ในพระไตรปิฎกมีข้อมูลเรื่องการไว้ทุกข์ ปรากฏอยู่ใน ติโรกุฑฑกัณฑ์ ขุททกปาฐะ และอีกหลายพระสูตร คิดว่าน่าสนใจ จึงสรุปประเด็นพอเป็นสาระสำคัญไว้ดังนี้
1. ไว้ทุกข์เพื่อผู้ตาย คือการไว้ทุกข์เพื่อระลึกนึกถึงคุณงามความดีของผู้ตาย และทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย
2. ไว้ทุกข์เพื่อคนเป็น คือได้สำรวจตัวเองว่าปฏิบัติต่อผู้ตาย เป็นครั้งสุดท้ายอย่างสมบูรณ์พร้อมแล้ว
ไม่มีเวรมีกรรมต่อกรรม อโหสิกรรมต่อกันเรียบร้อยแล้ว
ไม่มีเวรมีกรรมต่อกรรม อโหสิกรรมต่อกันเรียบร้อยแล้ว
3. ไว้ทุกข์เพื่อสอนลูกหลาน คือไว้ทุกข์เพื่อสอนลูกหลานให้รู้ธรรมเนียมปฏิบัติ ในการทำบุญให้ผู้ตาย แสดงความกตัญญูกตเวที
4. ไว้ทุกข์เพื่อสงเคราะห์หมู่ญาติในสัมปรายภพ คือไว้ทุกข์เพื่อทำบุญสงเคราะห์หมู่ญาติ ที่จากไปนานและยังตกระกำลำบากในสัมปรายภพ ให้ได้พ้นจากอบายภูมิที่แสนลำบากไปสู่สุคติภูมิที่ดีกว่า
5. ไว้ทุกข์เพื่อมุ่งสู่การหลุดพ้นจากวัฏสงสาร คือไว้ทุกข์เพื่อพิจารณาความตายเป็นมรณานุสติ
ไว้ทุกข์เพื่อเตือนตัวเองให้รีบสั่งสมบุญทำความดี ไว้ทุกข์เพื่อเป็นการผูกใจไว้กับการบรรลุมรรคผลนิพพาน
ไว้ทุกข์เพื่อเตือนตัวเองให้รีบสั่งสมบุญทำความดี ไว้ทุกข์เพื่อเป็นการผูกใจไว้กับการบรรลุมรรคผลนิพพาน
สาระสำคัญที่สรุปมานี้ สมดังกับพุทธวจนะที่ปรากฏใน ฐานะสูตร ว่า
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ 5 ประการนี้ อันสตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า
1. เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
2. เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
3. เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
4. เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
5. เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม
มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
เราทำกรรมใดไว้ ดีหรือชั่วก็ตาม เราจะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น"
1. เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
2. เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
3. เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
4. เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
5. เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม
มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
เราทำกรรมใดไว้ ดีหรือชั่วก็ตาม เราจะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น"
Cr : Ptt Cnkr
ไม่มีความคิดเห็น