พ บอก “สนับสนุน” กฎมหาเถรสมาคม
ยืนยัน “กรรมาธิการ” ไม่มีอำนาจ
ลงความเห็นส่วนตัวว่า กฎหมายเก่า หากเป็นพวกเดียวกัน ก็ถอดถอนไม่ได้
ความจริง เห็นว่ากฎหมายใหม่ล่าสุด มีช่องว่าง ตรงที่ตามกฎหมาย ภาค ต้องตั้งกรรมการสอบ เปิดเผยข้อหาที่มีผู้ร้องเรียน รายนามผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ แล้วให้เจ้าคณะจังหวัดนำทนายมาแก้ตัวแก้ต่าง จากนั้น ภาครายงานผลไปยังหน หนรายงานต่อไปยังมหาเถรสมาคม กรรมการมหาเถรสมาคม “พิจารณา” ทุกกรณี ร่วมกัน แล้วจึงค่อยรายงานขึ้นเบื้องสูง ขอพระราชดำริเห็นชอบ จะเห็นเป็นประการอื่นใด ก็อยู่ที่ขั้นตอนและกระบวนการยุติธรรมทางสงฆ์คือ “การร้องทุกข์กล่าวโทษ” “การพิจารณาในรูปแบบคณะกรรมการโดยภาค” “การพิจารณากลั่นกรองโดยหน” “การพิจารณาโดยกรรมการมหาเถรสมาคมทุกรูปทุกกรณี” และ “การรายงานเบื้องสูง” ที่สังคมกังขาและปุจฉากระหึ่มทุกจังหวัดที่มีปัญหาคือ ภาค หน มหาเถรสมาคมแค่ 2 ราย ไม่ใช่ทุกรูป กระทำการรายงานขึ้นเบื้องสูง ตงฉิน ตรงไปตรงมา จริงหรือไม่? เพราะขนาดหนตะวันออก ซึ่งปกครองภาค 12 ยังถูก “ล้วงลูก” และหนตะวันออกบอกตรงไปตรงมา “ไม่รู้เรื่อง” แนะนำด้วยซ้ำว่า ควร “ทบทวน” สังคมจึงยิ่งกังขามีข้อสงสัยวิพากษ์วิจารณ์กันไม่หยุด อันเนื่องมาจากฝ่ายปิดเกมส์ อ้าง “พระราชดำริ” ปิดการตรวจสอบ ระงับยับยั้งห้าม “ทบทวน” ทุกกรณี ตรงข้ามกับกฎหมายระบุ ! เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช และกรรมการมหาเถรสมาคม บอก “ไม่เห็นเรื่อง” ถามภาค ๑ เป็นต้น ภาค ๑ ก็ “ไม่ตอบ” ที่พระสงฆ์สงสัยกันมากคือ “โจทก์” เป็น “ผู้บริหารระดับสูง พศ” จากผลงานในอดีต ข้อค้นพบเชิงประจักษ์คดีกล่าวโทษเงินทอนวัด ผลบางราย ศาลยืนยัน ไม่ผิด ที่ผิดทุกกรณีคือ คนของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ “ทุกคน” พระบางราย ผิดก็มี พ้นผิดจากข้อกล่าวหาก็มี คนจึงเพ่งเล็งคนของสำนักพุทธระดับสูงเป็นพิเศษ ว่าอาจนำความเท็จมาฟ้องความอาญากลั่นแกล้งพระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ให้รับโทษทางอาญาโดยขาดความชอบธรรม
ตามขั้นตอน ภาคและหนจะต้องทำหน้าที่รวบรวมหลักฐานร้องเรียนกล่าวโทษจากผู้เสียหายมาเปิดเผยต่อสังคมประกอบการพิจารณาของมหาเถรสมาคมทุกกรณี เรื่องร้ายแรงรุนแรงคอขาดบาดตายถึงปานนี้ จะถอดถอนก็ควรทำตามกฎหมาย มิใช่ลอยตัวเหนือกฎหมาย ถ้า สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ภาค หน มหาเถรสมาคม ทำตรงไปตรงมา ตามขั้นตอน ไม่ใช่สั่งการด้วยวาจา อ้างเบื้องสูงโดยรายงานความผิดแนบคำสั่งถอดถอนตรงไปตรงมา ไม่ต้องไว้หน้าที่ถูกถอดถอน จะได้ชัดเจนไปเลย ก็ไม่มีใครสนใจ กังขา สงสัย สอบถาม
