ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

สั่งปลดเจ้าคณะจังหวัด ล้มพระธรรมวินัยใช่หรือไม่??

สั่ง มส. ล้มพระธรรมวินัย ปลด 3 เจ้าคณะจังหวัด เท่ากับฉีกทิ้ง พรบ.สงฆ์ ยกเลิกการอุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนาหรือไม่

พรบ.สงฆ์ พ.ศ. 2505 มีการแก้ไขหลายครั้ง ทุกครั้งที่แก้ไขก็เพื่อให้เกิดการอุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนาโดยไม่ทำลายพระธรรมวินัยและธรรมเนียมปฏิบัติของคณะสงฆ์ที่สืบทอดมาแต่ครั้งพุทธกาล ซึ่งสามารถธำรงรักษาพระพุทธศาสนาให้เป็นที่ประจักษ์ไว้ได้มาตลอดสองพันหกร้อยกว่าปีที่ผ่านมา

การแก้ไขครั้งล่าสุดนี้ คือการย้อนกลับไปใช้แนวทางปฏิบัติในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเมื่อพิจารณาอย่างตรงไปตรงมาก็จะพบว่า เจตนารมณ์ของ พรบ.สงฆ์ มาตราที่ 3 ระบุไว้ชัดเจนอยู่แล้ว การดำเนินการใดๆ ก็ตามที่มีการแทรกแซงจากบุคคลภายนอกนั้น "ย่อมไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของมาตราที่ 3" ซึ่งนั่นย่อมเท่ากับขัดกับ "พระราชดำริดั้งเดิม" ในการบัญญัติกฎหมายสงฆ์ไปโดยปริยายด้วย

เจตนารมณ์ของการแก้ไข พรบ.สงฆ์ มาตรา 3 ระบุว่า
1. เพื่อให้การอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา
2. เพื่อให้การดูแลการปกครองคณะสงฆ์เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม 2 ประการ
2.1 เพื่อส่งเสริมการเผยแผ่หลักของพระพุทธศาสนาให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา
2.2 เพื่อมีการรักษาพระธรรมวินัยของคณะสงฆ์ให้เป็นไปอย่างถูกต้องดีงามโดยเคร่งครัด เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป เมื่อดูจากเจตนารมณ์นี้แล้ว ก็แสดงว่ากระบวนการถอดถอนเจ้าคณะจังหวัดที่ขัดกับหลักพระธรรมวินัย ขัดกับธรรมเนียมปฏิบัติของสงฆ์ ย่อมเท่ากับเป็นการดำเนินการที่ขัดกับเจตนารมณ์ของ พรบ.สงฆ์ และ พระราชดำริในการออกกฎหมายนั่นเอง

ดังนั้น ผลสืบเนื่องที่ตามมาก็คือ
1. เมื่อใดก็ตามที่มีการใช้คำสั่งที่ขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายเอง เมื่อนั้นคำสั่งย่อมเป็นโมฆะ เพราะไม่รองรับด้วยอำนาจกฎหมาย
2. ยิ่งมีเสียงทักท้วงจากประชาชนถึงความไม่ถูกต้องดีงามตามพระธรรมวินัยและธรรมเนียมปฏิบัติด้วยแล้ว ย่อมเท่ากับไม่เป็นการอุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนา ซึ่งประชาชนเองก็มองเห็น ไม่ใช่เพียงแค่คณะสงฆ์ทั่วสังฆมณฑลที่มองเห็นอยู่ฝ่ายเดียวเท่านั้น ทั้งนี้เพราะคณะสงฆ์และประชาชนทั่วไปต่างก็ห่วงใยพระพุทธศาสนา จึงติดตามข่าวสารนี้มาโดยตลอดเช่นกัน ทำให้มีการแสดงความคิดเห็นไปในแนวทางต่างๆ

ยกตัวอย่างเช่น
1. ทุกคนทราบดีว่ามติการถอดถอนนั้นไม่ประกอบด้วยความถูกต้องในหลักการและเหตุผล มิได้ออกมาจากการดำเนินการตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และที่สำคัญก็คือมิได้ออกมาเจตนารมณ์ของกรรมการมหาเถระสมาคมเอง

2. สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะ พรบ.สงฆ์ ฉบับใหม่ เพิ่งออกได้ไม่นาน แนวทางปฏิบัติต่างๆ อาจมีการลักลั่นไม่ชัดเจน จำเป็นต้องทบทวนหารือให้เกิดการเอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัยและธรรมเนียมปฏิบัติของคณะสงฆ์

3. กรณีการดำเนินการถอดถอนที่ข้ามขั้นตอนและขัดแย้งกับเจตนารมณ์ของ พรบ.สงฆ์ มาตรา 3 นั้น ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จึงยิ่งเป็นที่ได้รับความสนใจแก่ประชาชนทั่วไป เพราะกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนาต่อไปในอนาคต ดังนั้น เมื่อเรื่องนี้อยู่ในความสนใจของประชาชนและคณะสงฆ์ทั่วสังฆมณฑล ทางออกของเรื่องนี้ที่ดีที่สุดก็คือ การรับฟังเสียงของประชาชนที่ต้องการให้การอุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนาเป็นไปตามเจตนารมณ์ที่ดีงาม โดยไม่มีการแทรกแซงเข้ามาจากบุคคลภายนอก สามารถดำเนินการไปโดยสอดคล้องขั้นตอนปฏิบัติตามพระธรรมวินัย และไม่ทำลายธรรมเนียมปฏิบัติอันดีงามของคณะสงฆ์นั่นเอง

อ้างอิงข้อมูลจากบทความ เปิด…ที่มา ‘แก้กม.สงฆ์’ ถวายพระราชอำนาจ ‘แต่งตั้ง-ถอด’ กก.มส. ( 9 ก.ค. 2561 สนพ.มติชน)

www.matichon.co.th/education
Cr : Ptreetep Chinungkuro

 แสดงความคิดเห็น FACEBOOK

2 ความคิดเห็น

  1. คนเราเกิดมามีคุณภาพ เป็น"คนเก่งและดี"ได้ ต้องมีความเจริญทางกายและจิตใจ ทางกายต้องให้พ่อแม่ดูแล หรือดูแลตัวเอง แต่จิตใจ ต้องให้พระ ให้วัดคอยกล่อมเกลา ถ้าไม่มีพระ ไม่มีวัด พระพุทธศาสนาจะอยู่อย่างไร?ชาวพุทธจึงขาดพระดีๆ และวัดไม่ได้ #saveหลวงพ่อ

    ตอบลบ