ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

ลดโรคอ้วน-เบาหวาน ด้วยยาฉีดควบคุมน้ำหนัก-อินซูลิน ด้วยยาฉีดควบคุมน้ำหนัก-อินซูลิน

ลดโรคอ้วน-เบาหวาน ด้วยยาฉีดควบคุมน้ำหนัก-อินซูลิน
ภาวะอ้วน ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวาน พ่วงมาด้วยโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด และมะเร็ง จากการวิจัยพบว่า ภาวะอ้วนลงพุงมีความสัมพันธ์กับภาวะต้านอินซูลิน ภาวะเบาหวานและโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งจะส่งผลให้สุขภาพชีวิตลดลงจากการเกิดโรคเรื้อรัง เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเนื่องจากค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพที่จะเพิ่มขึ้น รวมถึงความพิการและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรอีกด้วย

เบาหวาน-อ้วน ภัยอันตรายในคนไทย
นพ.สิทธิผล ชินพงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า ปัจจุบันประชากรไทยวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวานถึง 4.8 ล้านคน และหลายรายเกิดภาวะแทรกซ้อนในเวลาต่อมา การเพิ่มขึ้นของวิถีชีวิตแบบเนือยนิ่ง โรคอ้วน และอายุที่มากขึ้น นำมาซึ่งการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน เป็นต้น คาดการณ์ว่าความชุกของโรคเบาหวานจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 5.3 ล้านคนภายในปี พ.ศ.2583 และความชุกของภาวะอ้วนในประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปร้อยละ 37.5 (ชายร้อยละ 32.9 และ หญิงร้อยละ 41.8) ประมาณการณ์ว่า 24%-52% ของผู้ที่มีภาวะอ้วนจะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร่วมด้วย

ยาฉีดควบคุมน้ำหนักสำหรับโรคอ้วน และยาฉีดควบคุมน้ำตาลสำหรับเบาหวาน ปัจจุบันมีการใช้ยาฉีดเพื่อควบคุมน้ำหนักในผู้ป่วยที่มีภาวะโรคอ้วนและควบคุมน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลดนํ้าหนัก โดยแพทย์จะทำการฉีดยาใต้บริเวณผิวหนังตามความเหมาะสม เช่น บริเวณ ต้นขา หน้าท้อง ต้นแขน ร่วมกับคนไข้ต้องควบคุมอาหารและออกกำลังกาย ซึ่งต้องอยู่ภายใต้การดูแลและคำแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด

ข้อดีของการใช้ยาฉีดเพื่อควบคุมน้ำหนักและควบคุมน้ำตาล คือ
ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
ควบคุมความอยากอาหาร รู้สึกหิวน้อยลง
น้ำหนักลดลง

ผลข้างเคียงน้อย
อย่างไรก็ตาม วิธีการลดน้ำหนักที่ยั่งยืนที่สุดคือ การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ควบคุมปริมาณที่เหมาะสม และออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ ในส่วนของการใช้ยาฉีดเพื่อควบคุมน้ำหนักและควบคุมน้ำตาลเป็นเพียงอีกตัวเลือกที่จะช่วยในการลดน้ำหนัก ป้องกันโรค และลดความรุนแรงของโรคได้

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ รพ.กรุงเทพ โทร. 02-755-1129, 02-755-1130 หรือ www.bangkokhospital.com

CR : นพ.สิทธิผล ชินพงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลกรุงเทพ
ภาพ :iStock

ไม่มีความคิดเห็น