แต่กลับเป็นว่าน่าเชื่อว่า พศ (สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ) ทำตัวเป็น “พนักงานสอบสวน” ตั้งคดี ชงคดีเอง ไม่ใช่หน้าที่ พศ ที่จะพึงทำ หรือพึงทำ ก็ไม่ควรทำ เพราะ พศ ตั้งขึ้นเพื่อสนองงานพระ มิใช่มาปกครองพระ หรือจับพระติดคุก เหมือนที่เป็นข่าว การแอบฟ้องเจ้าคณะจังหวัดในที่ลับ พบว่ามีทั้งฟ้องและไม่ฟ้องผ่านภาคและหน ซึ่งพอสอบถามล้วงลูกตรวจสอบทางลับกับแต่ละแห่ง ยิ่งงวยงงและงุนงง คือน่าสงสัยในขั้นตอน และกระบวนการทำงานของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ พศ ภาค หน และมส ด้วยพยานบอกเล่าพยานหลักฐานที่รวบรวมมาได้ น่าเชื่อว่าข้อกล่าวหายังไม่เป็นที่ยุติ แล้ว พศ ภาค และหน รีบร้อนเร่งรีบ รีบด่วนเสนอมหาเถรสมาคม (มส) ลงมติเห็นชอบ โดยกรรมการ มส หลายรูปยืนยันว่าไม่เห็นรายงานพิจารณาเหตุผลที่ถูกถอดถอน และความจริงที่ได้ยินผ่านสื่อ พศ ตอบวิสัชนาสังคมไม่ได้ โยนกันไปมา ล่าสุด จำเลยสังคมที่รับผิดแทน มส และ พศ ชัดที่สุดคือ ภาค และหน ตามที่กฎหมายระบุเอาไว้ ข้อสังเกตประเด็นนี้คือ ถ้อยแถลง พศ ยืนยันชัดเจนว่า “มหาเถรสมาคม” ต้องพิจารณา และรับทราบ ทุกกรณี แต่ประเด็นถอดถอน ๓ เจ้าคณะจังหวัด ไม่พบหลักฐานที่ชัดเจน ยืนยันว่ามหาเถรสมาคม “พิจารณา” ทุกกรณี มีแต่ พศ ชงเรื่อง เสนอกรรมการ มส “รับทราบ” เท่านั้นเอง สังคมยังไม่ยุติ ยังตรวจสอบกันเข้มข้นอยู่ ถ้าตงฉินตรงไปตรงมา ก็ไม่ควรมีการข่มขู่ว่า จะ “เช็คบิล” หรือ “วางบิล” และห้ามปราม ไม่ให้ส่ง “ครุฑบิน” คือหมายเรียก หมายศาล จากตัวแทน ผู้ถูกถอดถอนจากมติมหาเถรสมาคม ๓๐/๙ ๒๕๖๔ มีไปถึงจำเลยสังคม
ซึ่งผู้ถูกถอดถอนอ้างสิทธิทำได้ตามกฎหมายอาญา และแพ่ง ศาลไม่ได้ตัดสิทธิ์ผู้เสียหายคือผู้ถูกถอดถอนจะรวบรวมพยานหลักฐานฟ้องภาคและหนแต่อย่างใด ภาคและหนไม่ผิด จะกลัวถูกฟ้องดำเนินคดีทำไม? ก็ต้องต่อสู้ความจริงกันในศาล จะได้ขาวสะอาดทุกฝ่าย มีครุฑสนับสนุนฝ่ายชนะ ฝ่ายแพ้ก็ยอมรับผิด แค่นั้นแหละ เพราะรัฐสภาโยนออกเหมือนกัน อ้าง ไม่มีหน้าที่ตรวจสอบ
ซึ่งแปลกว่า วันแถลงข่าว ๑๑/๑๐ ๒๕๖๔ ไม่เกี่ยวข้องกับการประชุมมหาเถรสมาคม แปลว่า มสก็ประชุมหารือกันเอง เรื่องอื่นๆ
ไม่เกี่ยวกับ มติ มส ๓๐/๙ ๒๕๖๔
ส่วน พศ ก็แถลงข่าว
มติ มส ๓๐/๙ ๒๕๖๔
เรื่องเดียวกัน แต่ราวกับต่างฝ่ายต่างทำ สรุปผลถ้อยแถลงอ้างว่า มส มีอำนาจ พศ ไม่เกี่ยว ความผิดที่ถูกถอดถอน ให้เจ้าคณะจังหวัดที่ถูกปลดไปสอบถามภาคและหนกันเอาเอง รายละเอียดอยู่ที่ภาคและหน ครั้นพอไปถามมาแล้ว ก็นั่งเงียบไม่ตอบ สังคม ศิษยานุศิษย์ ตัวเจ้าคณะจังหวัดเอง ก็งวยงง พอจะร้องเรียน ก็ปล่อยข่าว อย่าเคลื่อนไหว เดี๋ยวจะถูกวางบิล ระวังจะโดนเช็คบิล จากแหล่งข่าวใกล้ชิดผู้บริหารระดับสูง พศ !!! ต่างคนต่างทำในวันดังกล่าว ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ ขนาดรองนายกรัฐมนตรี คนที่เขียนกฎหมายกับมือ ยังวิพากษ์วิจารณ์เลย ดังภาพที่ ๗ และภาพที่ ๘ บทวิเคราะห์ กระแสสังคมสงฆ์
ความเห็นส่วนตัว อุทิส ศิริวรรณ
15 ตุลาคม 2564
ไม่มีความคิดเห็น