ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

การแต่งตั้งและการถอดถอนเจ้าคณะจังหวัดแบบถูกต้อง

การตั้งและถอดถอนเจ้าคณะจังหวัด น่าจะผิดทั้งกฎหมาย ผิดทั้งกฎมหาเถรสมาคม และผิดทั้งพระธรรมวินัย (ทั้งการแต่งตั้งและถอดถอน “ หัวใจสำคัญอยู่ที่ ต้องเสนอมหาเถรสมาคมทุกกรณี ”ก่อนนำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระราชดำริ)
แบบไหนถูก ???
แบบไหนผิด ???

การแต่งตั้งและการถอดถอนแบบถูกต้อง มีดังนี้

การแต่งตั้งแบบถูก มี 2 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบคุณสมบัติ (ดูกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2541) ข้อ 14)
ขั้นตอนที่ 2 วิธีการแต่งตั้ง (ดูกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2541) ว่าด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนพระสังฆาธิการ แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 (พ.ศ.2563) ข้อ 5/1 (1)

สรุปหัวใจสำคัญของการแต่งตั้ง คือ “ต้องเสนอมหาเถรสมาคมทุกกรณี ย้ำว่า ต้องเสนอมหาเถรสมาคมก่อนทุกกรณี ก่อนนำความกราบบังคมทูล ทีนี้มาอ่านรายละเอียด

ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบคุณสมบัติ
เจ้าคณะจังหวัดต้องมีคุณสมบัติ ตามกฎมหาเถรสมาคมกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 24 (พ.ศ.2541) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ ส่วนที่ 13 เจ้าคณะจังหวัด ข้อ 14 “ข้อ ๑๔ พระภิกษุผู้จะดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด ต้องมีคุณสมบัติโดยเฉพาะอีกส่วนหนึ่ง ดังนี้
(๑) มีพรรษาพ้น ๑๐ กับมีสำนักอยู่ในเขตจังหวัดนั้น และ
(๒) กำลังดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดนั้นมาแล้วไม่ต่ำกว่า ๒ ปี หรือ
(๓) กำลังตำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดนั้นมาแล้วไม่ต่ำกว่า ๔ ปี หรือ
(๔) มีสมณศักดิ์ไม่ต่ำกว่าพระราชาคณะชั้นสามัญ หรือเป็นพระคณาจารย์โทขึ้นไป หรือเป็นเปรียญธรรมไม่ต่ำกว่า ๖ ประโยค
ถ้าจะคัดเลือกพระภิกษุผู้มีคุณสมบัติตาม (๒) (๓) หรือ (๔) ไม่ได้หรือได้แต่ไม่เหมาะสม มหาเถรสมาคมอาจพิจารณาผ่อนผันได้เฉพาะกรณี”

ขั้นตอนที่ 2 วิธีการแต่งตั้ง

วิธีการแต่งตั้ง ต้องไปดู กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2541 ) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 (พ.ศ.2563) “ข้อ 5/1 การขอรับพระราชดำริในการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ ตามความในมาตรา 20/2 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (พ.ศ. 2505) และที่แก้ไขเพิ่มเติมให้ปฏิบัติดังนี้

(1) การแต่งตั้งเจ้าคณะใหญ่ เจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด และ เจ้าอาวาสพระอารามหลวง เมื่อ ได้ดำเนิน การตามกฎมหาเถรสมาคมนี้แล้ว ให้เสนอมหาเถรสมาคมพิจารณาทุกกรณี จากนั้นให้สมเด็จพระสังฆราชในฐานะประธาน กรรมการมหาเถรสมาคมเสนอไปยังราชเลขานุการในพระองค์ เพื่อนำความ กราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท เมื่อมีพระราชดำริ เป็นประการใด ให้มหาเถรสมาคมมีมติให้มีพระบัญชาตั้งหรือตราตั้งแล้วแต่กรณี ตามพระราชดำรินั้น แล้วให้เลขาธิการมหาเถรสมาคมรายงานนายกรัฐมนตรี เพื่อทราบต่อไป”

