิดจากที่วู่วามและหึงหวง แต่บางกระแสก็กล่าวว่าเป็นเพราะพระองค์เจ้าวัลลภาเทวีนั้น แสดงกริยาและกล่าวดูถูกมหาดเล็กคนสนิทของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จนทรงกริ้ว

มีหนังสือหลายเล่มได้มีการบันทึกว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงเป็นสุภาพบุรุษที่ทรงให้ความสำคัญกับสุภาพสตรีมาก ถึงกับทรงพระราชนิพนธ์บทความเกี่ยวกับสถานภาพสตรีไปลงในหนังสือพิมพ์พระราชทานชื่อว่า "เครื่องหมายแห่งความเจริญรุ่งเรือง คือสถานภาพแห่งสตรี" นอกจากนั้นยังทรงสอนคุณพนักงานฝ่ายในให้รู้จักเล่นไพ่ต่างๆ รวมทั้งบิลเลียดและสนุกเกอร์ และหลังจากการถอนหมั่นในครั้งนี้ ก็ได้สร้างความโศกเศร้าให้กับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ถึงกับมีการพระราชนิพนธ์คำกลอนความคิดถึงออกมา

หลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 จึงใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ พระราชทานอภัยโทษแก่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี โดยให้ออกจากพระบรมมหาราชวัง และพระราชทานวังที่ประทับให้อยู่บริเวณสี่แยกพิชัย ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ผู้ซึ่งเป็นพระบิดาประทานชื่อว่า "พระกรุณานิเวศน์" ขณะนั้นมีพระชนมายุ 33 พรรษา ทรงประทับอยู่ที่พระกรุณานิเวศน์ และสนพระทัยในพระพุทธศาสนาตลอดมาจนสิ้นพระชนม์

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี ได้เข้าประทับรักษาพระองค์ในโรงพยาบาลศิริราชด้วยโรคพระวักกะพิการ เป็นเวลา 60 วัน โดยพระองค์ได้สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการสงบ ในเวลา 06.07 นาฬิกาของวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2494 สิริพระชนมายุได้ 58 พรรษา 5 เดือน และทรงได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดเบญจมบพิตร เมื่อวันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495


ไม่มีความคิดเห็น