แบบนี้คือแต่งตั้งเจ้าคณะจังหวัดแบบที่ถูกต้อง
การถอดถอนแบบถูกต้อง

การถอดถอนพระสังฆาธิการ แบบที่ถูกต้อง มี 2 ขั้นตอนเช่นเดียวกัน
ขั้นตอนที่ 1 เกิดละเมิดจริยาอย่างร้ายแรง (ดูกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2541) ข้อ 55)
ขั้นตอนที่ 2 วิธีการถอดถอน (ดูกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2541) ว่าด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนพระสังฆาธิการ แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 (พ.ศ.2563) ข้อ 5/1 (2)

สรุปหัวใจสำคัญของการถอดถอน คือ “ต้องเสนอมหาเถรสมาคมทุกกรณี” ย้ำว่า ต้องเสนอมหาเถรสมาคมก่อนทุกกรณี ก่อนนำความกราบบังคมทูล

ขั้นตอนที่ 1 เกิดละเมิดจริยาอย่างร้ายแรง
การจะถอดถอนพระสังฆาธิการออกจากตำแหน่งได้นั้น จะได้ต่อเมื่อพระสังฆาธิการละเมิดจริยาอย่างร้ายแรงเท่านั้น ซึ่งในกฎมหาเถรสมาคมกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 24 (พ.ศ.2541) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ ปรากฏอยู่ในส่วนที่ 3 การละเมิดจริยา ข้อ 55 ระบุว่า “ ข้อ 55 การถอดถอนจากตำแหน่งหน้าที่นั้น จะทำได้ต่อเมื่อพระสังฆาธิการละเมิดจริยาอย่างร้ายแรง แม้ข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่
(2) ละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเกินกว่า ๓๐ วัน
(3) ขัดคำสั่งอันชอบด้วยการคณะสงฆ์ และการขัดคำสั่งนั้นเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่การคณะสงฆ์
(4) ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่การคณะสงฆ์
(5) ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง

ในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้บังคับบัญชาใกล้ชิดรายงานโดยลำดับจนถึงผู้มีอำนาจแต่งตั้ง เมื่อได้สอบสวนและได้ความจริงตามรายงานนั้นแล้ว ให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งสั่งถอดถอนจากตำแหน่งหน้าที่ได้

ขั้นตอนที่ 2 วิธีการถอดถอน การถอดถอนเจ้าคณะจังหวัด ต้องยึดกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2541) ว่าด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนพระสังฆาธิการ แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 (พ.ศ.2563) ข้อ 5/1 (2)
(2) การถอดถอนจากตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ เจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด และเจ้าอาวาสพระอารามหลวง เมื่อได้ดำ เนินการตาม กฎมหาเถรสมาคมนี้แล้ว ให้เสนอมหาเถรสมาคมพิจารณาทุกกรณี จากนั้นให้ สมเด็จพระสังฆราชในฐานะประธานกรรมการมหาเถรสมาคมเสนอไปยัง ราชเลขานุการในพระองค์เพื่อนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบ ฝ่าละอองธุลีพระบาท เมื่อมีพระราชดำริเป็นประการใด ให้มหาเถรสมาคม มีมติเห็นชอบโดยอนุวัตตามพระราชดำรินั้น แล้วจึงจะดำเนินการต่อไปได้ และให้เลขาธิการมหาเถรสมาคมรายงานนายกรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ในการเสนอแต่งตั้งพระสังฆาธิการนี้ เคยมีตัวอย่างครั้งหนึ่ง ขณะที่เจ้าคณะหนกลาง (มหานิกาย) ว่างลง มหาเถรสมาคมดำเนินการพิจารณาตามกฎมหาเถรสมาคมทุกประการ แล้วเสนอ พระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดประยูรวงศาวาส อธิการบดีมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เจ้าคณะภาค 2 เป็นเจ้าคณะหนกลาง จากนั้นให้ สมเด็จพระสังฆราชในฐานะประธานกรรมการมหาเถรสมาคมเสนอไปยัง ราชเลขานุการในพระองค์เพื่อนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบ ฝ่าละอองธุลีพระบาท และปรากฎว่าได้มีพระราชดำริ เสนอสมเด็จพระมหามงคลรัชมุนี เป็นเจ้าคณะหนกลางแทน มหาเถรสมาคม จึงได้มีมติดำเนินการพระราชดำริ ซึ่งทำได้ถูกต้องทุกประการ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การแต่งตั้งและถอนถอนครั้งนี้น่าจะผิด ทั้งกฎหมาย กฎมหาเถรสมาคม และพระธรรมวินัย เป็นอย่างไร เพราะอะไร

การแต่งตั้งเจ้าคณะจังหวัดทั้ง 30 องค์ ผิดกฎมหาเถรสมาคมอย่างไร
1. การแต่งตั้งเจ้าคณะจังหวัดทุกครั้ง ต้องยึดกฎหมาย พรบ.คณะสงฆ์ และกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 24 (พ.ศ.2541) ว่าด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนพระสังฆาธิการ และกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 ว่าด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนพระสังฆาธิการ แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 (พ.ศ.2563) ข้อ 5/1 (1) เนื้อหากฎมหาเถรสมาคมอยู่ด้านบน
2. การจะแต่งตั้งเจ้าคณะจังหวัดได้นั้น ขั้นตอนสุดท้ายก่อนนำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระราชดำริ ต้องนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมมหาเถรสมาคมทุกครั้ง ย้ำว่าต้องเสนอทุกครั้ง
3. การการตรวจสอบย้อนหลัง ยังไม่พบว่า มีวาระการเสนอแต่งตั้งเจ้าคณะจังหวัดทั้ง 30 แห่งนี้เพื่อให้ที่ประชุมมหาเถรสมาคมพิจารณามาก่อน
4. หากไม่มีการนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมมหาเถรสมาคมจริง ก็ต้องถือว่า การแต่งตั้งเจ้าคณะจังหวัดทั้ง 30 แห่งนี้ ต้องมีผลเป็นโมฆะ หรือเป็นโมฆิยะมาตั้งแต่ต้น
5. หากขั้นตอนการแต่งตั้งไม่ถูกต้อง เพราะไม่มีการนำเสนอเพื่อให้ที่ประชุมมหาเถรสมาคม ก็ต้องถือว่า ทำผิดกฎมหาเถรสมาคม
6. การทำผิดกฎมหาเถรสมาคมนี้ หากเป็นพระสังฆาธิการ ก็อาจจะเข้าข่าย ละเมิดจริยาอย่างร้ายแรงเสียเอง

การแต่งตั้งเจ้าคณะจังหวัดทั้ง 30 จังหวัด อาจเข้าข่ายทำผิดตามมาตรา 157 หากปฏิบัติไม่ครบทุกขั้นตอน
ขั้นตอนการตรวจสอบคุณสมบัติ น่าจะไม่มีอะไรผิดพลาด
ขั้นตอนก่อนนำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระราชดำริ ก็ต้องนำเข้าสู่ที่ประชุมมหาเถรสมาคมทุกกรณี ตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 ว่าด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนพระสังฆาธิการ
หากไม่มีการนำเข้าสู่ที่ประชุมกรรมการมหาเถรสมาคม ก็อาจจะเข้าข่ายทำผิดตามมาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และจากการตรวจสอบการประชุมมหาเถรสมาคมที่ผ่านมา ยังไม่พบว่ามีวาระการเสนอแต่งตั้งเจ้าคณะจังหวัดทั้ง 30 แห่งเข้าสู่ที่ประชุมกรรมการมหาเถรสมาคม หากไม่มีการนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมกรรมการมหาเถรสมาคมจริง ก็อาจจะเข้าข่ายผิดตามมาตรา 157 หรืออย่างน้อยการไม่ทำตามขั้นตอนของกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ ก็จะส่งผลให้การแต่งตั้งเจ้าคณะจังหวัดทั้ง 30 แห่งต้องมีผลเป็นโมฆะ หรือเป็นโมฆียะมาตั้งแต่ต้น
การถอดถอนเจ้าคณะจังหวัดทั้ง 3 แห่ง ผิดกฎมหาเถรสมาคม
1. การถอดถอนเจ้าคณะจังหวัดทุกครั้ง ต้องยึดกฎหมาย พรบ.คณะสงฆ์ และกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 24 (พ.ศ.2541) ว่าด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนพระสังฆาธิการ และกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 ว่าด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนพระสังฆาธิการ แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 (พ.ศ.2563) ข้อ 5/1 (2) เนื้อหากฎมหาเถรสมาคมอยู่ด้านบน
2. การจะถอดถอนเจ้าคณะจังหวัดได้นั้น ขั้นตอนสุดท้ายก่อนนำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระราชดำริ ต้องนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมมหาเถรสมาคมทุกครั้ง ย้ำว่าต้องเสนอทุกครั้ง
3. จากการตรวจสอบย้อนหลัง ยังไม่พบว่า มีวาระการเสนอถอดถอนเจ้าคณะจังหวัดทั้ง 30 แห่งนี้เพื่อให้ที่ประชุมมหาเถรสมาคมพิจารณามาก่อน
4. หากไม่มีการนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมมหาเถรสมาคมจริง ก็ต้องถือว่า การถอดถอนเจ้าคณะจังหวัดทั้ง 30 แห่งนี้ ต้องมีผลเป็นโมฆะ หรือเป็นโมฆิยะมาตั้งแต่ต้น
5. หากขั้นตอนการถอดถอนไม่ถูกต้อง เพราะไม่มีการนำเสนอเพื่อให้ที่ประชุมมหาเถรสมาคม ก็ต้องถือว่า ผิดกฎมหาเถรสมาคม
6. การทำผิดกฎมหาเถรสมาคมนี้ หากเป็นพระสังฆาธิการ ก็อาจจะเข้าข่าย ละเมิดจริยาอย่างร้ายแรงเสียเอง

การถอดถอนเจ้าคณะจังหวัดทั้ง 3 แห่งผิดพระธรรมวินัย การแต่งตั้งเจ้าคณะจังหวัดนั้น อาจจะไม่ใช่ปัญหาเท่าไหร่ แต่การถอดถอนพระสังฆาธิการนั้น เสมือนหนึ่งว่า ท่านได้กระทำความผิดร้ายแรง เพราะในกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 24 (พ.ศ.2541) ว่าด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนพระสังฆาธิการ หมายความว่า กรณีจะถอดถอนพระสังฆาธิการออกจากตำแหน่งได้นั้นกระทำได้สถานเดียวคือละเมิดจริยาอย่างร้ายแรง (ข้อ 55 การถอดถอนจากตำแหน่งหน้าที่นั้น จะทำได้ต่อเมื่อพระสังฆาธิการละเมิดจริยาอย่างร้ายแรง)

อธิกรณ์ การจะฟ้องร้องหรือสอบสวนพระสงฆ์นั้น ภาษาพระเรียกว่า อธิกรณ์ ก็มี 4 อย่าง คือ วิวาทธิกรณ์(พระทะเลาะกัน) อนุวาทธิกรณ์(กล่าวหากันว่าต้องอาบัติ) อาปัตตาธิกรณ์ (อาบัติที่ต้องแก้) และกิจจาธิกรณ์ (กิจของสงฆ์) คำอธิบายหาอ่านได้จากโซเชียล

วิธีระงับอธิกรณ์ คณะสงฆ์จะต้องประชุมกัน ไต่สวน วินิจฉัย ตัดสิน และลงโทษ ผู้ก่อให้เกิดอธิกรณ์ ตามควรแก่กรณี โดยทำได้ 7 อย่าง คือ สัมมุขาวินัย สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เยภุยยสิกขา ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกวินัย คำอธิบายหาอ่านได้จากโซเชียล

บทลงโทษ มี 6 ข้อ ตัชชะนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารนียกรรม อุกเขปนียกรรม ตัสสปาปิยสิกากรรม จากการตรวจสอบพบว่า กรณีของเจ้าคณะจังหวัดทั้ง 3 แห่ง ยังไม่ปรากฏว่า มีการดำเนินการตามพระธรรมวินัย คือ วิธีระงับอธิกรณ์ ซึ่งมีวิธีทำคือ
1. คณะสงฆ์ต้องประชุมกัน
2. ไต่สวน
3. วินิจฉัย
4. ตัดสิน
5. และลงโทษ ผู้ก่อให้เกิด (หากทำผิดจริง) รูปแบบอธิกรณ์ วิธีระงับอธิกรณ์ และบทลงโทษ พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสเอาไว้ในพระวินัย ซึ่งยังไม่พบหลักฐานใดๆ ว่า มหาเถรสมาคมมีการดำเนินการตามพระธรรมวินัยแล้ว

การถอดถอนเจ้าคณะจังหวัดทั้ง 3 แห่ง ผิดกฎหมาย พรบ.คณะสงฆ์ ตามมาตรา 15 ตรี (1) และ(5) ดังนี้ มาตรา 15 ตรี ( แก้ไข พ.ศ.2535 (ฉบับที่ 2) )
(1) ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปโดยเรียบร้อยดีงาม
(5) รักษาหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา ผิดมาตรา 15 ตรี (1) เพราะไม่สามารถปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปโดยเรียบร้อยดีงาม และเมื่อไม่ดำเนินการตามพระธรรมวินัย คือ เมื่อเกิดอธิกรณ์ คณะสงฆ์ต้องประชุมกัน ไต่สวน วินิจฉัย ตัดสิน และลงโทษหากทำผิดจริง

การถอดถอนเจ้าคณะจังหวัดทั้ง 3 แห่ง ผิดกฎหมายอาญามาตรา 157 มาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ หากยึดเอาตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2541) ว่าด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนพระสังฆาธิการ ระบุไว้ในมาตรา 55 อย่างชัดเจนว่า การจะดำเนินการถอดถอนพระสังฆาธิการได้นั้นต้องเกิดจากการละเมิดจริยาพระสังฆาธิการอย่างร้ายแรง อันหมายถึงมีความผิดร้ายแรง ซึ่งเมื่อมีความผิดร้ายแรงก็ต้องมีการสอบอธิกรณ์ และเมื่อสอบอธิกรณ์เสร็จแล้วก็ต้องดำเนินการตาม กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 ว่าด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนพระสังฆาธิการ แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 (พ.ศ.2563) ข้อ 5/1 (2)การถอดถอนจากตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ เจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด และเจ้าอาวาสพระอารามหลวง เมื่อได้ดำ เนินการตาม กฎมหาเถรสมาคมนี้แล้ว ให้เสนอมหาเถรสมาคมพิจารณาทุกกรณี

หากไม่มีการสอบอธิกรณ์ หากไม่เสนอให้มหาเถรสมาคมพิจารณาทุกกรณี ก็จะทำให้เข้าข่ายผิดกฎหมายอาญามาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพราะกรรมการมหาเถรสมาคม มีสถานะเป็นเจ้าพนักงาน ตาม พรบ.คณะสงฆ์ มาตรา 45 ที่ระบุว่า ให้ถือว่าพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์และไวยาวัจกร เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา การแต่งตั้งและถอดถอนพระสังฆาธิการ ระดับเจ้าคณะจังหวัดนี้ ตามกฎมหาเถรสมาคม บังคับว่า ต้องเสนอให้กรรมการมหาเถรสมาคมพิจารณาทุกกรณี ตอนนี้ยังไม่พบทั้งการแต่งตั้ง และการถอดถอน เจ้าคณะจังหวัด ว่า ผ่านการพิจารณาของมหาเถรสมาคม ก่อนที่จะนำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระราชดำริ

จากข้อมูลที่มีทั้งหมดนี้ กรรมการมหาเถรสมาคม จึงมีความสุ่มเสี่ยงหลายประการ ทั้งทำผิดมาตรา 157 ฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งอาจทำผิดจริยาพระสังฆาธิการอย่างร้ายแรงเสียเอง

Cr : กรณ์ มีดี
เลขาธิการสมาพันธ์ชาวพุทธแห่งประเทศไทย
หัวหน้าพรรคแผ่นดินธรรม

4 ความคิดเห็น

  1. ใช่ค่ะ.. อ่านแล้ว​ ไม่ถูกหลักการถอดถอนเลย​ ท่านเป็นพระที่มีศีลาจารวัตรงดงาม​ ทำงานทุ่มเท​ ยิ่งช่วงโควิด​ ท่านช่วยเหลือชาวปทุมอย่างมากมายทีเดียว

    ตอบลบ
  2. เราชาวพุทธ ต้องช่วยกันดูแลรักษาปกป้องพระพุทธศาสนาให้อยู่คู่แผ่นดินไทยตลอดไป

    ตอบลบ